โครงสร้างไม้ต้น ความหลากชนิด และการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของป่าชุมชนบ้าน หินลาด และบ้านหินลาด-เก่าน้อย ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

อัญชัน พิมพ์สวรรค์
ยุวดี อินสำราญ
ญาณวุฒิ อุทรักษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาโครงสร้างไม้ต้น ความหลากชนิด และการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของป่าชุมชนบ้านหินลาด
และบ้านหินลาด-เก่าน้อย ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ทำการศึกษาโดยวางแปลงตัวอย่างชั่วคราว
แบบสุ่ม ขนาด 20 เมตร × 20 เมตร จำนวน 15 แปลง ในป่าชุมชนบ้านหินลาด และ 10 แปลง ในบ้านหินลาด-เก่าน้อย
สำรวจชนิดพันธุ์พืช นับจำนวนต้น วัดความสูง และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระดับอก (DBH) ของไม้ต้นทุกต้นในแปลง
ตัวอย่าง ผลการศึกษาพืชพรรณจากทั้งสองป่าชุมชน พบไม้ต้นทั้งหมด 43 ชนิด และ 39 ชนิด ความหนาแน่นของไม้
ต้น 184 และ 183 ต้น ต่อไร่ ไม้ต้นที่มีความเด่นประเมินโดย ค่าดัชนีความสำคัญ (IVI) ของป่าชุมชนบ้านหินลาด
คือ มะค่าแต้ (Sindora siamensis Teijsm. ex Miq.) แดง (Xylia xylocarpa (Roxb.) Jaub.) มะกอกเลื่อม
(Canarium sabulatum Guillaumin) เต็ง (Shorea obtusa Wall. ex Blume.) และหนามแท่ง (Catunaregam
tomentosa (Blume ex DC.) Triveng) ตามลำดับ และไม้ต้นที่มีความเด่นของป่าชุมชนบ้านหินลาด-เก่าน้อย คือ ยาง
เหียง (Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.) แดง (Xylia xylocarpa (Roxb.) Jaub.) มะกอกเลื่อม
(Canarium sabulatum Guillaumin) เต็ง (Shorea obtusa Wall. ex Blume.) และปอแก่นเทา (Grewia
elatostemoides Coll. et Hemsl.) ตามลำดับ รูปแบบการกระจายของขนาด DBH เป็นแบบ L-shape ขนาดความโต
ที่พบมากที่สุดคือ 4.5-10 เซนติเมตร ปริมาณคาร์บอนของทั้งสองพื้นที่มีค่าเท่ากับ 6.25 และ 7.81 ตันคาร์บอนต่อไร่
ตามลำดับ มีปริมาณคาร์บอนสะสมรวม 237.58 และ 195.22 ตันคาร์บอน คิดเป็นปริมาณการดูดซับ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวม 871.13 และ 715.81 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าผลการประมาณการเพิ่มพูนปริมาณ
การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอนาคตอีก 20 ปี จะมีปริมาณการดูดซับเพิ่มขึ้นอีก 729.60 และ 480.00 ตัน
คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษราภรณ์ อุ่นเกิด พสุธา สุนทรห้าว และ ลดาวัลย์ พวงจิต. 2558. การประเมินมูลค่าคาร์บอนที่กักเก็บในไม้ยืนต้นของป่าชุมชนเขาวง
จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวนศาสตร์. 34(1): 29-38.
คณะวนศาสตร์. 2554. คู่มือศักยภาพของพรรณไม้สาหรับส่งเสริมภายใต้โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดภาคป่าไม้.อักษรสยาม
การพิมพ์, กรุงเทพฯ.
วสันต์ จันแดง ลดาวัลย์ พวงจิต และ สาพิศ ดิลกสัมพันธ์. 2553. การกักเก็บคาร์บอนของป่าเต็งรังและสวนป่ายูคาลิปตัส ณ สวนป่า
มัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. วารสารวนศาสตร์. 29(3): 36-44.
สมหญิง ปู่แก้ว เพ็ญแข ธรรมเสนานุภาพ และธวัชชัย ธานี. 2552. ความหลากหลายของพรรณไม้และการใช้ผลผลิตจากป่า ในป่าชุมชน
บ้านโคกใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. Environmental and Natural Research Jounal. 7(1): 36-50.
Deb R. Aryal, Bernardus H.J. De Jong, Susana Ochoa-Gaona, Ligia Esparza-Olguin and Jorge Mendoza-Vega. 2014.
Carbon stocks and changes in tropical secondary forests of southern Mexico. Agriculture, Ecosystems and
Environment. 220-230.
Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). 2006. IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories. IGES,
Japan.
Piyaphongkul, J., N. Gajaseni and A. Na-Thalang. 2001. A Comparative Study of Carbon Sequestration Potential in
Aboveground Biomass in Primary Forest and Secondary Forest, Khao Yai National Park. In Islam Atazadeh (ed).
Biomass and Remote Sensing of Biomass. September 06, 2011.pp. 199-212.
Ogawa, H., K. Yoda, K. Ogino and T. Kira. 1965. Comparative Ecological Study on Tree Main Types of Forest vegetation in
Thailand. II. Plant Biomass. Nature and Life in Southeast Asia. 4: 49-80
Terakulpisut J., N. Gajaseni and N. Ruankawe. 2007. Carbon Sequestration Potential in Aboveground Biomass of Thong
Pha Phum National Forest, Thailand. Applied Ecology and Environmental Research. 5(2): 93-102.
Whittaker, R.H. 1970. Communities and Ecosystems. Macmillan Co., Collier Macmillan ltd., London