การใช้ประโยชน์น้ำเสียและกากตะกอนหม้อกรองจากโรงงานน้ำตาล ในการปลูกข้าวโพดหวาน

Main Article Content

กนกภรณ์ ดอนเจดีย์
คณิตา ตังคณานุรักษ์
นิพนธ์ ตังคณานุรักษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ของเสียจากโรงงานผลิตน้ำตาลทรายให้เป็นประโยชน์ในทางการเกษตร
โดยใช้น้ำเสียจากบ่อบำบัดฟัคคัลทีฟบ่อที่ 1, 2 และ 3 ของระบบบำบัดแบบบ่อปรับเสถียร และกากตะกอนหม้อกรอง
รวมทั้งใช้มูลสุกรแทนปุ๋ยเคมีในการปลูกข้าวโพด สำหรับการปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์ ไฮบริกซ์ 3 วางแผนการทดลอง
โดยจัดกลุ่มทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์แปลงทดลอง 19 แปลง ที่อัตราปุ๋ยเคมีตั้งแต่ 25 – 0 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับกากตะกอน
หม้อกรอง และมูลสุกร และใช้น้ำเสียจากบ่อฟัคคัลทีฟที่แตกต่างกัน พบว่าในแต่ละแปลงที่ใช้น้ำเสียจากบ่อฟัคคัลทีฟ
บ่อเดียวกัน ที่ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ ให้ผลผลิตดีที่สุด นอกจากนั้นผลจากการวิเคราะห์ของดินหลังจากการ
ปลูกข้าวโพดพบว่าความเป็นกรด – ด่าง อินทรียวัตถุ ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ของทุกแปลงทดลองซึ่งใช้กากตะกอน
หม้อกรองและมูลสุกร มีค่าสูงกว่าแปลงควบคุมที่ใช้เพียงปุ๋ยเคมีอัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ และปริมาณไนเตรท – ไนโตรเจน
ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกแปลงทดลอง กากตะกอนหม้อกรองและมูลสุกรเป็นวัสดุปรับปรุงดินและช่วยลดการเสื่อม
สลายของดินได้ ดังนั้นน้ำเสียจากบ่อฟัคคัลทีฟสามารถใช้แทนน้ำธรรมชาติ และกากตะกอนหม้อกรองและมูลสุกร
สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการปลูกข้าวโพดได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2549. การไถกลบตอซังเพื่อปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว. แหล่งที่มา: http://www.ldd.go.th/menu_/POSTER/
rice/rice.htm. LECO Corporation; Saint Joseph, Michigan USA. Instrument: TruSpec N., 2 กันยายน 2560.
กรมพัฒนาที่ดิน. 2537. คู่มือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เรื่อง การปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ. โครงการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ กลุ่มอิน
ทรียวัตถุและวัสดุเหลือใช้ กองอนุรักษ์ดินและน้ำ กรมพัฒนาที่ดิน. กรุงเทพมหานคร:
กรมวิชาการเกษตร. 2547. ขา้ วโพดฝักสด. เอกสารวิชาการข้าวโพดฝักสด. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,กรงุ เทพฯ.
คณาจารย์ภาควิชาพืชไร่นา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2542. พืชเศรษฐกิจ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และ จงรักษ์ จันทร์เจริญสุข. 2542. แบบฝึกหัดและคู่มือปฏิบัติการการวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา,
คณะเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 108 น.
นิพนธ ์ตังคณานุรักษ์ และ คณิตา ตังคณานุรักษ์.2550. หลักการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทางเคมี. พิมพ์ครั้ง ที่1. สำนักพมิ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ราเชนทร์ ถิรพร. 2539. ข้าวโพด. ภาควิชาพืชไร่นา สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วิฑูรย์ ปัญญากุล. เกษตรยงั่ ยืน วิถีการเกษตรเพื่ออนาคต. กรุงเทพ. มูลนิธิสายใยแผ่นดิน, 2547. แหล่งที่มา:https://www.bloggang.
com/mainblog.php?id=coffeeis&month=02-11-2010&group=6&gblog=4, 5 สิงหาคม 2560.
อานัฐ ตันโช. 2549. การวิเคราะห์และประเมินผลสำเร็จของการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอินทรียวัตถุ ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมักและวัสดุปรับปรุงดิน
ในประเทศไทย. แหล่งที่มา:http://www.dld.go.th/nutrition/exhibition/Resesrch/research_full/2531/, 5 สิงหาคม 2560.
Fulhage, D. C. 2000. Land Application Consideration for Animal Manure. Available from http://muextention.missouri.edu/
xplor/envgual/egg0202, 13 August 2017.