พฤติกรรมการซื้อและทัศนคติต่อข้าวอินทรีย์ของข้าราชการ ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

สุกัลยา เชิญขวัญ
อรุณี พรมคำบุตร

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อข้าวอินทรีย์และทัศนคติของผู้บริโภคที่เป็นข้าราชการในหน่วยงานราชการ ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คน จาก 4 หน่วยงาน ได้แก่ 1) เทศบาลนครขอนแก่น 2) องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 3) โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน และ 4) โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และเปรียบเทียบทัศนคติต่อข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคมีลักษณะพื้นฐานต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา และรายได้ โดยใช้สถิติ t-test ผลการศึกษาสรุปได้ว่า มีเพียงประมาณร้อยละ 40 ของผู้บริโภคที่เคยซื้อข้าวอินทรีย์ ร้อยละ 85 ระบุว่า เหตุผลหลักในการซื้อข้าวอินทรีย์ เนื่องจากห่วงใยสุขภาพ โดยภาพรวมผู้บริโภคมีทัศนคติที่ดีต่อข้าวอินทรีย์ อย่างไรก็ตาม เรื่องราคาของข้าวอินทรีย์ที่อาจสูงกว่าข้าวทั่วไป การมีช่องทางจำหน่ายที่น้อย และขาดการประชาสัมพันธ์ อาจทำให้เป็นอุปสรรคในการซื้อข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภค ผลการเปรียบเทียบทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อข้าวอินทรีย์ พบว่า อายุและรายได้ของผู้บริโภคมีทัศนคติในการซื้อข้าวอินทรีย์แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการตลาดข้าวอินทรีย์ที่สำคัญก็คือ การเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์โดยเน้นเนื้อหาที่ช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้บริโภคเกี่ยวกับกระบวนการผลิตที่ทำให้ข้าวอินทรีย์มีราคาแพงกว่าข้าวทั่วไป และการเพิ่มช่องทางแหล่งจำหน่ายข้าวอินทรีย์มากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ แย้มงาม, สุกัลยา เชิญขวัญ และอรุณี พรมคำบุตร. 2563. พฤติกรรมการซื้อและทัศนคติต่อข้าวอินทรีย์ของนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. แก่นเกษตร 48(ฉบับพิเศษ): 851-858.

กมลวรรณ มั่งคั่ง, สุกัญญา สุจาคำ และสุธี อยู่ยิ้ม. 2558. พฤติกรรมการบริโภคข้าวอินทรีย์ของประชาชนในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 10(2): 12-24.

กรมการข้าว. 2560. คู่มือโครงการพัฒนาและส่งเสริมระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 60. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมการผลิตข้าว กรมการข้าว.

ธรรมากร กุลบริคุปต์. 2556. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ปราโมทย์ ยอดแก้ว. 2560. การพัฒนาการตลาดข้าวอินทรีย์ในสังคมไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร 5(พิเศษ): 406-420.

มลทิวา โสมะ. 2552. ทัศนคติของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ที่มีต่อข้าวอินทรีย์. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

รุ่งนภา จิตต์รัก. 2551. ปัจจัยพฤติกรรมการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ

สาขาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วราภรณ์ หน่อสุวรรณ. 2551. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความต้องการซื้อข้าวอินทรีย์ของจังหวัดสุรินทร์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ

ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพฯ.

ศิริชัย กาญจนวาสี. 2544. การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวขอนแก่น. 2562. ข้อมูลการผลิตข้าวอินทรีย์จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวขอนแก่น กองเมล็ดพันธุ์ข้าว

กรมการข้าว.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. “ข้าว” พืชเศรษฐกิจของไทย. http://iscd. blogspot.com/2012/03/vbehaviorurldefaultvmlo.html

(2 ตุลาคม 2558).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. สศก. จัด focus group เกษตรกร-พ่อค้าในพื้นที่ ถกแนวทางพัฒนาเกษตรอนินทรีย์.

https://rb.gy/i1d0vc (20 มิถุนายน 2563).

สำนักบริหารการค้าข้าวต่างประเทศ. 2557. สถานการณ์ข้าวอินทรีย์ไทย. http://www.dft.go.th/th-th/dft-aboutmission (2 ตุลาคม 2558).

อัญมณี เย็นเปี่ยม และสยาม อรุณศรีมรกต. 2554. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวหอมมะลิอินทรีย์ของผู้บริโภค. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. http://www.lib.ku.ac.th/KUCONF/2555/KC4910004.pdf (20 มิถุนายน 2563).