ความต้องการรับบริการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

Main Article Content

กนกพร ทองรอด
พิชัย ทองดีเลิศ
พัชราวดี ศรีบุญเรือง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคม การส่งเสริมการเกษตร และความต้องการรับบริการส่งเสริมการเกษตร เปรียบเทียบความต้องการรับบริการส่งเสริมการเกษตร จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคม และการส่งเสริมการเกษตร ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 56 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา/ปวช. ประสบการณ์ในการปลูกมังคุดเฉลี่ย 27.75 ปี จำนวนแรงงานในครัวเรือนที่ใช้ในการผลิตมังคุดมี 2 คน ปริมาณผลผลิตมังคุดเฉลี่ยในปี พ.ศ. 2558-2561 คือ 1,223.09 กิโลกรัม/ไร่ รายได้เฉลี่ยจากการจำหน่ายมังคุด คือ 41,666.67 บาท/ไร่/ปี ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มท่ามะพลา เคยได้รับข้อมูลข่าวสาร รับการส่งเสริม และเข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่เป็นประจำ ระดับความต้องการรับบริการส่งเสริมการเกษตรในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการปลูกมังคุดแตกต่างกัน มีความต้องการบริการส่งเสริมการเกษตรแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 สำหรับเกษตรกรที่มีปริมาณผลผลิตมังคุดเฉลี่ย รายได้จากการจำหน่ายมังคุด และการเข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่แตกต่างกัน มีความต้องการบริการส่งเสริมการเกษตรแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ขณะที่จำนวนแรงงานในครัวเรือนที่ใช้ในการผลิตมังคุด การเป็นสมาชิกกลุ่มตามพื้นที่ การรับข้อมูลข่าวสาร และการได้รับการส่งเสริมการเกษตรแตกต่างกัน จะมีความต้องการบริการส่งเสริมการเกษตรแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559. ระบบส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่. http://www.oic.go.th (15 ตุลาคม 2561).
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2560. ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านเกษตร. กรมส่งเสริมการเกษตร. http://production.doae.go.th (15 ตุลาคม 2561).
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2559. คู่มือการดำเนินงานระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่. http://www.agriman.doae.go.th
(30 ตุลาคม 2561).
เดชรัต สุขกำเนิด. 2558. เศรษฐศาสตร์เกษตรเบื้องต้น เรื่อง การเกษตรและเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร.
ธนกาญจน์ สุวรรณรัตน์, พนามาศ ตรีวรรณกุล และสุพัตรา ศรีสุวรรณ. 2556. ความต้องการพัฒนาอาชีพของเกษตรกร อำเภอเมืองระยอง
จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
นิตยา รักศีล และสุพัตรา ศรีสุวรรณ. 2550. สภาพการผลิตยางพาราและความต้องการส่งเสริมของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในอำเภอทุ่งสง
จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
นิติธร วงศ์เชษฐา. 2550. ความต้องการของเกษตรกรเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการจัดการธุรกิจ: กรณีศึกษา ตำบลเวียงยอด อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. ปัญหาพิเศษปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ โครงการบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.
ประกายตา หลีกภัย, สุวิสา พัฒนเกียรติ และพัฒนา สุขประเสริฐ. 2554. การประเมินผลโครงการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนปี 2552 จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ประทีป สีหานาม. 2550. ความต้องการการส่งเสริมของสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
พุฒิสรรค์ เครือคำ, พหล ศักดิ์คะทัศน์, ปภพ จี้รัตน์ และนภารัศม์ เวชสิทธิ์นิรภัย. 2561. ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการส่งเสริมการปลูกไม้ผลในระบบอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม 15(1): 85-93.
วิทยา ศรีมาลา และวสันต์พรรษ จำเริญนุสิต. 2561. เอกสารเพื่อการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชุมพร. http://thainews.prd.go.th (30 กันยายน 2561).
วิริยะ คล้ายแดง. 2561. เกษตรแปลงใหญ่. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 8 หน้า.
สำนักงานเกษตรอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. 2560. ข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกลุ่มโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่. http://www.chumphon.doae.go.th (30 พฤษภาคม 2561).
สุพัตรา คณานิตย์, ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล และชัยชาญ วงษ์สามัญ. 2560. ความต้องการของเกษตรกรต่อการได้รับการพัฒนาการเกษตร
จากองค์การบริหารส่วนตำบลหว้าทอง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วารสารแก่นเกษตร 45(1): 1515-1521.
สุรินทร์ นิยมางกูร. 2561. การวิเคราะห์ข้อมูลตัวอย่าง: ความพึงพอใจในสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรในชนบทแห่งหนึ่ง.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 182 หน้า.
โสภณ ยอดพรหม. 2456. ความต้องการบริการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ในจังหวัดสุรินทร์. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
เหมือนฝัน รามเทพ, พัชราวดี ศรีบุญเรือง และพิชัย ทองดีเลิศ. 2559. ความต้องการความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับปาล์มน้ำมันของเกษตรกร อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
อารยา ภูโททิพย์, พิชัย ทองดีเลิศ และสาวิตรี รังสิภัทร์. 2556. ความต้องการของเกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกยางพารา อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.