การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับฟาร์มโคนมของผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ชไมพร ใจภิภักดิ์
วรินธร มณีรัตน์
วนิดา มากศิริ

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม 2) การจัดการฟาร์มโคนมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม 3) ความรู้ของเกษตรกรในการจัดการฟาร์มโคนมตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการฟาร์มโคนม ตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมที่เป็นสมาชิกสหกรณ์โคนม-ไทยเดนมาร์ค บ้านเนินดินแดง จำกัด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 66 ราย ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณา ผลการวิจัย พบว่า การจัดการฟาร์มโคนมของเกษตรกรในด้านพันธุ์โคนม ด้านอาหารโคนม และด้านการจัดการฟาร์มโคนมมีความสอดคล้องกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (มกษ. 6402-2552) และเกษตรกรมีความรู้ด้านการจัดการฟาร์มโคนมตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนม ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (มกษ. 6402-2552) ใน 9 องค์ประกอบอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 94.12) อย่างไรก็ตาม เกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์มและต้องการได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์ม ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการให้ความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เกษตรกรเห็นความสำคัญของการจัดการฟาร์มตามมาตรฐานฟาร์มโคนมมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมปศุสัตว์. 2552. องค์ความรู้ด้านปศุสัตว์ ตารางคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบ. http://km.dld.go.th/th/ index.php/th/research-system/knowledge-office/149-kmproduction-cat/159-2009-12-24-03-18-19 (22 ตุลาคม 2562).
จารุวรรณ วงค์ทะเนตร และลักขณา มุ่งวัฒนา. 2557. เทคโนโลยีสะอาดของการจัดการของเสียในฟาร์มโคนม จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 10(1): 38-49.
นาม บัวทอง. 2551. ผลของความถี่ในการใช้น้ำยาซีเอ็มที การอาบน้ำและการใช้ไลเนอร์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อต่อคุณภาพน้ำนมดิบ: กรณีศึกษาสหกรณ์
โคนมกำแพงแสน จำกัด. ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2552. กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์ม
โคนม ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนพิเศษ 186 ง
28 ธันวาคม 2552. https://www.acfs.go.th/standard/download/GAP_dairy_cattle_farm.pdf (27 พฤศจิกายน 2561).
ประเสริฐ โพธิ์กาด, จิตติมา กันตนามัลลกุล และมณฑิชา พุทซาคำ. 2554. การจัดการฟาร์มโคนมตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี: กรณีศึกษาจังหวัดสุโขทัย. ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
เมธา วรรณพัฒน์. 2533. โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง. กรุงเทพฯ: ฟันนี่พลับบลิชชิ่ง จำกัด.
ฤทัยรัตน์ ผจญไพรี. 2557. การใช้จำนวนเซลล์โซมาติกในการประเมินการรีดนมและการจัดการฟาร์มต่อเต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาหาร
ในฟาร์มโคนมของสหกรณ์โคนมท่าม่วง จำกัด. ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกรมปศุสัตว์. 2562. ข้อมูลเกษตรกรและปศุสัตว์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562.
http://ict.dld.go.th/webnew/index.php/th/service-ict/report/323-report-thailand-livestock/reportservey2562 (2 ตุลาคม 2562).
สมศักดิ์ รุ้งแก้ว. 2557. ศึกษาการบริหารจัดการมาตรฐานฟาร์มที่เหมาะสมของเกษตรกรสมาชิกสหกรณ์โคนมแม่ออน.ปริญญารัฐศาสนศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. 2561. ส่งเสริมการพัฒนาฟาร์มโคนมอินทรีย์และพัฒนาระบบน้ำนมดิบ.
http://pvlo-pkk.dld.go.th/webnew/index.php/th/organization-menu/planning-menu/organic-cattle-cat/473-2561 (2 ตุลาคม 2562).
Bloom, B. S. 1971. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill.
Khejornsart, P., and Wanapat, M. 2011. Effect of various chemical treated-rice straws on rumen fermentation characteristic using in vitro gas production technique. Livestock Research for Rural Development 9: 3070-3076.