การประเมินสมบัติดินบางประการด้วยสถิติเชิงพื้นที่ในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยลำพังชู ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

Komsan Kiriwongwattana
Saowanuch Tawornpruek
Irb Kheoruenromne
Sumitra Watana

บทคัดย่อ

การประเมินสมบัติดินบางประการด้วยสถิติเชิงพื้นที่ในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยลำพังชู เป็นการประเมินสมบัติดินบาง
ประการของดินบนที่ได้จากการวิเคราะห์ดินในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ สภาพการนำไฟฟ้า ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
ปริมาณแคลเซียมที่สกัดได้ ปริมาณแมกนีเซียมที่สกัดได้ ปริมาณโซเดียมที่สกัดได้ และอัตราส่วนการดูดซับโซเดียม
(SAR) จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากห้องปฏิบัติการมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และสถิตเชิงพื้นที่เพื่อสร้างแผนที่
การกระจายของสมบัติดินข้างต้นในพื้นที่ศึกษา
ผลการศึกษาทางสถิติพบว่า สภาพการนำไฟฟ้ามีค่าระหว่าง 0.01 ถึง 180 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร ปริมาณ
อินทรียวัตถุในดินมีค่าระหว่าง 0.60 ถึง 1.64 กรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณแคลเซียมที่สกัดได้มีค่าระหว่าง 0.21 ถึง 416.67
เซนติโมลต่อกิโลกรัม ปริมาณแมกนีเซียมที่สกัดได้มีค่าระหว่าง 0.09 ถึง 39.17 เซนติโมลต่อกิโลกรัม ปริมาณโซเดียม
ที่สกัดได้มีค่าประมาณ 0.08 ถึง 934.13 เซนติโมลต่อกิโลกรัม และมีอัตราส่วนการดูดซับโซเดียมระหว่าง 0.11 ถึง
147.57 ซึ่งสมบัติดินทุกสมบัติมีความแปรปรวนเชิงพื้นที่สูงมาก การวิเคราะห์สมการเซมิวาริโอแกรมพบว่า รูปแบบ
สมการเซมิวาริโอแกรมที่เหมาะสมสำหรับการประเมินคุณสมบัติดิน มีดังนี้ สมการ Spherical สำหรับสภาพการนำ
ไฟฟ้าและปริมาณแมกนีเซียมที่สกัดได้ สมการ Gaussian สำหรับปริมาณอินทรียวัตถุในดิน สมการ Circular สำหรับ
ปริมาณแมกนีเซียมสกัดได้ สำหรับปริมาณแคลเซียมที่สกัดได้สามารถใช้สมการ Gaussian และ Stable และสมการ
Exponential สำหรับอัตราส่วนการดูดซับโซเดียม จากแผนที่การกระจายสมบัติดินในพื้นที่ศึกษาพบว่า สภาพการนำ
ไฟฟ้า ปริมาณแคลเซียมที่สกัดได้ ปริมาณแมกนีเซียมที่สกัดได้ และปริมาณโซเดียมที่สกัดได้ มีค่าสูงบริเวณตอนใต้
ของพื้นที่ ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีค่าสูงบริเวณตอนกลางของพื้นที่ ในขณะที่อัตราส่วนดูดซับโซเดียมมีค่าสูงบริเวณ
ตอนกลางและตอนเหนือของพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย