จีโนม RNA S และ M ของทอสโพไวรัสสาเหตุโรคใบจุดวงแหวนเนื้อเยื่อตาย ของพริกและมะเขือเทศ

Main Article Content

Jutarat Lidjun
Ratchanee Hongprayoon
Pissawan Chiemsombat

บทคัดย่อ

โรคใบจุดวงแหวนเนื้อเยื่อตายเป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีอัตราเกิดโรคสูงมากในแปลงปลูกพริกและมะเขือเทศของ
เกษตรกร รวมทั้งมีรายงานการพบโรคในแปลงของบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์บางแห่งในประเทศไทย เชื้อไวรัสมีหลายสาย
พันธุ์จึงจำเป็นต้องทราบข้อมูลจีโนมเพื่อจะนำไปสู่จัดการโรคที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการแยก Tomato
necrotic ringspot virus (TNRV) จำนวน 3 ไอโซเลทจากพริกและมะเขือเทศในจังหวัดนครปฐมและหนองคาย ผล
การทดสอบพืชอาศัยเฉพาะแห่งพบว่าไอโซเลท T91 เท่านั้นที่ทำให้เกิดวงแผลสีเหลืองบนใบเลี้ยงของถั่วพุ่ม (Vigna
unguiculata) และทุกไอโซเลททำให้เกิดอาการด่างเขียวเข้มสลับอ่อนบนใบลำโพง (Datura metel) จีโนมส่วนที่เป็น
RNA S ของไอโซเลท CT1, C94 และ T91 มีขนาด 3016, 3017 และ 3015 นิวคลีโอไทด์ตามลำดับ ส่วน RNA M มี
ขนาด 4716, 4736 และ 4723 นิวคลีโอไทด์ตามลำดับ RNA S ของทุกไอโซเลทมีความเหมือนกันในช่วง 95.1-99.2%
ส่วน RNA M เหมือนกัน 94.3-97.2% นิวคลีโอไทด์ ส่วนที่ไม่ได้แปลรหัส (UTR) ด้าน 5’ และ 3’ และบริเวณระหว่าง
ยีน (intergenic region, IGR) ของแต่ละไอโซเลทมีจำนวนและลำดับแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์
เต็มสายของ RNA S และ RNA M ทั้ง 3 ไอโซเลทกับไอโซเลท TT1 ในประเทศไทยที่มีรายงานมาก่อนหน้านี้พบว่ามี
ความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่ระดับ 95.1-98.8% และ 94.3-97.2% ตามลำดับ แต่เหมือนกับ RNA S และ M ของทอสโพ
ไวรัส group IV เพียง 58.9 % ผลการวิเคราะห์ Phylogenetic analysis พบว่าเชื้อ TNRV ทุกไอโซเลทในประเทศไทย
จับกลุ่มเดียวกัน และแยกออกจากทอสโพไวรัสชนิดอื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย