ผลของไคโตซานและน้ำหมักชีวภาพในการเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์ต่อความงอก และการเจริญของต้นกล้าพริกขี้หนูสวน

Main Article Content

บัวคำ แก้วบัว
ประนอม ยังคำมั่น
อรพินธุ์ สฤษดิ์นำ
สุเทพ วัชรเวชศฤงคาร

บทคัดย่อ

         วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อประเมินผลของระยะเวลาการดูดน้ำของเมล็ดที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์หรือการทำ seed priming โดยแช่เมล็ดในน้ำ RO เป็นเวลา 0, 4, 8, 12, 16, 20 และ 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 25°C และเพื่อศึกษาผลของการทำ seed priming ด้วยสารละลายไคโตซานและน้ำหมักชีวภาพจากพืชต่อการงอกและการเจริญของต้นกล้า
พริกขี้หนูสวน วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 8 กรรมวิธี โดยการแช่เมล็ดเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ในไคโตซานที่ระดับความเข้มข้น 50, 100, 200 mg/l น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วนของน้ำหมักชีวภาพ:น้ำ RO ที่ 1:500, 1:750, 1:1000 (v/v) เปรียบเทียบกับเมล็ดที่แช่ด้วยน้ำ RO และเมล็ดที่ไม่ผ่านการทำ seed priming โดยทำการทดสอบความงอกภายใต้สภาพห้องปฏิบัติการด้วยวิธีการเพาะบนกระดาษชื้น และสภาพโรงเรือนด้วยวิธีการเพาะในพีทมอส ผลที่ได้พบว่า เมล็ดพันธุ์พริกที่ผ่านการทำ seed priming โดยการแช่เมล็ดเป็นเวลา 12 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์พริกขี้หนูสวน ทำให้เมล็ดมีการงอกในห้องปฏิบัติการสูงที่สุด (95%) และมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับเมล็ดไม่ได้ผ่านการทำ seed priming ที่มีเปอร์เซ็นต์การงอกต่ำกว่า (88%) และจากการศึกษาผลของการทำ seed priming ด้วยสารไคโตซานและ
น้ำหมักชีวภาพจากพืชต่อการงอกและการเจริญของต้นกล้า พบว่าการทำ seed priming ด้วยสารละลายไคโตซานความเข้มข้น 50 mg/l มีผลให้เมล็ดมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงสุด นอกจากนี้ยังพบว่าเมล็ดใช้เวลาเฉลี่ยในการงอกเร็วสุดและมีค่าความเร็วในการงอกสูงที่สุด ในขณะที่การทำ seed priming ด้วยไคโตซานความเข้มข้น 50-100 mg/l และน้ำหมักชีวภาพ:น้ำ RO ในอัตราส่วน 1:500 (v/v) มีผลให้น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของต้นกล้าสูงสุด โดยผลดังกล่าวที่ได้มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับเมล็ดที่ไม่ได้ผ่านการทำ seed priming เมื่อทำการทดสอบความงอกในสภาพโรงเรือน ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าการทำ seed priming ด้วยไคโตซานเข้มข้น 50 mg/l มีความเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ในการเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์พริกขี้หนูสวน ก่อนนำไปเพาะในสภาพโรงเรือน เนื่องจากมีผลส่งเสริมทั้งต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญของต้นกล้าที่ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลธิดา โชทนากูล, พิจิตรา แก้วสอน, ปริยานุช จุลกะ และวันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2558. ผลของการเตรียมพร้อมเมล็ดด้วยวิธี Hydropriming ต่อคุณภาพของเมล็ดพริก 2 พันธุ์. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 46(3): 617-620.
กรมพัฒนาที่ดิน. 2545. คู่มือการผลิตและประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์น้ำ. ใน เอกสารวิชาการกรมพัฒนาที่ดินกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรมพัฒนาที่ดิน. 2550. มีอะไรในปุ๋ยอินทรีย์น้ำ. ใน เอกสารเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี ชุดความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
จวงจันทร์ ดวงพัตรา. 2529. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์พืชไร่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กลุ่มหนังสือเกษตร.
ชณิตรา โพธิคเวษฐ์, ทรงศิลป์ พจน์ชนะชัย, อภิรดี อุทัยรัตนกิจ และภาณุมาศ ฤทธิไชย. 2553. ผลของการทำ priming ต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์แตงกวา. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41(3/1): 405-408.
เดือนเต็ม ลอยมา, ทรงศิลป์ พจน์ชนะชัย, ภาณุมาศ ฤทธิไชย และศิริชัย กัลยณารัตน์. 2552. ผลของ Sorbitol และ Chitosan ต่อการคายการพักตัวของเมล็ดพันธุ์ฟักแฟง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 40(1): 297-300.
นภาพร เวชกามา และพีระยศ แข็งขัน. 2561. การปรับปรุงคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ด้วยเทคนิค seed priming. วารสารเกษตรพระวรุณ 5(1): 17-30.
