การคัดเลือกสายพันธุ์ผสมตัวเองข้าวโพดเทียนสีม่วงโดยวิธีผสมกับสายพันธุ์ทดสอบ

Main Article Content

Kitti Boonlertnirun
Kwanchanok Prasee
Sukda Viengnon
Suchada Boonlertnirun

บทคัดย่อ

ข้าวโพดสีม่วงเป็นแหล่งของสารแอนโธไซยานินซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเทียน
สีม่วงช่วยให้ผู้บริโภคในชนบทเข้าถึงแหล่งอาหารเพื่อสุขภาพ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ผสม
ตัวเองชั่วที่ 3 (S3 lines) ที่สกัดได้จากประชากรลูกผสมชั่วที่ 2 และประชากรลูกผสมกลับระหว่างข้าวโพดเทียนพื้นเมือง
กับข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง โดยนำสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 3 ที่มีลักษณะดีจำนวน 15 สายพันธุ์ ผสมกับสายพันธุ์
ทดสอบ (tester) ซึ่งเป็นข้าวโพดเทียนสีเหลืองจำนวน 3 สายพันธุ์ นำลูกผสมจำนวน 45 คู่ผสม ปลูกทดสอบร่วมกับ
สายพันธุ์ทดสอบ 3 สายพันธุ์และพันธุ์พื้นเมือง 2 พันธุ์ วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบลอคสมบูรณ์ ทำ 3 ซ้ำดำเนิน
การที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 ถึง
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ผลการทดลอง พบว่า ลูกผสมของสายพันธุ์ข้าวโพดเทียนสีม่วงจำนวน 6 สายพันธุ์
คือ L1 FC/TBK (S3)17-1-1, L2 FC/KKU1 (S3) 13-1-1, L4 FC/TDJ (S3) 16-1-1, L8 FC/TDJ//TDJ (S3) 11-2-1,L9 FC/TBK//TBK (S3) 17-1-1 และ L14 FC/TKKU1/2*TKKU1 (S3) 1-1-1 มีจำนวนฝักสีม่วงมากกว่า 95% ในทุก
คู่ผสม แสดงว่าจีโนไทป์ลักษณะฝักสีม่วงของสายพันธ์ผสมตัวเองเข้าใกล้ความคงตัวทางพันธุกรรม สายพันธุ์ L1
FC/TBK (S3) 17-1-1 และ L2 FC/KKU1 (S3) 13-1-1 เป็นสายพันธุ์ที่มีสมรรถนะการผสมทั่วไปดีในลักษณะผลผลิต
แต่ลูกผสมยังมีขนาดฝักใหญ่เกินค่ามาตรฐาน จึงควรผสมตัวเองต่อเพื่อเพิ่มความคงตัวทางพันธุกรรมในลักษณะอื่นๆ
และจับคู่หาสายพันธุ์ข้าวโพดเทียนที่มีฝักขนาดเล็กและมีสมรรถนะการผสมเฉพาะที่ดีต่อกัน เพื่อพัฒนาเป็นสายพันธุ์
พ่อแม่สำหรับการปรับปรุงพันธุ์พันธุ์ลูกผสมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย