การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวสินเหล็กอินทรีย์ กรณีศึกษาภายใต้ยี่ห้อใหม่ หอมกรุ่นออร์แกนิคไรซ์

Main Article Content

Thitawan Suprapas
Supanan Soonarong
Nutthakorn Songkram

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวสินเหล็กอินทรีย์ยี่ห้อ
หอมกรุ่นออร์แกนิคไรซ์ และ 2) ประเมินคุณภาพและความพึงพอใจที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ดังกล่าว วิธีดำเนินการศึกษาเริ่ม
จากสำรวจร้านค้าที่จำหน่ายข้าวออร์แกนิค จำนวน 10 ร้าน พบข้าวออร์แกนิคที่วางขายทั้งหมด 38 ชนิด 60 ยี่ห้อ และ
90 บรรจุภัณฑ์ จากนั้นสัมภาษณ์บุคคลทั่วไปที่ซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าออร์แกนิค 30 คน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเป็นแนวทาง
ออกแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวสินเหล็กอินทรีย์ยี่ห้อหอมกรุ่นออร์แกนิคไรซ์ ดังนี้
1) บรรจุภัณฑ์ข้าวสินเหล็กอินทรีย์ยี่ห้อหอมกรุ่นออร์แกนิคไรซ์ที่ออกแบบมีทั้งหมด 2 ขนาด คือ ขวดพลาสติก
ใสขนาด 800 กรัม ราคา 130 บาท ถุงพลาสติกอัดสุญญากาศคาดกระดาษพิมพ์ลายขนาด 1 กิโลกรัมพร้อมถุงผ้าดิบ
สกรีนลายหอมกรุ่นออร์แกนิคไรซ์ควบคู่ ราคา 150 บาท โดยบรรจุภัณฑ์ประกอบด้วย (1) ฉลากด้านหน้าบรรจุภัณฑ์
มีโลโก้ยี่ห้อ สีสันโทนสีเขียว เหลือง ขาว น้ำตาล คำโปรย เครื่องหมายตรารับรองต่างๆ และประโยชน์ของข้าวสินเหล็ก
(2) ฉลากด้านหลังบรรจุภัณฑ์ มีภาพประกอบนาข้าว คำแนะนำในการเก็บรักษา เครื่องหมายสัญลักษณ์รีไซเคิล
ปริมาณสุทธิ ข้อมูลโภชนาการ (3) ฉลากด้านขวาบรรจุภัณฑ์ มีภาพประกอบชาวนาเกี่ยวข้าว ข้อมูลผู้ปลูก ผู้ผลิตและ
จัดจำหน่าย ข้อมูลติดต่อ วันที่ปลูก ราคา บาร์โค้ด (4) ฉลากด้านซ้ายบรรจุภัณฑ์ มีภาพประกอบชาวนาเกี่ยวข้าว วิธี
หุง นอกจากนี้ ยังมีสติ๊กเกอร์ติดฝาขวด ป้ายห้อยบรรจุภัณฑ์ และถุงผ้าดิบ
2) ผลการประเมินคุณภาพบรรจุภัณฑ์ข้าวสินเหล็กอินทรีย์ยี่ห้อหอมกรุ่นออร์แกนิคไรซ์ โดยผู้เชี่ยวชาญด้าน
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ 5 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านข้าวออร์แกนิค 5 คน และผู้ประกอบการร้านค้าออร์แกนิค 3 คน พบว่า
คุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ข้าวสินเหล็กอินทรีย์ยี่ห้อหอมกรุ่น
ออร์แกนิคไรซ์ โดยบุคคลทั่วไป 60 คน ที่เข้ามาซื้อสินค้าในร้านค้าออร์แกนิคที่ผู้วิจัยนำผลิตภัณฑ์ข้าวสินเหล็กอินทรีย์
ยี่ห้อหอมกรุ่นออร์แกนิคไรซ์ไปทดลองวางขาย พบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อบรรจุภัณฑ์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.53 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า รายการประเมินที่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ 1) เนื้อหาไม่
เกินจริง 2) ข้อมูลของบรรจุภัณฑ์ครบถ้วน 3) ความน่าสนใจของบรรจุภัณฑ์ 4) บรรจุภัณฑ์มีความสวยงาม 5) บรรจุ
ภัณฑ์สะดุดตาน่าซื้อ 6) รู้จักและเข้าใจมากขึ้น 7 ) มีความต้องการซื้อและบริโภคมากขึ้น ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย