การพัฒนาอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์และขนาดแรกสืบพันธุ์ของหอยฝาเดียว Stenothyra sp.

Main Article Content

วรเชษฐ์ ท้วมสุวรรณ์
อิซาโอะ ซูซุยอิ
ดุสิต เอื้ออำนวย
ปวีณา ทวีกิจการ

บทคัดย่อ

         ศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา อัตราส่วนเพศ การพัฒนาอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ และขนาดแรกสืบพันธุ์ ของหอยฝาเดียว Stenothyra sp. ทำการเก็บตัวอย่างในแหล่งน้ำนิ่งซึ่งเป็นน้ำกร่อย ที่จังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2562 พบว่าหอยชนิดนี้มีขนาดตั้งแต่ 0.80-3.00 มิลลิเมตร เปลือกมีรูปทรงรีลักษณะบางผิวเรียบ มีสีน้ำตาลเข้มขดวนขวาเป็นเกลียว 5 รอบ สามารถแยกเพศผู้และเพศเมียได้จากอวัยวะสืบพันธุ์ที่พบในเพศผู้เท่านั้น โดยสังเกตได้อย่างชัดเจนในหอยที่มีขนาดตั้งแต่ 1.60 มิลลิเมตรขึ้นไป อัตราส่วนระหว่างเพศผู้และเพศเมีย มีค่าเท่ากับ 0.71:1.00 ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ระยะการพัฒนาอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของหอย Stenothyra sp. ทั้งเพศผู้และเพศเมียสามารถแบ่งได้เป็น 5 ระยะ คือ ระยะเซลล์สืบพันธุ์พักตัว ระยะพัฒนาการของเซลล์สืบพันธุ์ ระยะเซลล์สืบพันธุ์เจริญเต็มที่ ระยะปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ และระยะหลังปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ หอยชนิดนี้มีค่าขนาดแรกสืบพันธุ์ในแต่ละฤดู (ฤดูร้อน ฤดูฝน และ ฤดูหนาว) เท่ากับ 1.71, 1.71 และ 1.63 มิลลิเมตร ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวงจรการสืบพันธุ์ ช่วงของการเปลี่ยนแปลงประชากร ของหอย Stenothyra sp. ในรอบปี และการนำหอยชนิดนี้ไปใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงร่วมกับสัตว์น้ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินตมาศ สุวรรณจรัส, ชัชวาล หมื่นโพธิ์ และละม้าย ทองบุญ. 2551. วงจรการสืบพันธุ์ของหอยหวานในอ่าวไทย. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 11(2): 71-86.
ณัฐกิตทิ์ โตอ่อน. 2560. สัตว์ทะเลหน้าดินขนาดกลางในพื้นที่ป่าชายเลนปลูกปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสงคราม.
วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 9(11): 13-23.
รุจิรา จำปาปน, ชนวัฒน์ ตันติวารุรักษ์ และพงษ์รัตน์ ดำรงโรจน์วัฒนา. 2556. ความหลากหลายชนิดของหอยน้ำจืดในพื้นที่เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา 18(2): 124-131.
เสรี นิยมเดชา. 2558. การเปรียบเทียบวงจรการสืบพันธุ์ และขนาดแรกสืบพันธุ์ของหอยแมลงภู่ (Nerna viridis) ระหว่างบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสัตววิทยามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
Aranda, D. A., Cardenas, E. B., Morales, I. M., Baez, R. I. O., and Brule, T. 2003. Gonad behavior during peak reproduction period of Strombus gigas from Banco chinchorro. Bulletin of Marine Science 73(1): 241-248.
Bancroft, J. D., and Gamble, M. 2002. Theory and Practical of Histological Techniques. Edinburgh, UK: Churchill Livingstone. 796 p.
Cledon, M., Arntz, W., and Panchazadeh, P. E. 2005. Gonadal cycle in an Adelomelon brasiliana (Neogastropoda: Volutidae) population of Buenos Aires province, Argentina. Marine Biology 147: 439-445.
Elhasni, K., Ghorbel, M., Vasconcelos, P., and Jarboui, O. 2010. Reproductive cycle and size at first sexual maturity of Hexaplex trunculus (Gastropoda: Muricidae) in the Gulf of Gabès (southern Tunisia). Invertebrate Reproduction and Develop Dent 54: 213-225.
Fujioka, Y., Shimada, T., and Srithong, C. 2007. Diversity and community structure of microbenthic fauna in shrimp aquaculture pond of the gulf of Thailand. Japan Agricultural Research Quarterly 41(2): 163-172.
Gimenez, J., and Penchaszadeh, P. E. 2002. Reproductive cycle of Zidona dufresnei (Caenogastropoda: Volutidae) from
the southwestern Atlantic Ocean. Marine Biology 140: 755-761.
Hena, M. K., Hshamuddin, O., Misri, O., Abdullah, F., and Loo, K. K. 2004. Benthic faunal composition of Penaeus monodon fabricius culture pond in west coast of Peninsular Malaysia. Journal of Biological Sciences 4(5): 631-636.
Henninger, T. O., and Hodgson, A. L. 2001. The reproductive cycle of Helicon pruinosus (Patellogastropoda) on two South African boulder shores. Journal of molluscan studies 67: 385-394.
Kobayashi, Y., and Wada, K. 2004. Growth, reproduction and recruitment of the endangered brackish water snail Iravadia (Fairbankia) sakaguchii (Gastropoda:Iravadiidae). Mollucan Research 24: 33-42.
Marian, A. C., Marcial, A. M., and Benthe, P. V. C. 2012. Particular features of gonadal maturation and size at first maturity in
Atrina maura (Bivalvia: Pinnidae). Scientia marina 16(3): 539-548.
Ng, T. P. T., and Williams, G. A. 2012. Contrasting reproduction traits in two species of mangrove welling littorinid snails in a seasonal tropical habitat. Invertebrate biology 131(3): 177-186.
Pauly, D. 1984. Fish Population Dynamic in Tropical Water a Manual for Use with Programmable Calculator. Manila, Philippines:
The international center for living aquatic resources management. 325 p.
Panchaszadeh, P. E., Antelo, C. S., Zabala, S., and Bigatt, G. 2009. Reproduction and imposex in the edible snail Adelomelon ancilla from northern Patagonia, Argentina. Marine Biotechnology 156: 1929-1939.
Power, A. J., and Keegan, B. F. 2001. The significance of imposex levels and TBT contamination in the red whelk, Neptunea antiqua (L.) from the offshore Irish Sea. Marine Pollution Bulletin 42(9): 761-772.