การตัดสินใจในการเลือกระบบกรีดยางพาราของเกษตรกรชาวสวนยางพารา อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

Main Article Content

พรวิกา มากวิจิต
บัญชา สมบูรณ์สุข

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบกรีดและเงื่อนไขในการตัดสินใจในการเลือกระบบกรีดยางพาราของเกษตรกรชาวสวนยางพารา โดยทำการศึกษาจากครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา จำนวน 382 ครัวเรือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การกระจายความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ระบบกรีดยางพาราที่เกษตรกรเลือกใช้ในพื้นที่แบ่งเป็น 2 ระบบกรีดหลัก ระบบแรก คือ ระบบกรีดตามที่สถาบันวิจัยยางแนะนำ คิดเป็นร้อยละ 29.32 และระบบที่สองคือ ระบบกรีดที่เกิดจากเกษตรกรเป็นผู้กำหนดขึ้นเอง คิดเป็นร้อยละ 70.68 ซึ่งระบบกรีดที่เกษตรกรนิยมใช้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ ได้แก่ ระบบกรีด 1/3S 3d/4, 1/2S 3d/4, 1/2S 2d/3, 1/2S d/2, 1/3S d/1 และ 1/3S 2d/3 คิดเป็นร้อยละ 30.37, 30.10, 16.75, 7.07, 4.97 และ 2.88 ตามลำดับ เกษตรกรชาวสวนยางพาราจะเลือกใช้ระบบกรีดที่มีความถี่กรีดสูง (วัดกรีด) โดยปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกระบบกรีดที่สำคัญระดับมาก 3 อันดับแรก ได้แก่ ราคายางที่ต่ำลง ( = 4.08, SD = 0.84) รายได้จากการทำสวนยาง ( = 4.04, SD = 1.45) และอายุต้นยางที่กรีด  ( = 4.02, SD = 0.92) เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.94 เมื่อเปิดกรีดแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงระบบกรีด สาเหตุหลักที่ทำให้เกษตรกรเปลี่ยนแปลงระบบกรีด คือ ต้องการรายได้เพิ่ม การเปลี่ยนแปลงฤดูกาล และอายุยางที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 38.22, 35.34 และ 21.99 ตามลำดับ โดยการเปลี่ยนแปลงระบบกรีดของเกษตรกรจะใช้ลักษณะการเปลี่ยนแปลงความถี่ (วันกรีด) และการเปลี่ยนแปลงความยาวของหน้ากรีด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การยางแห่งประเทศไทย. 2559. การปลูกยางพารา. กรุงเทพฯ: หจก.งานพิมพ์.
กรมวิชาการเกษตร. 2552. รายงานผลการวิจัยและพัฒนาปี 2547. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
นันทิกา โพธิ์ทอง. 2553. การตัดสินใจและเงื่อนไขในการใช้ระบบกรีดยางพาราของเกษตรกรชาวสวนยางพารา อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
บัญชา สมบูรณ์สุข, สมยศ ทุ่งหว้า, กนกพร ภาชีรัตน์, ไชยยะ คงมณี และ Benedict Chambon. 2554. ใน รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ผลของการปรับปรุงระบบกรีดต่อเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรชาวสวนยางขนาดเล็ก. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ปิยากร นวลแก้ว. 2559. การกรีดยางพาราของเกษตรกร ตำบลคลองพลู อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี. วารสารสังคมศาสตร์ 5: 70-80.
ปัทมา ชนะสงคราม และพเยาว์ ร่มรื่นสุขารมย์. 2549. อาการเปลือกแห้งของต้นยาง. ใน เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรความรู้ด้าน ยางพาราแก่นักศึกษาผู้ช่วยนักวิชาการทำหน้าที่มัคคุเทศก์ โครงการพืชสวนใต้ร่วมยาง เสริมสร้างสิ่งแวดล้อม พร้อมพึ่งพาตนเอง. หน้า 101-109. โรงแรมเชียงใหม่ออคิด จังหวัดเชียงใหม่, วันที่ 17-20 ตุลาคม 2549.
มัทนา ยุสุวพันธ์ และมาโนช รุ่งกิจประเสริฐ. 2550. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกระบบกรีดของชาวสวนยางในจังหวัดสงขลา. ปัญหาพิเศษ
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
สำนักงานเกษตรอำเภอนาทวี. 2556. ข้อมูลการปลูกพืชเศรษฐกิจ ปี 2556. http://nathawi.songkhla.doae.go.th (26 กันยายน 2560).
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
Best, J. W., and Kahn, J. V. 1993. Research in education. 7th ed. New Delhi: Prentice Hall.
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publication.