การเปลี่ยนแปลงปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลิน ในระยะออกดอกของกล้วยไม้ช้างกระ

Main Article Content

มิ่งขวัญ เจียวัฒนะ
ดรุณี นาพรหม
ณัฐา โพธาภรณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลินในระยะการออกดอกของกล้วยไม้ช้างกระ โดยวิธีการตรวจวัดปริมาณจิบเบอเรลลินโดยชีววิธี วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) มี 2 กรรมวิธี คือ ปลูกเลี้ยงภายใต้สภาพธรรมชาติและสภาพวันสั้น (ความมืด 14 ชั่วโมง) โดยใช้ขนาดของต้น 3 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ทำการทดลองระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2554 พบว่า สภาพวันสั้นชักนำให้กล้วยไม้ช้าง-กระเกิดตาดอกและการพัฒนาของตาดอกได้เร็วกว่าสภาพธรรมชาติเป็นเวลา 20 วัน อีกทั้งสภาพวันสั้นทำให้กล้วยไม้ช้าง-กระมีอายุการบานดอกมากกว่าสภาพธรรมชาติ 18 วัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้สภาพวันสั้นทำให้ปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลินในส่วนใบกล้วยไม้ช้างกระเพิ่มปริมาณขึ้นในช่วง 75 และ 95 วันหลังทำการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลินในส่วนยอดกล้วยไม้ช้างกระของทั้งสองกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัณนิกา บรรยาย โสระยา ร่วมรังษี และ ณัฐา โพธาภรณ์ 2553. ผลของความยาววันและกรดจิบเบอเรล ลิกต่อปริมาณธาตุอาหารและการออกดอกนอกฤดูของกล้วยไม้ช้างกระ. วารสารเกษตร 26(1): 43-50.

ครรชิต ธรรมศิริ. 2547. เทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 283 หน้า.

ดนัย บุณยเกียรติ. 2544. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 230 หน้า.

ดรุณี นาพรหม และ กนกวรรณ ศรีงาม. 2552. เทคนิคการวิเคราะห์ปริมาณฮอร์โมนพืช. คู่มือปฏิบัติการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 29 หน้า.

ณัฐา ควรประเสริฐ. 2548. กล้วยไม้วิทยา I. เอกสารคำสอนวิชา 359405. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 215 หน้า.

ณัฐดนัย ต๊ะลี. 2551. ผลของสภาพวันสั้นและกรดจิบเบอเรลลิก (GA3) ต่อการออกดอกนอกฤดูของกล้วยไม้ช้างกระ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 105 หน้า.

วิทยา ทีโสดา. 2547. ผลของความยาววันและอุณหภูมิกลางคืนที่มีผลต่อการเกิดดอกของกล้วยไม้ช้าง. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่. 27 หน้า.

โสระยา ร่วมรังษี. 2547. เอกสารประกอบคำสอนวิชาสรีรวิทยาไม้ดอกไม้ประดับ. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 127 หน้า.

Chailakhyan, M. K. H. 1968. Internal factors of plant flowering. Annual Reviews of Plant Physiology 19: 1-37.

Choy, S. H. and J. W. H. Yong. 2004. The Physiology of Tropical Orchids in Relation to the Industry. 2nd ed. World Scientific Publishing Co. Pte. Ltd., Singapore. 370 p.

Davies, P. J. 2004. Plant Hormones: Biosynthesis, Signal Transduction, Action. 3rd ed. Kluwer Academic Publishers, Dordrecht, The Netherlands. 750 p.

Durley, R. C., R. P. Pharis and J. A. D. Zeevaart. 1975. Metabolism of [3H] gibberellin A20 by plants of Bryophyllum daigremontianum under long- and short-day conditions. Planta 126: 139-149.

Goh, C. J. 1977. Regulation of floral initiation and development in an orchid hybrid Aranda Deborah. Annals of Botany 41: 763-769.

Moore, T. C. 1981. Research Experiences in Plant Physiology: a Laboratory Manual. 2nd ed. Springer-Verlag. Heidelberg, New York. 348 p.

Phengphachanh, B., D. Naphrom, W. Bundithya and N. Potapohn. 2012. Effects of day length and gibberellic acid on endogenous hormone levels in flowering of Rhynchostylis gigantea (Lindl.) Ridl. Journal of Agricultural Science 4(4): 217-222.

Phengphachanh, B., D. Naphrom, W. Bundithya and N. Potapohn. 2013. Differential gene expression during flower bud initiation and flower bud development of Rhynchostylis gigantea (Lindl.) Ridl. Journal of Agricultural Technology 9(5): 1285-1295.

Su, W. R., W. S. Chen, M. Koshioka, L. N. Mander, L. S. Hung, W. H. Chen, Y. M. Fu and K. L. huang. 2001. Changes in gibberellins levels in the flowering shoot of Phalaenopsis hybrida under high temperature conditions when flower development is blocked. Journal of Plant Physiology and Biochemistry 39: 45-50.

Wilkins, M. B. 1969. The Physiology of Plant Growth and Development. McGraw-Hill Publishing Co. Ltd., England. 695 p.