ผลการเสริมซีลีเนียมในวัสดุเพาะต่อปริมาณซีลีเนียมในเห็ดนางรมฮังการีและเห็ดนางรมเทา

Main Article Content

ธนภักษ์ อินยอด
กนกอร อัมพรายน์
ธนภัทร เติมอารมย์
ชาตรี กอนี
ปวริศ ตั้งบวรธรรมา
รสสุคนธ์ พุกนิล

บทคัดย่อ

     เห็ดนางรม (oyster mushroom, Pleurotus ostreatus) เป็นเห็ดที่นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย เพราะมี เนื้อสัมผัส รสชาติ และคุณค่าทางอาหารที่ดี มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ และอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ ซีลีเนียมเป็นธาตุที่มีความสำคัญต่อการทำงานที่เป็นปกติของร่างกายและมีส่วนช่วยในการชะลอความเสื่อมของเซลล์เมื่ออายุมากขึ้น เห็ดเป็นอาหารที่มีธาตุซีลีเนียมมากกว่าพืชชนิดอื่น ๆ แต่ปริมาณซีลีเนียมในเห็ดจะแปรผันไปตามวัสดุเพาะ ดังนั้นจึงทำการศึกษาผลของการเสริมซีลีเนียมในวัสดุเพาะต่อปริมาณซีลีเนียมในเห็ดนางรมฮังการีและเห็ดนางรมเทา โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 10 ซ้ำ ประกอบด้วยวัสดุเพาะจำนวน 4 สูตร คือ สูตรที่ 1 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา (ซึ่งเป็นวิธีเตรียมปกติที่แนะนำโดยกรมวิชาการเกษตร) สูตรที่ 2 ขี้เลื่อยไม้ยางพาราเสริมปุ๋ยอินทรีย์ซีลีเนียมความเข้มข้น 3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สูตรที่ 3 ฟางข้าวทั่วไป และสูตรที่ 4 ฟางข้าวซีลีเนียมสูง จากการทดลองพบว่าเห็ดนางรมเทาที่ได้จากการเพาะด้วยวิธีปกติ (สูตรที่ 1) และการเสริมปุ๋ยอินทรีย์ซีลีเนียม (สูตรที่ 2) ให้ขนาดของดอกและปริมาณผลผลิตเห็ดไม่แตกต่างกัน แต่มีผลทำให้มีปริมาณซีลีเนียมสะสมในดอกเห็ดเพิ่มขึ้น โดยวัสดุเพาะสูตรที่ 2 พบว่ามีปริมาณซีลีเนียมในดอกเห็ดนางรมฮังการีและเห็ดนางรมเทา 28,755 และ 26,460 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ ซึ่งเป็นปริมาณของซีลีเนียมที่สะสมอยู่ในวัตถุดิบที่เกินกว่าค่ามาตรฐาน และวัสดุเพาะฟางข้าวซีลีเนียมสูตรที่ 4 พบว่ามีปริมาณซีลีเนียมในดอกเห็ดนางรมฮังการีและเห็ดนางรมเทา 114.28 และ 189.08 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้ง เป็นปริมาณที่อยู่ในช่วงที่เหมาะสม แสดงถึงศักยภาพในการนำเศษวัสดุทางการเกษตรที่มีปริมาณซีลีเนียมสูงมาใช้ในการเพาะเห็ดนางรมอุดมซีลีเนียมเพื่อสุขภาพ และแนวทางในการผลิตเห็ดเสริมซีลีเนียมด้วยการเติมปุ๋ยซีลีเนียมเข้าไปในก้อนวัสดุเพาะ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2551. การประเมินสายพันธุ์เห็ดนางรมที่เหมาะสมกับการเพาะเห็ดในภาคใต้. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร.

กรมวิชาการเกษตร. 2558. ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเห็ด. กรุงเทพฯ: กลุ่มวิจัยและพัฒนาเห็ด สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ.

กระทรวงสาธารณสุข. 2541. สารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป. บัญชีหมายเลข 3 แนบท้ายประกาศ

กระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182). http://food.fda.moph.go.th/law/announ_moph151-200.php (29 กรกฎาคม 2563).

