ลักษณะความชื้นดินพื้นที่กัดเซาะตลิ่ง และหลังโครงสร้างป้องกัน การกัดเซาะตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยา

Main Article Content

อภิศักดิ์ โพธิ์ปั้น
กรรณ จินดาประเสริฐ
วรัญญา อรัญวาลัย
กนก เลิศพานิช

บทคัดย่อ

แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายหลักของที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย มีการใช้พื้นที่ริมฝั่งเป็นพื้นที่
ชุมชนมายาวนาน แต่ปัญหาการกัดเซาะตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และส่งผลกระทบทำให้เกิดความ
เสียหายต่อชุมชนริมแม่น้ำอย่างมาก จึงได้ทำการศึกษาลักษณะการกัดเซาะตลิ่งของแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้น มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาลักษณะความชื้นดินพื้นที่กัดเซาะตลิ่งและหลังโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเก็บ
ตัวอย่างดินมาวิเคราะห์เนื้อดิน ความหนาแน่นรวมของดิน และความชื้นดินที่ระดับความลึก 0-50 50-100 100-150
150-200 200-250 และ 250-300 เซนติเมตร ในบริเวณที่มีการพังทลายของตลิ่งที่ไม่มีโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะ
และมีโครงสร้าง ในช่วงระยะเวลาระดับน้ำในแม่น้ำสูง ระดับน้ำลดระดับลง และระดับน้ำในแม่น้ำต่ำพบว่าทั้งพื้นที่
ไม่มีโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะ และมีโครงสร้าง ความชื้นดินที่ระดับลึกกว่า 200 เซนติเมตรลงไปมีค่ามากกว่า
ร้อยละ 40 ในทุกช่วงเวลา ตลิ่งที่มีเนื้อดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายมีชั้นทรายแทรกสลับในเนื้อดิน มีการพังทลาย
ในช่วงระดับน้ำลดระดับลง ในลักษณะการทรุดตัวลงเป็นแถบ ส่วนตลิ่งที่มีเนื้อดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว
มีการพังทลายในช่วงระดับน้ำในแม่น้ำต่ำลักษณะการลื่นไถลแบบหมุน เมื่อเปรียบเทียบความชื้นดินพื้นที่หลัง
โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะตลิ่งแบบกำแพงทึบ รอดักทราย และโครงสร้างปิดทับหน้าตลิ่งแบบเรียงหินใหญ่
ในช่วงระยะเวลาต่างกัน พบว่าโครงสร้างแบบกำแพงทึบมีค่าความชื้นดินในระดับลึก 150 เซนติเมตรลงไปมีค่าสูงกว่า
ร้อยละ 40 ตลอดทุกช่วงระยะเวลาทั้งระดับน้ำในแม่น้ำสูง ระดับน้ำลดระดับลง และระดับน้ำในแม่น้ำต่ำสำหรับ
โครงสร้างปิดทับหน้าตลิ่งแบบเรียงหินใหญ่มีความชื้นดินสูงกว่าร้อยละ 40 ที่ระดับลึกที่ความลึก 150 เซนติเมตร
ลงไปเฉพาะในช่วงระดับน้ำในแม่น้ำสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมเจ้าท่า. 2559. รายงานโครงการศึกษาและสำรวจออกแบบเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น?้ำน้อย และคลองบางบาล
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรมเจ้าท่า. กรุงเทพฯ.
คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2541. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 547 น.
สำนักงานทรัพยากรธรณีวิทยาเขต 3 ปทุมธานี. 2556. พิบัติภัยตลิ่งทรุดตัวตำบลโพสะ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง. รายงานวิชาการ
ฉบับที่ สทข3 8/2556. กรมทรัพยากรธรณี. กรุงเทพฯ. 27 น.
อภิศักดิ์ โพธิ์ปั้น. 2542ก. ลักษณะธรณีโครงสร้าง และดินบนคันดินริมน้ำเจ้าพระยา. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 17(2) : 48-56.
อภศิ กั ดิ์ โพธปิ์ ั้น. 2542ข. การใชร้ ปู ถ่ายทางอากาศศึกษาการกดั เซาะตลิ่งและการตกตะกอนทบั ถมริมฝั่งลำน้ำ เจ้าพระยา. หน้า 73 – 83.
ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ “30 ปี เกษตรเจ้าคุณทหาร” สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง,
กรุงเทพฯ.
Blake, G.R. and K.H. Hartge. 1986. Bulk Density. In A. Klute (ed.) Methods of Soil Analysis. Part 1-Physical and
Mineralogical Methods Second Edition. American Society of Agronomy, Madison WI.
Gardner, W.H. 1965. Water content. In C.A. Black (ed.) Methods of Soil Analysis, part 1. Agronomy No. 9. Am. Soc. Of Agron.
Madisson, Wisconsin. pp. 92-127.
Peterson, M.S. 1986. River Engineering. McGraw-Hill Co.Inc. New Jersey. 457 p.
Perdojski, B, R. Blazejewski and K.W. Pilarczyk. 1995. River Training Techniques, Fundamentals, design and application.
A.A. Ballema Rotterdami Brookfield, Netherland. 147 P.
Plummer C.C., D.H. Carlson and L. Hammersley. 2013. Physical Geology. McGraw-Hill Co.Inc. New York. 633 p.
Rutherford, I. and P. Bishop. 1996. Morphology and Bank Protection of the Mekong River in the Vientiane-Nong Kai Reach,
Lao PDR and Thailand. Report prepared for the Mekong River Commission.
Soil Survey Staff. 1996. Soil survey laboratory methods manual version No. 3.0. USDA NRCS.
Soil Survey Staff. 2014. Soil Survey Mannul. U.S. Dept. Agri., U.S. Govt. Printing Office, Washington, D.C. 637 p.