ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อน้ำองุ่นของเยาวชน: กรณีศึกษานิสิตภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

Kasem Poonsiri
Suwisa Phattanakiat
Patana Sukprasert

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 2) คุณลักษณะของน้ำองุ่นที่ต้องการซื้อ
3) ขั้นตอนการซื้อน้ำองุ่น และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกซื้อน้ำองุ่นกับปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลและส่วนประสม
การตลาด โดยกลุ่มตัวอย่างคือนิสิตภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 69 ราย
จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 87.0 อายุเฉลี่ย 20.88 ปี ใช้สื่อโทรทัศน์เป็น
แหล่งรับข้อมูลโดยให้ความเชื่อถือในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.61) 2) คุณลักษณะของน้ำองุ่นที่ต้องการซื้อในระดับมาก
ที่สุด คือ น้ำองุ่นต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ เช่น เส้นผม ขนสัตว์ ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือ
สิ่งปฏิกูลจากสัตว์ (ค่าเฉลี่ย 4.95) และมีรสนิยมการบริโภคน้ำองุ่นแดง 100% โดยมีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด
(ค่าเฉลี่ย 4.24) 3) ขั้นตอนการซื้อน้ำองุ่นของกลุ่มตัวอย่าง เริ่มด้วย การรับรู้ข้อมูลก่อนการซื้อมีค่าอยู่ในระดับมาก
(ค่าเฉลี่ย 1.78) การค้นหาข้อมูลก่อนการซื้อมีค่าอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 1.35) และการให้ความสำคัญกับสิ่งที่ปรากฏ
มีค่าอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 1.49) และ 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้ข้อมูลก่อนการซื้อ ได้แก่ อายุ ชั้นปี และ
รายได้ สำหรับความต้องการเกี่ยวกับคุณภาพขั้นพื้นฐานและรายได้มีความสัมพันธ์ต่อการให้ความสำคัญกับสิ่งที่ปรากฏ
ก่อนการซื้อ และรายได้มีความสัมพันธ์กับการพิจารณาก่อนการซื้อในด้านผลิตภัณฑ์และการส่งเสริมการขาย

Article Details

บท
บทความวิจัย