อิทธิพลของอายุเก็บเกี่ยวต่อผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์คราม

Main Article Content

ครองใจ โสมรักษ์
พิจิกา ทิมสุกใส
สุจินต์ เจนวีรวัฒน์

บทคัดย่อ

         ครามเป็นพืชตระกูลถั่ว ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการย้อมผ้า ให้สีที่สวยงามและคงทน การปลูกครามต้องใช้เมล็ดจำนวนมาก แต่การสุกแก่ของเมล็ดครามจะไม่พร้อมกัน ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานในการเก็บเกี่ยว ได้เมล็ดพันธุ์น้อย และไม่มีคุณภาพ งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมที่ทำให้ได้ผลผลิต และคุณภาพเมล็ดพันธุ์ครามที่ดี ดำเนินการ ณ แปลงปฏิบัติการพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เดือนมิถุนายน 2559 (ฤดูฝน) โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่ม
ในบล็อกสมบูรณ์ จำนวน 4 ซ้ำ และสิ่งทดลองประกอบด้วย 7 อายุการเก็บเกี่ยว ได้แก่ เก็บเกี่ยวที่อายุ 140, 150, 160, 170, 180, 190 และ 200 วันหลังปลูก ผลการทดลองพบว่าน้ำหนักฝักสดเฉลี่ยต่อต้น น้ำหนักฝักแห้งเฉลี่ยต่อต้น น้ำหนักเมล็ดเฉลี่ยต่อต้น ความชื้นของเมล็ด และเปอร์เซ็นต์ความงอกของทุกอายุเก็บเกี่ยวมีความแตกต่างกันในทางสถิติ โดยเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดสูงที่สุด คือ เมื่อเก็บเกี่ยวครามที่อายุ 150 วันหลังปลูก (53.31 เปอร์เซ็นต์) แต่น้ำหนักเมล็ดเฉลี่ยต่อต้นน้อย ทำให้การงอก
รวมของเมล็ดที่งอกได้ต่อต้นน้อย (1,270 เมล็ดต่อต้น) และอายุเก็บเกี่ยวที่มีจำนวนเมล็ดรวมที่งอกได้ต่อต้นสูงสุด คือ 180 วันหลังปลูก (2,673 เมล็ดต่อต้น) รองลงมาคือ อายุเก็บเกี่ยวที่ 200 และ 190 วันหลังปลูก ดังนั้นอายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม คือ อายุ 180 วันหลังปลูกขึ้นไป ซึ่งจะทำให้ได้เมล็ดพันธุ์ครามที่มีผลผลิต และคุณภาพสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลพร ปานง่อน, สุคนทิพย์ บุญวงค์ และกุลชนา เกศสุวรรณ์. 2554. รายงานผลการวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง การศึกษาความหลากหลายและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพืชสกุลครามด้วยเทคนิคเครื่องหมายโมเลกุล. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

กัณฑิมา ทองศรี, นรีลักษณ์ วรรณสาย, นิภาภรณ์ พรรณรา และสนอง บัวเกตุ. 2558. การศึกษาช่วงอายุเก็บเกี่ยวและวิธีเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง. ใน เรื่องเต็มการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 53 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 3-6 กุมภาพันธ์ 2558.

น. 218-22. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

จุฑามาศ ศรีสำราญ, บุญเชิด วิมลสุจริต, ญาณิน สุปะมา, วัชราพร ศรีสว่างวงศ์, ปริยานุช สายสุพรรณ์ และณัฏฐ์ชยธร ขัตติยะพุฒิเมธ. 2558.

การวิจัยและพัฒนาการผลิตครามพื้นที่จังหวัดสกลนคร. ใน รายงานโครงการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. กรมวิชาการเกษตร.

