การแจกแจงค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ก่อนสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก

ผู้แต่ง

  • บุญฤทธิ์ ชูประดิษฐ์ ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ภาสกร ธรรมโชติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นนทิภัค เพียรโรจน์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  • ศานิต ดวงสวัสดิ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

การแจกแจง, การประมาณค่า, ค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว, กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย, การระบาดของโควิด-19

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลค่าใช้จ่ายต่อหัว ของนักท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย 2) หาการแจกแจงที่เหมาะสมของข้อมูล ค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย 3) ประมาณค่าพารามิเตอร์ สำหรับการแจกแจงที่เหมาะสมของข้อมูลค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ฝั่งอ่าวไทย และ 4) ศึกษาค่าคาดหมายจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติแยกตาม ค่าใช้จ่ายต่อหัว ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ที่เก็บตัวอย่างมาจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ฝั่งอ่าวไทย

     ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าใช้จ่ายต่อหัวเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ฝั่งอ่าวไทยชาวไทยและชาวต่างชาติเท่ากับ 14.34 ร้อยบาท/คน/วัน และ 38.53 ร้อยบาท/คน/วัน ตามลำดับ โดยมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 13.27 ร้อยบาท/คน/วัน และ 43.63 ร้อยบาท/ คน/วัน ตามลำดับ 2) การแจกแจงล็อกนอร์มัลเป็นการแจกแจงที่เหมาะสมสำหรับข้อมูลค่าใช้จ่าย ต่อหัวของนักท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย 3) การประมาณค่าพารามิเตอร์ของ การแจกแจงล็อกนอร์มัลสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย เป็นดังนี้ = 2.3615602 และ = 0.7846651 และการประมาณค่าพารามิเตอร์ของการแจกแจงล็อกนอร์มัลสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เป็นดังนี้ = 3.2793602 และ = 0.8320009 และ 4) ค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติมีสัดส่วนที่สูงกว่านักท่องเที่ยวชาวไทยในทุกเหตุการณ์ที่ทำการศึกษา

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2560 (Tourism Statistics 2017). สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2564, จากhttps://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411

กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย. (2560). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.osmaothai.com/detail.php

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564, จาก https://secretary.mots.go.th/strategy

ฐานเศรษฐกิจ. (2564). เปิดโรดแม็ปเกาะเต่า-สมุย-พะงัน รับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 15 ก.ค.นี้. [ข่าว]. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2564, จาก https://www.thansettakij.com/content/business/485267

Aguiló, E., Rosselló, J., & Vila, M. (2017). Length of stay and daily tourist expenditure: A joint analysis. Tourism Management Perspectives, 21, 10-17.

Chen, T. S., Hwang, M. S., & Chang, Y. J. (2021). The effect of wealth effect and population aging on tourism expenditure. Current Issues in Tourism, AHEAD-OF-PRINT, 1-14.

Ferrer-Rosell, B., Coenders, G., & Martínez-Garcia E. (2015). Determinants in Tourist Expenditure Composition — The Role of Airline Types. Tourism Economics, 21(1), 9-32.

Gómez-Déniz E, Pérez-Rodríguez JV & Boza-Chirino J. (2020). Modelling tourist expenditure at origin and destination. Tourism Economics, 26(3), 437-460.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (Vol. 6). Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Malhotra, N. K. (2015). Essentials of marketing research: A hands-on orientation. New Jersey: Pearson Education.

Revindo, M. D., Widyasanti, A. A., Siregar, C. H., & Hambali, S. (2021). Factors explaining the expenditure of sports event participants and spectators: Evidence from the 2018 Asian Games. Journal of Sport & Tourism, 25(2), 105-127.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-10-2021