ความคิดเห็นที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

มัลลิกา นนท์มุมด
สุภาภรณ์ เลิศศิริ
ชลาธร จูเจริญ
ธวัชชัย พินิจใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 2) รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
3) ความคิดเห็นต่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร 4) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรจำแนก
ตามปัจจัยที่แตกต่างกัน 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้ง
นี้ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2559 จำนวน 385 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ
กับประชาชนทั่วไปที่ใช้บริการรถไฟฟ้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test และการวิเคราะห์
ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่าประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 31.70 ปี และมี
สถานภาพโสด มีระดับการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไปส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษา มีรายได้เฉลี่ย15,419.56 บาทต่อ
เดือนด้านรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของประชาชนพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่จะไปท่องเที่ยวกับครอบครัว
โดยมีระยะเวลาเฉลี่ย 2.17 วันต่อครั้ง วัตถุประสงค์คือ ชมความสวยงามและทัศนียภาพของสถานที่ ส่วนใหญ่เลือก
ไปในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ภูมิภาคที่จะเลือกไปคือภาคเหนือ งบประมาณในการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเฉลี่ย
3,337.33 บาทต่อครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในด้านของที่พัก การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรมาจาก
โทรทัศนแ์ ละเว็บไซต์กิจกรรมทีชื่นชอบคือ การรบั ประทานอาหารและการซื้อผลผลติ ทางการเกษตรในแหล่งท่องเที่ยว
มีช่องทางการติดต่อเพื่อใช้บริการคืออินเทอร์เน็ต ด้านความคิดเห็นต่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรประชาชน
มีความคิดเห็น โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบ เนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวอยู่ไกล ใช้เวลาใน
กาเดินทาง และค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จึงควรมีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมและควรมีการกำหนดราคาหรือสร้างในรูปแพ๊คเกจ
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับการศึกษา รายได้ วันที่เดินทางท่องเที่ยว ช่องทางการเปิดรับข่าวสาร
ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. 2549. สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 2548. แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมพร้อมบริการ. กรุงเทพมหานคร: กองอนุรักษ์ การท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทย.
จันทราทิพย์ เดชชัย และคณะ. 2557. พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและความพึงพอใจด้านส่วนประสมทางการตลาดของรีสอร์ทเชิงอนุรักษ์ในอำเภออัมพวา
จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 8(1): 34-47.
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. 2546. การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
ปราโมทย์ เลิศจิตรการุณ. 2550. ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
จังหวัดลพบุรี.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณทิต.สาขาการจัดการนันทนาการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปัทเมศย์ ประดิษฐ์แสงทอง. 2557. ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อธุรกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตร กรณีศึกษา สวนสุภัทราแลนด์ [online].
เข้าถึงได้จากhttps://www.scribd.com/document/246269788/Tourists-Satisfaction-toward-Agro-Tourism-Business-ACase-
Study-of-Suphattra-Land. [28/03/2560]
พิมพา หิรัญกิตติ และคณะ. 2557. พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์ 28: 362-384.
วิภาวรรณ พัฒนพงศ์. 2547. การรับรู้ข่าวสาร ปัจจัยจูงใจความพึงพอใจและทัศนคติต่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยว
จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต.สาขานิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ศศิธร สามารถ. 2545. ความพึงพอใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวไทยในจังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. KOFC เปิดมุมวิเคราะห์รายได้ภาคเกษตร หลังรัฐดันท่องเที่ยวเชิงเกษตรไทยช่วงวันหยุดยาว
[Online]. เข้าถึงได้จาก: http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=22762&filename=new. [10/03/2559]
สุขุมาภรณ์ ขันธ์ศรี และ พีรชัย กุลชัย. 2549. ปัจจัยที่มอี ทิ ธพิ ลและความพงึ พอใจตอ่ การทอ่ งเทีย่ วเชิงเกษตรของนกั ทอ่ งเทีย่ ว. การประชมุ
ทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44 : สาขาศึกษาศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ สาขาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร
สาขามนุษยศาสตร์ สาขาคหกรรมศาสตร์.
สุรินทร์ นิยมางกูร. 2556. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และสถิติที่ใช้.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ฐานบัณฑิต.
Kotler, P. And g. Armstrong, 2006. Principles of Marketing. 11th Edition. United States: Pearson Education.