ดาเรศน์ กิตติโยภาส, เจนจบ สุขสด, อนุรักษ์ เรือนกล้า, ทะนง พรประดับเกียรติ และอมรภัทร ทัศนประสิทธิผล. 2547. ผลกระทบจากการเผาในที่โล่ง. วารสารเกษตรกรรมปลอดการเผา(2): 1-4.

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. 2548. สุขภาพดีเริ่มต้นด้วยการกินให้เป็น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: คลินิกสุขภาพ.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. 2563. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักโภชนาการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

AOAC. 2012. Heavy metal profile of Oreochromis niloticus harvested from e-waste polluted vials and associated fungi.

Official Method of Analysis Association of Analytical Chemists. https://www.scirp.org/(S(lz5mqp453edsnp55rrgjct55)

(15 October 2020).

Bhatia, P., Prakash, R., and Prakash, N. T. 2013. Selenium uptake by edible oyster mushrooms (Pleurotus sp.) from selenium-hyperaccumulated wheat straw. Journal of Nutritional Science and Vitaminology 59(1): 69-72.

Bhatia, P., Prakash, R., and Prakash, N. T. 2014. Enhanced antioxidant properties as a function of selenium uptake

by edible mushrooms cultivated on selenium accumulated waste post-harvest wheat and paddy residues.

International Journal of Recycling Organic Waste in Agriculture 3: 127-132.

Carina, B., Andreas, G., Sandra, K., Sebastian, B., William, M., Gil, H., and Christian, S. 2015. Selenium and its supplementation

in cardiovascular disease - what do we know. Journal of Human Nutrition 7: 3094-3118.

Da Silva, M. C. S., Naozuka, J., Da Luz, J. M. R., Assuncao, L. S., Oliveira, P. V., Vanetti, M. C. D., and Kasuya, M. C. M. 2012. Enrichment of Pleurotus ostreatus mushrooms with selenium in coffee husks. Food Chemistry 131(2): 558-563.

Eileen, B. 2006. Therapeutic nutrition: a guide to patient education. Philadelphia: Lippincott Williams and wilkins.

Institute of Medicine (US). 2000. Dietary reference intakes for vitamin C, vitamin E, selenium, and carotenoids. Washington:

National Academic Press.

Kaur, S., Singh, D., and Singh, K. 2017. Effect of selenium application on arsenic uptake in rice (Oryza sativa L.).

International Journal of Environmental Monitoring and Assessment 189(9): 430.

Mangiapane, E., Pessione, A., and Pessione, E. 2014. Seleniun and selenoproteins: an overview on different biological systems. Current Protein and Peptide Science 15(6): 598-607.

Milovanovic, L., Brceski, I., Stajic, M., Korac, A., Vukojevic, J., and Knezevic, A. 2014. Potential of Pleurotus ostreatus mycelium for selenium absorption. The Scientific World Journal (2014): 1-8.

Mleczek, M., Siwulski, M., Stuper-Szablewska, K., Rissmann, I., Sobieralski, K., and Golinski, P. 2013. Accumulation of elements by edible mushroom species: part I. Problem of trace elements toxicity in mushrooms. Journal of Environmental Science

and Health 48(1): 69-81.

Nunes, R. G., Da Luz, J. M., Freitas, B., Higuchi, A., Kasuya, M. C., and Vanetti, M. C. 2012. Selenium bioaccumulation in

shiitake mushrooms: a nutritional alternative source of this element. Journal of Food Science 77(9): 983-986.

Sherif, K. E., Rabie, M. H., Beshara, M. M., and Fawzy, A. R. 2017. Effect of dietary organic selenium and manganese supplementation on productive performance of local laying hens fed diet contained soybean oil as a source of essential fatty acids. Journal of Animal and Poultry Production 8(6): 119-128.

Subramanian, K., and Ram, K. 2011. Biochemical conversion of rice straw into bioethanol-an exploratory investigation.

Journal of Biofuels 2: 33-41.

Turlo, J., Gutkowska, B., Herold, F., Klimaszewska, M., and Suchocki, P. 2010. Optimization of the selenium-enriched mycelium of Lentinula edodes (Berk.) Pegler as a food supplement. Journal Food Biotechnology 24(2):180-196.

Werner, A. R., and Beelman, R. B. 2002. Growing high-selenium edible and medicinal button mushrooms (Agaricus bisporus

(J. Lge) Imbach) as ingredients for functional foods or dietary supplements. International Journal of Medicinal Mushrooms 4: 167-171.