ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจปลูกมะดันของเกษตรกรจังหวัดนครนายก

Main Article Content

กันตวัฒน์ ไชยวุฒิ
พัชราวดี ศรีบุญเรือง
ชลาธร จูเจริญ

บทคัดย่อ

      การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ 2) การปฏิบัติเกี่ยวกับการปลูกมะดัน 3) ระดับการตัดสินใจปลูกมะดัน 4) ความแตกต่างระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลและปัจจัยด้านเศรษฐกิจกับการตัดสินใจปลูกมะดัน และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกมะดันในจังหวัดนครนายก จำนวน 124 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด สำหรับการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test, F-test ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ยเท่ากับ 59.33 ปี  การศึกษาระดับต่ำกว่าประถมศึกษาและประถมศึกษา เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับมะดันมากที่สุดจากช่องทางสื่อบุคคล คือ พี่น้อง และสืบทอดจากบรรพบุรุษ การตัดสินใจปลูกมะดันของ เกษตรกร ด้านการเตรียมดินและอินทรียวัตถุ ด้านการเตรียมต้น และด้านการปฏิบัติบำรุงอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน การตัดสินใจปลูกมะดันของเกษตรกร พบว่า เพศ  จำนวนแรงงาน  ปริมาณผลผลิต รายได้จากการปลูก และการขายผลผลิต แหล่งเงินทุน มีผลต่อการตัดสินใจปลูกมะดันแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 0.01 ปัญหาที่พบ คือ ฝนตกไม่สม่ำเสมอ ผลผลิตล้นตลาด การแปรรูปมะดันเพื่อการส่งออก และการสนับสนุนจากภาครัฐ

Article Details

How to Cite
ไชยวุฒิ ก. ., ศรีบุญเรือง พ., & จูเจริญ ช. . (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจปลูกมะดันของเกษตรกรจังหวัดนครนายก. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 42(1), 44–51. https://doi.org/10.55003/kmaj.2024.04.29.006
บท
บทความวิจัย

References

Anekboon, N., Sriboonruang, P., & Rangsipaht, S. (2017). Opinion of Farmers toward Pak-Wanpa (Melientha suavis Pierre) Cultivation in Nongbua Sub-district, Ban Mo District, Saraburi Province. King Mongkut’s Agricultural Journal, 35(1), 125-135. (in Thai).

Department of Agricultural Extension. (2017). Madan Information Report. Retrieved from: chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/http://www.agriinfo.doae.go.th/year63/plant/rortor/fruit/madun.pdf. (in Thai).

Kompramoon, J., & Sriboonruang, P. (2020). Factors affecting the decision making of para rubber tree plantation farmers in

Khlong Sai sub-district, Tha Chang district, Surat Thani province. King Mongkut’s Agricultural Journal, 38(2), 226-234.

(in Thai).

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological

Measurement, 30(3), 607-610.

Maneewan, N., Laorpunsakulm, J., Jitjumnong, T., & Meesang, N. (2015). State of soil and land resources of Thailand.

Office of Department of Land Development. (in Thai).

Ministry of Natural Resources and Environment. (2019). Medical Plant Database. Retrieved from: http://www.qsbg.org/Database/plantdb/mdp/medicinal-specimen.asp?id=373 (in Thai).

Nakhon Nayok Provincial Agricultural and Cooperatives Office. (2021). Nakhon Nayok Development Plan. B.E.2018-2021. Retrieved from: http://ww2.nakhonnayok.go.th/frontpage (in Thai).

Niyamangkoon, S. (2013). Research Methodology and Statistics. Books 2 U Publishing. (in Thai).

Samonpan, M., Sriboonruang, P., & Rangsipaht, S. (2018). Opinion of Farmers towards Growing ‘Khao Yai’ Pomelo in Bang Sakae Sub-District, Bang Khonthi District, Samut Songkhram Province. King Mongkut’s Agricultural Journal, 36(2), 53-61.

(in Thai).

Sawangsawai, T., Sriboonruang, P., & Thongdeelert, P. (2019). Media exposure of durian farmers in Tha Mai district,

Chanthaburi province. Agricultural Science Journal, 50(2), 156-166. (in Thai).

Supapunt, P., & Awirothananon, T. (2018). Knowledge, Practices, and Marketing Channels of Vegetables with Good Agricultural PracticeStandard in Chiang Mai. Journal of Agricultural Research and Extension, 35(2), 64-76. (in Thai).