ปิยะรัตน์ วิจักขณ์สังสิทธิ์, อเนก สุขเจริญ, จันทร์จรัส วีรสาร, ลักขณา เบ็ญจวรรรณ์ และรัตนะ บุลประเสริฐ. 2559. ผลของระยะเวลาหมักน้ำหมักต่อการเจริญเติบโตของต้นพริก. วารสารแก่นเกษตร 44(1): 866-872.
บุญมี ศิริ. 2558. การปรับปรุงสภาพและยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
พิจิตรา แก้วสอน, ปาริฉัตร บุญยืน และปริยานุช จุลกะ. 2557. การศึกษาเบื้องต้นของลักษณะทางกายภาพและการดูดน้ำของเมล็ดพันธุ์วงศ์แตง
บางชนิด. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 45(2): 549-552.
พิจิตรา แก้วสอน, กุลธิดา โชทนากูล, ปริยานุช จุลกะ และวันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2560. ผลของการเตรียมพร้อมเมล็ดพันธุ์ต่อความงอกและ
การเจริญเติบโตของต้นกล้าพริก. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 48(1): 70-79.
พีรพงษ์ แสงวนางค์กูล, นวลวรรณ ฟ้ารุ่งสาง, อุดม ฟ้ารุ่งสาง, เจริญ ขุนพรม, สมนึก ทองบ่อ, ยุพิน อ่อนศิริ และชูศักดิ์ คุณุไทย. 2552. ผลของการใช้
ไคโตซานต่อคุณภาพและการควบคุมโรคหลังเก็บเกี่ยวของพริก. ใน รายงานฉบับสมบูรณ์ สนับสนุนโดยศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลัง
การเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พจนา สีขาว, ชินานาตย์ ไกรนารถ และบุญมี ศิริ. 2551. การเปลี่ยนแปลงคุณภาพเมล็ดพันธุ์พริกหวานหลังการกระตุ้นความงอกด้วยวิธี
seed priming. แก่นเกษตร 36: 295-304.
ยงยุทธ โอสถสภา, ศุภมาศ พนิชศักดิ์พัฒนา, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และชัยสิทธิ์ ทองจู. 2541. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เยาวพา สุวัติถิ. 2555. ไคโตซานกับการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์. วารสารเพื่อการวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม 19(4): 4-5.
วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2537. สรีรวิทยาเมล็ดพันธุ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2553. สรีรวิทยาเมล็ดพันธุ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรรณิศา ปัทมะภูษิต และพรไพรินทร์ รุ่งเจริญทอง. 2559. ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และปริมาณกรดซาลิไซลิกในพริกขี้หนู. วารสารแก่นเกษตร 44(1): 141-146.
วิลาสินี รามนัฏ. 2547. การกระตุ้นการงอกเมล็ดพันธุ์พริกโดยวิธี hydropriming. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วีณารัตน์ มูลรัตน์. 2553. ประสิทธิภาพของน้ำหมึกชีวภาพจากเศษปลาที่ใช้น้ำกากส่าเหล้าทดแทนกากน้ำตาล ต่อการเจริญเติบโตของผักโขม (Amaranthus tricolor) ผักกวางตุ้งฮ่องเต้ (Brassica Campertris var. chinensis) และผักบุ้งจีน (Ipomoea aquatica var. reptans). วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศรันยา คุ้มปลี และสุรพงษ์ ดำรงกิตติกุล. 2555. ผลของการใช้น้ำหมักชีวภาพผลไม้ต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์พริก. ใน การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9. น. 2339-2346. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
สุวลี จันทร์กระจ่าง. 2544. การประยุกต์ใช้ไคติน-ไคโตซาน. ใน เอกสารประกอบการบรรยาย การประชุม เชิงปฏิบัติการไคตินและไคโตซานจากวัตถุดิบธรรมชาติสู่การประยุกต์ใช้. น. 52-58. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bradford, K. J. 1986. Manipulation of seed water relations via osmotic priming to improve germination under stress conditions. Horticultural Science 21: 1105-1112.
Copeland, L. O., and McDonald, M. B. 1995. Seed Science and Technology. New York: Chapman and Hill.
McDonald, M. B. 2000. Seed priming. In Seed Technology and Its Biology Basis, M. Black, and J. D. Bewley, eds. pp. 287-326. Sheffield, England: Sheffield Acad. Press.
Reddy, M. V. B., Arul, J., Angers, P., and Couture, L. 1999, Chitosan treatment of wheat seeds induces resistance to Fusarium graminearum and improves seed quality. Journal of Agricultural and Food Chemistry 47: 1208-1212.
Saleh, M. M., Abou-hadid, A. F., and El-Beltag, A. S. 1996. Sweet pepper emergence and seedling growth after seed
pre-germination. ISHS Acta horticulturae 434: 335-340.
Ya-jing, G., Jin, H., Xian-ju, W., and Chen-xia, S. 2009. Seed priming with chitosan improves maize germination and seedling growth in relation to physiological changes under low temperature stress. Journal of Zheijang University Science B 10: 427-433.