การใช้ยิปซัมที่ได้จากการกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ของโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการเกษตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
ยิปซัมเป็นแร่อะโลหะซัลเฟตในรูปเกลือธรรมชาติชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยแคลเซียมไอออน (Ca2+)
ซัลเฟตไอออน (SO42-) และโมเลกุลของน้ำ (H2O) มีสูตรทางเคมี CaSO4·2H2O พบได้ทั้งในธรรมชาติและจากการ
สังเคราะห์ในกระบวนการต่างๆ รวมถึงยิปซัมที่เป็นผลพลอยได้จากการกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของโรงไฟฟ้าที่
ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เรียกยิปซัมชนิดนี้ว่า flue gas desulfurization gypsum หรือ FGD Gypsum ซึ่งมีคุณสมบัติ
ที่สามารถนำมาใช้ในการเกษตรได้เช่นเดียวกับยิปซัมประเภทอื่นๆ โดยช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดิน
อัตราการแทรกซึมน้ำลงสู่ผิวดิน ลดภาวะแน่นทึบของดิน ลดการสูญเสียธาตุอาหารพืชจากการชะละลายจากผิวหน้า
ดินลงสู่แหล่งน้ำ และลดการพังทลายของดิน นอกจากนี้ยังช่วยปรับสมดุลของธาตุโซเดียมในดินเค็ม ลดความเป็นพิษ
ของอะลูมินัมในดินกรด อีกทั้งแคลเซียมและกำมะถันจาก FGD Gypsum ยังเป็นธาตุอาหารที่มีบทบาทสำคัญต่อการ
เจริญเติบโตและผลผลิตของพืชอีกด้วย ถึงแม้ว่ายังมีข้อกังวลเกี่ยวกับการปนเปื้อนของโลหะหนักในองค์ประกอบของ
FGD Gypsum ที่ได้จากกระบวนการการสังเคราะห์อยู่บ้าง แต่มีรายงานว่าหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม จะไม่ก่อให้
เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ยิปซัมที่เป็นผลพลอยได้จากวัสดุเหลือใช้ในโรงผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ถือเป็นอีก
ทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน ช่วยฟื้นฟูสภาพดินให้เหมาะสมต่อ
การเพาะปลูก และช่วยเพิ่มผลผลิตในการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนอีกด้วย
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า