คัดเลือกและจำแนกแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในการย่อยสารเคมีไซเพอร์เมทริน ที่ตกค้างในดินทางการเกษตร

Main Article Content

ฟ้าไพลิน เกียรติ์ชัยภา
ดุสิต อธินุวัฒน์
วิลาวรรณ์ เชื้อบุญ

บทคัดย่อ

          แบคทีเรียที่มีประโยชน์ 2 ไอโซเลท จากแบคทีเรียที่คัดแยกได้ทั้งหมด 4 ไอโซเลท จากดินที่ปนเปื้อนสารเคมีกลุ่มไพรีทรอยด์ นำมาทดสอบประสิทธิภาพในการย่อยสลายสารเคมีไซเพอร์เมทริน วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ทดสอบด้วยวิธีอาหารพิษ และประสิทธิภาพการย่อยสลายสารเคมีไซเพอร์เมทรินในสภาพดินจำลอง พบว่า แบคทีเรียไอโซเลท SP-TU-C และไอโซเลท SP-TU-D สามารถเจริญได้ดีบนอาหารพิษ โดยมีขนาดความกว้างโคโลนีเท่ากับ 2.65 และ 2.15 เซนติเมตร ตามลำดับ รวมทั้งมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสารเคมีในสภาพดินจำลอง โดยสามารถย่อยสลายสารเคมีให้อยู่ในระดับปลอดภัยได้ภายใน 7 วัน จำแนกชนิดของแบคทีเรียทั้ง 2 ไอโซเลท โดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา สรีรวิทยา และชีวเคมีบางประการ พบว่าแบคทีเรีย ไอโซเลท SP-TU-C และ SP-TU-D มีความเหมือนกับ Pseudomonas fluorescens และ Paenibacillus popilliae ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2561. จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตร. http://www.ldd.go.th/WEB_WorldSoilDay/
Data/Knowledge/SoilBiotechnology_TH.pdf (กันยายน 2562).
กอบทอง ธูปหอม. 2540. ชุดตรวจสอบยาฆ่าแมลง/สารพิษตกค้าง. ใน เอกสารประกอบการฝึกอบรม ผลงานประดิษฐ์คิดค้นประเภททั่วไป
รางวัลที่ 3 ในงานวันนักประดิษฐ์ปี 2540. กรุงเทพ: สำนักงานวิจัยแห่งชาติ.
กอบทอง ธูปหอม. 2541. คู่มือชุดตรวจหายาฆ่าแมลงจีที. กรุงเทพฯ: กองอาหารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข.
เปรมจิตร บุญสาย. 2556. จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม. ปทุมธานี: ศูนย์เรียนรู้การผลิตและจัดการธุรกิจ สิ่งพิมพ์ดิจิตอล.
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2562. สารกำจัดศัตรูพืช. 2562. http://www.pharmaco.vet.ku.ac.th/pdf_file/Pesticide_20161020.pdf (กันยายน 2562).
วิลาวรรณ์ เชื้อบุญ. 2551. ลักษณะและการทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ควบคุม เชื้อ Erwinia crotovora subsp. carotovora สาเหตุโรคเน่าเละของกะหล่ำดอก. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุธาสินี อั้งสูงเนิน. 2558. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9(1): 50-63.
สุวรรณี แทนธานี. 2555. จุลินทรีย์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ 60(190): 36-39.
Akbar, N., Nanda, S., Belch, J., Cohen, P., and Khan, F. 2015. An important role for A20-binding inhibitor of nuclear factor-kB-1 (ABIN1) in inflammation-mediated endothelial dysfunction: an in vivo study in ABIN1 (D485N) mice.
Arthritis Research and Therapy 17(22): 1-10.
Holt, J. G., Krieg, N. R., Sneath, P. H. A., Staley, J. T., and Williams, S. T. 1994. Bergey's Manual of Determinative Bacteriology,
9th ed. Baltimore: The Williams and Wilkins Co.
Porto, A. M., Melgar, G. Z., Kasemodel, M. C., and Nitschke, M. 2011. Biodegradation of pesticides, pesticides in modern world-pesticides use and management. http://www.intechopen.com/books/ pesticides-in-the-modern-world-pesticidesuse-and-management/biodegradation-of-pesticides. (September 2019).
Robert, J. G. C., Bilton, R. F., and Atkinson, T. 1985. Mechanism of biodegradation of paraquat by Lipomyces starkeyi.
Applied and Environmental Microbiology 49(5): 1290-1294.
Schaad, N. W. 1988. Laboratory Guide for Identification of Plant Pathogenic Bacteria. Saint Paul, Minnesota: Bacteriology Committee of American Phytopathological Society.
Singh, B. K., and Walker, A. 2006. Microbial degradation of organophosphorus compounds. FEMS Microbiology Reviews
30: 428-471.
Viriyawattana, N., and Surachat, S. 2014. Biodegradation of paraquat by the novel bacteria strain, Aeromonas veronii NK67 from cassava fields in Thailand. Asian Journal Microbiology, Biotechnology and Environmental sciences paper 16(1): 35-40.