ความหลากหลายภูมิรู้พืชสมุนไพรในท้องถิ่นต่อการผลิตไก่พื้นเมืองในจังหวัดสุรินทร์เพื่อ การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของภูมิปัญญาและองค์ความรู้พืชสมุนไพรในท้อง
ถิ่นต่อการผลิตไก่พื้นเมืองในจังหวัดสุรินทร์ และเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
กลุ่มตัวอย่าง คือ หมอพื้นบ้าน ผู้รู้ ผู้ใช้ หรือผู้ที่เคยนeพืชสมุนไพรมาใช้ในไก่พื้นเมือง จำนวน 100 ตัวอย่าง ผลการ
ศึกษาความหลากหลายของภูมิรู้สมุนไพรในท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ พบว่า มีทั้งหมด 199 ตำรับ แยกตามกลุ่มอาการ
ได้ 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 อาหารและการเร่งการเจริญเติบโต จำนวน 48 ตำรับ ได้แก่ ตำรับยาสมุนไพรบำรุงกำลัง ตำรับ
สมุนไพรแก้ช้ำใน และตำรับยาสมุนไพรถ่ายพยาธิ กลุ่มที่ 2 ป้องกันและรักษาโรค ได้แก่ ตำรับยาสมุนไพรรักษาโรค
ท้องอืด ตำรับยาสมุนไพรรักษาโรคท้องเสีย ตำรับสมุนไพรพยาธิภายนอก ตำรับสมุนไพรภายใน พยาธินัยน์ตาไก่
ตำรับยาสมุนไพรสมานแผล ตำรับยาสมุนไพรโรคผิวหนัง หิด กลากเกลื้อน และตำรับยาสมุนไพรรักษางูกัดหรือสัตว์
มีพิษ กลุ่มที่ 3 สร้างระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ ตำรับยาสมุนไพรบำรุงธาตุ ตำรับยาสมุนไพรสำหรับไข้หวัด และตำรับยา
สมุนไพรต้มน้ำกราดตัวไก่ และกลุ่มที่ 4 พืชสมุนไพรเดี่ยว เป็นพืชสมุนไพรทั้งหมด 45 วงศ์ จำนวน 84 ชนิด เกษตรกร
รู้จักพืชสมุนไพรจาก 1) ภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ 2) ศึกษาหนังสือตำรา เอกสารและสื่อสารสนเทศ
และ 3) จากประสบการณ์ในการเลี้ยง สำหรับปัญหาของการนำพืชสมุนไพรมาใช้ในไก่พื้นเมือง คือ พืชสมุนไพรบาง
ชนิดหาได้ยาก เห็นผลช้า ความยุ่งยากในการประกอบการผลิต ใช้ไม่ถูกวิธี ใช้ไม่ตรงกับโรค ขั้นตอนในการแปรสภาพ
และเก็บรักษายุ่งยาก จึงมีแนวทางการจัดการแก้ปัญหา คือ รวมกลุ่มเพื่อปรึกษาหารือ กระตุ้นและให้มีการใช้สมุนไพร
อย่างต่อเนื่อง สนับสนุนในการปลูกพืชสมุนไพรไว้ใช้เองหรือปลูกบริเวณบ้านเพื่อใช้ในการบริโภค อธิบาย บอกต่อถึง
สรรพคุณของพืชสมุนไพรแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองรายอื่น ศึกษาจากผู้รู้ถึงสรรพคุณและวิธีใช้ แล้วลองปฏิบัติ
ตาม เผยแพร่และประชาสัมพันธ์การนำพืชสมุนไพรมาใช้
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
References
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 57 หน้า.
บงกช นพผล, ขวัญเกศ กนิษฐานนท์, วสันต์ จันทรสนิท และพิทักษ์ น้อยเมย์. 2546. อัตราส่วนที่เหมาะสมของไพลในการเลี้ยงไก่ลูกผสม
พื้นเมือง. รายงานโครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2546. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เยาวมาลย์ ค้าเจริญ และ สาโรช ค้าเจริญ. 2544. ข้อควรระวังในการทดลองสมุนไพรในอาหารสัตว์. ใน เอกสารประกอบการประชุมเชิง
ปฏิบัติการ การวิจัยสมุนไพรในสัตว์. วันที่ 15-16 ตุลาคม 2544. ณ เคยู โฮม ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน. หน้า 17-21.
สมเจตร์ เพ็ญวิจิตร. 2552. การจัดการความรู้การใช้พืชสมุนไพรในท้องถิ่นต่อการผลิตปศุสัตว์แบบมีส่วนร่าวของชุมชนในเขต
จังหวัดนครสวรรค์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยงั่ ยืน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2558. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนา
แห่งชาติ. 215 หน้า.
อริชญา นาคชำนาญ. 2548. ผลของสมุนไพรผสมของฟ้ าทะลายโจร ขมิ้นชัน มะระขี้นก และไพล ต่อระบบภูมิคุ้มกัน และคุณลักษณะ
ทางการเจริญเติบโตในไก่กระทง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาสัตวบาลมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์. 128 หน้า.
Kamdem, R. E., S. Sang, and C.T. Ho. 2002. Mechanism of superoxide scavenging activity of Neoandrographolide a natural
product from andrographispaniculat-anees. Journal of Agricultural & Food Chemistry 50 : 4662-4665.
Masuda, T., H. Bando, T. Maekawa, Y. Takada and H. Yamaguchi. 2000. A novel radial terminated compound produced in
the antioxidant process of curcumin against oxidation of fatty acid ester. Tetrahedron Letters 41: 2157-2160.