การศึกษาดินที่มีลักษณะรีดอกซ์ในบริเวณช่วงต่อระหว่างที่ลุ่มและที่ดอนของแอ่งโคราช

Main Article Content

มัชฌิมา คำลอย
เสาวนุช ถาวรพฤกษ์
ณัฐพล จิตมาตย์
เอิบ เขียวรื่นรมณ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้คัดเลือกดินที่เป็นตัวแทน 6 พีดอน เพื่อนำมาวิเคราะห์สัณฐานวิทยาของดิน สมบัติทางฟิสิกส์
เคมี จุลสัณฐานวิทยาและแร่วิทยา ประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน จำแนกสมรรถนะความอุดมสมบูรณ์ของดิน
และจำแนกความเหมาะสมของที่ดินต่อการใช้ปลูกพืชเศรษฐกิจพบว่าแอ่งโคราชเป็นแอ่งตื้นลูกคลื่นลอนลาด สูงจาก
ระดับทะเลปานกลางในพิสัย 100-200 เมตร ดินมีพัฒนาการสูง และ มีระดับความอุดมสมบูรณ์ต่ำวัตถุต้นกำเนิดส่วน
ใหญ่มาจากตะกอนน้ำพาวัสดุตกค้างจากหินทรายและตะกอนล้างผิวดิน พีดอน 1 ไม่พบลักษณะรีดอกซ์ พีดอน 2-3
พบที่ความลึก 90 และ 72 เซนติเมตร ตามลำดับ พีดอน 4-6 พบตั้งแต่ผิวดินลงไป อยู่ในกลุ่มดินใหญ่ Kandiustults,
Kandiustalfs, Plinthaquults, Plinthaqualfs และ Endoaqualfs ความหนาแน่นรวมของดินค่อนข้างต่ำถึงค่อนข้าง
สูง (1.34-1.71 Mg m-3) ค่าความจุความชื้นสนามในพิสัยร้อยละ 41-72 จุดเหี่ยวถาวรพิสัยร้อยละโดยน้ำหนัก 40-61
ค่าน้ำใช้ประโยชน์ได้พิสัยร้อยละโดยน้ำหนัก 3-10 ดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็นกลาง (pH 4.04-6.76) อินทรียวัตถุ
ต่ำมากถึงค่อนข้างต่ำ (0.67-13.46 g kg-1) ไนโตรเจนรวมต่ำมาก (0-0.49 g kg-1) ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำมาก
ถึงสูง (0.70-32.67 mg kg-1) โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่ำมาก (2.36-28.45 mg kg-1) ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน
ค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง (1-11 cmol kg-1) เบสที่สกัดได้ต่ำถึงต่ำมาก (0.14-6.72 cmol kg-1) กรดที่สกัดได้ต่ำมากถึง
ปานกลาง (0.25-4.99 cmol kg-1) อัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสต่ำถึงสูง (4-97%) สมบัติทางแร่วิทยาในกลุ่มอนุภาค
ขนาดดินเหนียว พบว่าทุกพีดอนไม่มีแร่ใดเป็นแร่เด่น ลักษณะจุลสัณฐานที่แสดงถึงสภาพรีดอกซ์ คือมีการเคลือบของ
เหล็กตามผนังช่องว่างและการสะสมของเหล็กและ/หรือแมงกานีสออกไซด์ในเนื้อพื้น ซึ่งพบในพีดอน 2-6 จำแนก
สมรรถนะความอุดมสมบูรณ์เป็น Ldakme, SLdakme, Lgakme และ Lgkme และมีชั้นความเหมาะสมของดินต่อ
การปลูกพืชเศรษฐกิจโดย พีดอน 1-2 ไม่เหมาะสมต่อการปลูกข้าว (N) แต่มีความเหมาะสมเล็กน้อยถึงปานกลางต่อ
การปลูกพืชไร่และยางพารา (S3-sn และ S2-sn) สำหรับพีดอน 3-6 เนื่องจากมีสภาพการขังน้ำ จึงสามารถปลูกข้าว
ได้ (S3-sn และ S2-sn)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองวางแผนการใช้ที่ดิน. 2542. คู่มือการประเมินคุณภาพที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
กองสำรวจดนิ . 2523. คู่มือจำแนกความเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ,์ กรงุ เทพฯ. 76 น.
กองสำรวจดิน. 2531. แผนที่จังหวัดร้อยเอ็ด มาตราส่วน 1:100,000. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2548. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 547 น.
เอิบ เขียวรื่นรมณ์. 2548. การสำรวจดิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 733 น.
อัญชลี สุทธิประการ, เอิบ เขียวรื่นรมณ์, เสาวนุช ถาวรพฤกษ์ และ ศุภิฌา ธนะจิตต์. 2555. คู่มือปฏิบัติการธรณีวิทยาเบื้องต้น.
พิมพ์ครั้งที่ 2. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Blake, G.R. and K.H. Hartge. 1986. Bulk density, pp. 363-382. In A. Klute, ed. Methods of Soil Analysis. Part 1. Amer.
