ผลของความเป็นกรด-ด่างของน้ำจากใบหูกวางแห้งต่อการเพิ่มอัตราส่วนเพศผู้ และการเติบโตในปลากัดสายพันธุ์หางพระจันทร์ครึ่งซีก

Main Article Content

สุกสกาว รอดปั้น
นงนุช เลาหะวิสุทธิ์
อัจฉรี เรืองเดช

บทคัดย่อ

          ผลของความเป็นกรด-ด่าง (pH) จากน้ำแช่ใบหูกวางแห้ง (T. catappa leaves, TCL) ต่อการผสมพันธุ์วางไข่และ
อัตรารอดของพ่อแม่ปลากัด และอัตราส่วนเพศผู้ การเติบโตในลูกปลากัดสายพันธุ์หางพระจันทร์ครึ่งซีก พบว่า pH จากน้ำแช่ TCL ที่ 0, 2.5, 5, 7.5 และ 10 กรัม/ลิตร มีค่า pH เฉลี่ย 7.90, 6.67, 6.48, 6.33 และ 5.91 ตามลำดับ ทำให้การผสมพันธุ์วางไข่และอัตรารอดของพ่อแม่พันธุ์และลูกปลากัดมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยน้ำแช่ TCL 2.5 กรัม/ลิตร pH 6.67 มีการวางไข่มากที่สุด เท่ากับ 80.0% แต่น้ำแช่ TCL 10 กรัม/ลิตร pH 5.91 ทำให้พ่อแม่พันธุ์และลูกปลากัดตายทั้งหมด การแช่ไข่ปลากัดที่ได้รับการปฏิสนธิใน pH จากน้ำแช่ TCL ที่ปริมาณต่างกัน ส่งผลให้ลูกปลาเพศผู้จากน้ำแช่ TCL 5 กรัม/ลิตร pH 6.71 มีลูกปลาเพศผู้มากที่สุด (74.13%) การเติบโตของลูกปลากัดไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ดังนั้น ปลากัดมีการผสมพันธุ์วางไข่ในน้ำแช่ TCL 2.5-7.5 กรัม/ลิตร pH 6.33-6.67 และน้ำแช่ TCL 5 กรัม/ลิตร pH 6.71 สามารถเพิ่มลูกปลากัดเพศผู้ได้ 35.27% เมื่อเทียบกับชุดควบคุม (pH 7.50)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ. 2559. สถิติการส่งออกสัตว์น้ำมีชีวิต. http://www.aahri.in.th (9 กันยายน 2562).

การุณ ทองประจุแก้ว. 2556. ชีววิทยาของปลากัดไทย. น. 1-6 ใน วารสารวิทยาศาสตร์ มข. ฉบับที่ 1. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วุฒิพล เล้าอรุณ. 2538. ความกระด้างของน้ำ (Water Hardness). คุณภาพน้ำ. https://www.mwa.co.th/ewt_dl_link.php?nid=506

(5 กันยายน 2562).

Baldisserotto, B. 2011. Water pH and hardness affect growth of freshwater teleosts. Revista Brasileira de Zootecnic 40: 621-626.

Baroiller, J. F., and Cotta, H. D. 2001. Environment and sex determination in farmed fish. Comparative Biochemistry and Physiology Part 130: 399-409.

Craig, G. R., and Baksi, W. F. 1977. The effects of depressed pH on flagfish reproduction, growth and survival. Water Research

: 621-626.

Ikuta, K., Yada, T., and Kitamuna, S. 2000. Effects of acidification on fish reproduction. Nikko Branch National Research Institute of Aquaculture 28: 39-44.

Mount, D. I. 1972. Chronic effects of low pH on fathead minnow survival, growth and reproduction. Water Research 7: 987-993.

Nugroho, R. A., Manurung, H., Saraswati, D., Ladyescha, D., and Nur, F. N. 2016. The effects of Terminallia catappa L. leaves extract on the water quality properties, survival and blood profile of ornamental fish (Betta sp.) cultured. Biosaintifika 8(2): 240-247.

Rajesh, B. R., Potty, V. P., and Sreelekshmy, S. G. 2016. Study of total phenol, flavonoids, tannin contents and phytochemical screening of various crude extracts of Terminalia catappa leaf, stem bark and fruit. International Journal of Applied and Pure Science and Agriculture 2(6): 291-296.

Reddon, A. R., and Peter, L. H. 2013. Water pH during early development influences sex ratio and male morph in a west African fish (Pelvicachromis pulcher). Zoology 116: 139-143.

Romer, U., and Beisenherz, W. 1996. Environmental determination of sex in Apistogramma (Cichlidae) and two other freshwater fishes (Teleostei). Journal of Fish Biology 48: 714-725.

Rubin, D. A. 1985. Effect of pH on sex ratio in Cichlids and Poeciliid (Teleostei). Copeia 1985(1): 233-235.

Sung, Y. Y., and Abol-Munafi, A. B. 2019. Terminalia catappa leaf extract is an effective rearing medium for larviculture of gouramis. Journal of applied Aquaculture 24: 1-12.

Vuorinen, P. J., Vuorinen, N., and Peuranen, S. 1990. Long-term exposure of adult whitefish (Coregonus wartmanni) to low pH/aluminum effects on reproduction, growth, blood composition and gill. Acidification in Finland 46: 941-961.