สภาพการผลิตและตลาดโคเนื้อของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดลำพูน

Main Article Content

ฐิติพร ไชยมงคล
วรินธร มณีรัตน์
มณฑิชา พุทซาคำ

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การผลิตโคเนื้อของเกษตรกร 2) ตลาดโคเนื้อในจังหวัดลำพูน และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะการผลิตโคเนื้อในจังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อจำนวน 21 ตัวขึ้นไปในจังหวัดลำพูน จำนวน 210 ราย เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ และผู้เกี่ยวข้องในการผลิตโคเนื้อในจังหวัดลำพูน จำนวน 13 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 93.33 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 42±34.58 ปี เกษตรกรร้อยละ 43.81 มีระดับการศึกษาประถมศึกษาและมีประสบการณ์เลี้ยงโคเนื้อเฉลี่ย 35±26.15 ปี การผลิตโคเนื้อในจังหวัดลำพูนมี 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบอิสระร้อยละ 95.24  และแบบสมาชิกวิสาหกิจชุมชนร้อยละ 4.76 โดยเกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อประเภทพ่อแม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกโคจำหน่าย เลี้ยงโคขุนทั่วไป เลี้ยงโคมัน และเลี้ยงโคขุนคุณภาพ ร้อยละ 50.71, 31.44, 13.31 และ 4.54 ตามลำดับ 2) ตลาดโคเนื้อในจังหวัดลำพูนประกอบด้วย ตลาดโคเนื้อมีชีวิตและตลาดเนื้อโค ตลาดโคเนื้อมีชีวิต ได้แก่ การซื้อขายหน้าฟาร์ม ตลาดนัดโคกระบือ และตลาดโคเนื้อขุน ขณะที่ตลาดเนื้อโค ได้แก่ ตลาดสดในพื้นที่ และ 3) ปัญหาการผลิตโคเนื้อ ได้แก่ ด้านพันธุ์โค อาหาร และการจัดการฟาร์ม โดยมีข้อเสนอแนะ คือ เกษตรกรควรรวมกลุ่มเพื่อผลิตโคเนื้อขุนคุณภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้คำแนะนำและช่วยเหลือด้านการผลิตโคเนื้อขุนคุณภาพในระดับฟาร์ม โรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน และแหล่งจำหน่ายเนื้อโค

Article Details

How to Cite
ไชยมงคล ฐ. ., มณีรัตน์ ว., & พุทซาคำ ม. . (2024). สภาพการผลิตและตลาดโคเนื้อของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดลำพูน. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 42(1), 31–37. https://doi.org/10.55003/kmaj.2024.04.29.004
บท
บทความวิจัย

References

Akarak, P., & Kasorn, K. (2017). Investment risk and problems of beef cattle farmers, mae khao tom subdistrict,

mueang district, chiang rai province. The Journal of Accounting Review Chiang Rai Rajabhat University, 2(1), 63-74. (in Thai).

Duangsingtham, S., Panuphan, P., Sreshthaputra, S., Suebpongsung, P., & Rattanachai, A. (2020). Guideline to

attitude changing towards beef cattle raising of farmers in mae chaem district, chiang mai province. Khon Kaen Agriculture Journal, 48(1), 393-400. (in Thai).

Information and communication technology center. (2020). Data of Livestock Population in Thailand.

Retrieved from: https://ict.dld.go.th/webnew/index.php/th/service-ict/report/340-report-thailand livestock/ reportservey2563 (in Thai).

Mukthang, K., Tartrakoon, W., Incheon, T., Chueaphudi, C., Hantai, P., Tongyoy, T., Luangjino, N., Chomdang, S., Kassanuk, T., Phasinam, K., & Laorodphan N. (2021). Fattening beef production costs and returns of farmers in Sukhothai province. Khon Kaen Agriculture Journal, 49 (1), 191-197. (in Thai).

Noipang, T., & Ruangchoengchum, P. (2015). The supply chain of native beef cattle for commercial production

in sisaket province. In Proceeding of the National and International Conference on Business Management and Innovation, pp. 951-957. College of Graduate Study in Management, Khon Kaen University. (in Thai).

Office of regional livestock 5. (2020). Strategy of Beef Cattle in Upper Northern Region of Thailand 2017-2021.

Retrieved from: http://region5.dld.go.th/webnew/images/stories/2563/yut/yutbeefcattle.pdf (in Thai).

Pakeechay, K., Wattanachant, C., & Angkulasearanee, T. (2014). Marketing channels of beef cattle in the lower

southern region of thailand. Kasetsart Journal of Social Sciences, 35(2), 312–325. (in Thai).

Saengwong, S., Thannithi, W., Wichaporn, J., & Intawicha, P. (2020). Producing quality beef from cattle in phrae

province: an assessment of the conditions, problems, and opportunities. King Mongkut’s Agricultural Journal, 38(2), 254-262. (in Thai).

Sonsiri, K., Intawicha, P., Seangwong, S., Phumsaranakhom, P., & Dongpaleethun, C. (2020). Raising condition and

SWOT analysis for a premium grade beef production in phayao and phrae province. Khon Kaen Agriculture Journal, 48 (1), 93-104. (in Thai).

Srisa-ard, B. (2002). Introduction of Research. 7th ed. Suviriyasarn Publishing. (in Thai).

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. Harper & Row.