Soc.of Agron. Inc., Madison, Wisconsin, USA.
Bloom, P.R. and D.F. Grigal. 1985. Modeling soil response to acidic deposition in non-sulfate adsorbing soils. J. Environ.
Qual. 14: 481-495.
Bloom, P.R. 2000. Soil pH and pH Buffering, pp. B333-B352. In M.E. Sumner, ed. Handbook of Soil Science. CRC Press LLC.
Bray, R.H. and L.T. Kurtz. 1945. Determination of total organic and available forms of phosphorus in Soil. Soil Science
Society of America Journal 59: 39-45.
Bullock, P., N. Fedoroff, A. Jongerius, G. Stoops, T. Turisna, U. Bablel, J. Agrilar, H.J. Altemullar, E.A. Fitzpatrick,
S.T. Kowalinski, G.K. Rutherford and E.A. Yarilova. 1985. Handbook for Thin Section Description. Waine Research,
Albrighton, United Kingdom.
Buol, S.W., R.J. Southard., R.C. Graham. and P.A. McDaniel. 2011. Soil Genesis and Classification, 6th ed., Iowa State
Press, A Blackwell Publishing Company, Iowa.
Chapman, H.D. 1965. Cation exchange capacity, pp. 891-901. In C.A. Black, ed. Methods of Soil Analysis. Part II.
Monograph No.9. American Society of Agronomy Inc., Amdison, Wisconsin.
Day, P.R. 1965. Particle fractionation and particle size analysis, pp. 545-567. In C.A. Black, ed. Methods of Soil Analysis
Part l. Agronomy, No. 9. Soc. of Agron. Inc., Madisoin, Wisconsin, USA.
Faithfull, N.T. 2002. Methods in Agricultural Chemical Analysis. CAB International, Wallingford, UK.
Jackson, M.L. 1965. Soil Chemical Analysis-Advanced Course. Department of Soils, University of Wisconsin.
Kilmer, V.J. and L.T. Alexander. 1949. Method of making mechanical analysis of soils. Soil Science Society of America
Journal 68: 15-24.
Klute, A. 1965. Laboratory Measurement of Hydraulic Conductivity of Saturated Soils, pp. 210-220. In C.A. Black, ed.
Methods of Soil Analysis. Part l. Agronomy, No. 9. Amer. Soc. Agron. Inc., Madison, Wisconsin, USA.
National Soil Survey Center. 1996. Soil Survey Laboratory Methods Manual. Soil Survey Investigations Report No.42,
Version 3.0. Natural Conservation Service, United States Department of Agriculture.
Nelson, D.W. and L.E. Sommers. 1996. Total carbon, organic carbon, and organic matter, pp. 961-1010. In D.L. Sparks,
A.L. Page, P.A. Helmke, R.H. Poeppert, P.N. Soltanpour, M.A. Tabatabai, C.T. Johnston and M.E. Sumner, eds.
Methods of Soil Analysis, Part 3. Chemical Methods. Agronomy No. 5. SSSA Book Series. Madison, WI.
Peech, M., L.T. Alexander, L.A. Dean and J.F. Reed. 1974. Methods of Soil Analysis for Fertility Investigation. U.S. Dept.
Agric. Cric, Madison, Wisconsin, USA.
Pratt, P.E. 1965. Potassium, pp. 1022-1030. In C.A. Black, ed. Methods of Soil Analysis. Part II. Monograph No.9.
American Society of Agronomy Inc., Madison, Wisconsin, USA.
Richards, L.A. 1954. Diagnosis and Improvement of Saline and Alkaline Soil. US Salinity Laboratory, US Dept. Agr. Hbk. 60.
Sanchez, P.A. 1976. Properties and Management of Soils in the Tropics. Wiley, New York.
Sanchez, P.A., C.A. Palm and S.W. Buol. 2003. Fertility Capability Classification: a tool to assess soil quality in the tropics.
Geoderma. 114: 157-185.
Thomas, G.W. 1982. Exchange cations, pp. 159-165. In A.L. Page ed. Methods of Soil Analysis. Part II. 2nd ed., Amer.
Soc. of Agron., Inc., Madison, USA.
Ulrich, B. 1991. An ecosystem approach to soil acidification, pp. 28-79. In B. Ulrichand, M.E. Sumner, eds. Soil Acidity.
Springer-Verlag, Berlin, Germany.
Vepraskas, M.J. 2004. Redoximorphic Feature for Identifying Aquic Condition. Tech. Bull. 301. NC Agric. Res. Serv.
Raleigh, NC.
Weil, R.R. and N.C. Brady. 2016. The Nature and Properties of soils. 15th ed. Pearson Education. Inc., New Jersey.
Whittig, L.D. 1965. X-ray diffraction technique for minerals identification and mineralogical composition, pp. 671-698.
In C.A. Black, ed. Methods of Soil Analysis. Part II. Monograph No. 9. American Society of Agronomy Inc., Madison,
Wiscocsin.