ธวัชชัย ทีฆชุณหเถียร. 2540. รายงานการวิจัย เรื่อง การพักตัวของเมล็ดในระหว่างการพัฒนาของเมล็ดถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 60-1 ขอนแก่น 60-3 และไทนาน 9. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

เปรมจิตต์ ใจหาญ. 2551. ผลของสายพันธุ์ แหล่งปลูก และอายุการเก็บเกี่ยวต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์คราม (Indigofera tinctoria L.) ในระหว่างการเก็บรักษา. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พิทยา พรหมสุข, ขัวญจิตร สันติประชา และวัลลภ สันติประภา. 2553. การพัฒนาและการสุกแก่ของเมล็ดปอเทือง. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 28 (1): 107-117.

พุทธพร วิวาจารย์, สิทธิชัย บุญมั่น, เพ็ชรรัตน์ โยวะบุตร, ชลธิรา แสงศิริ และธนพร ขจรผล. 2558. การปลูกคราม (Indigofera tinctoria L.)

แซมหม่อนเพื่อเพิ่มรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในพื้นที่จังหวัดสกลนคร. ใน เรื่องเต็มการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 53 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 3-6 กุมภาพันธ์ 2558. น. 83-90. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

พัฒนพงศ์ อินทร์คำ. 2547. ระยะเวลาการสุกแก่ของฝักและคุณสมบัติของเปลือกฝักและเปลือกหุ้ม เมล็ดที่มีผลต่อการเสื่อมคุณภาพในแปลงปลูกของเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวพันธุ์ต่าง ๆ ในสภาพฝนเทียม. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยี การเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

วัชราภรณ์ จันทบุตร และสุดสงวน เทียมไธสงค์. 2554. การศึกษาระยะเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ถั่วพร้า. แก่นเกษตร 39 (ฉบับพิเศษ 3): 342-347.

วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2542. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์พืชไร่. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วัลลภ สันติประชา. 2538. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศิรินภา มีแก้ว, พรศิริ หลีวานิช, จุฑามาศ ร่มแก้ว, สมบัติ ชิณะวงศ์ และธงชัย มาลา. 2552. อิทธิพลของอายุเก็บเกี่ยวและสภาพการเก็บรักษาที่มีต่อคุณภาพเมล็ดและปริมาณน้ำมันสบู่ดำ. ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 6.

-9 ธันวาคม 2552. น. 101-109. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.

อนุรัตน์ สายทอง. 2543. สารเคมีจากต้นครามและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. http://kram.snru.ac.th/components/

contents/view.php?id=147 (5 สิงหาคม 2557).

อนุรัตน์ สายทอง. 2553. รายงานวิจัยโครงการศึกษาและพัฒนาสีย้อมจากคราม ปี 2550. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. http://kram.snru.ac.th/components/contents/view.php?id=154 (5 สิงหาคม 2557).

อังคณา เทียนกล่ำ. 2555. การศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ การเพิ่มผลผลิตใบ ปริมาณสีคราม และครามผงของครามงอ (Indigofera tinctoria L.). วารสารแก่นเกษตร 40: 47-52.

Aobchey, P., Sinchaikul, S., Phutrakul, S., and Sheui-Tein, C. 2007. Simple purification of indirubin from Indigofera tinctoria Linn. and inhibitory effect on MCF-7 human breast cancer cell. Chiang Mai Journal of Science 34(3): 329-337.

Jahan, S., Golam Sarwar, A. K. M., Hossain, M. A., and Fakir, M. S. A. 2013. Floral morphology and seed yield in two Indigofera spp. as affected by shoot clipping. Journal of Bangladesh Agricultural University 11(1): 61-66.

Lima, C. R., Lucena Alcantara Bruno, R., Rosa, K., Silva, G., Pacheco, M. V., Alves E. U., and Andrade, A. P. 2012. Physiology maturity of fruit and seeds of Poincianella pyramidalis (Tul.) L.P. Queriroz. Revista Brasileira de Sementes 34(2): 231-240.

Saraswathi, M. N., Karthikeyan, N., Rajsekar, S., and Gopal, V. 2012. Indigofera tinctoria Linn. – A phytopharmacological review. International Journal of Research Phamarceutical and Biomedical Science 3(1): 164-169.