ผลของเมพิควอทคลอไรด์ คลอร์มีควอทคลอไรด์ และพาโคลบิวทราโซลต่อการออกดอกของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง

Main Article Content

มะลิวรรณ นาสี
นุดี เจริญกิจ
พิทยา สรวมศิริ
ดรุณี นาพรหม

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของเมพิควอทคลอไรด์ คลอร์มีควอทคลอไรด์ และพาโคลบิวทราโซลต่อการออกดอกของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม 2555 ถึง เดือนมีนาคม 2556 ณ แปลงเกษตรกร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) โดยกำหนดให้ 10 ต้นเป็น 1 บล็อค รวมทั้งหมด 3 บล็อค จำนวน 5 กรรมวิธี ดังนี้ 1) ควบคุม 2) ราดทางดินด้วยพาโคลบิวทราโซลอัตรา 1 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อตารางเมตรของพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม 3) พ่นทางใบด้วยเมพิควอทคลอไรด์ 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตร 4) พ่นทางใบด้วยคลอร์มีควอทคลอไรด์ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 5) พ่นทางใบด้วยเมพิควอทคลอไรด์ 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตรผสมกับคลอร์มีควอทคลอไรด์ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า การใช้สารชะลอการเจริญเติบโตของพืชในทุกกรรมวิธี สามารถชักนำการออกดอกได้เร็วกว่ากรรมวิธีควบคุมเฉลี่ย 87-92 วัน หลังทำการทดลอง โดยการราดทางดินด้วยพาโคลบิวทราโซลอัตรา 1 กรัมของสารออกฤทธิ์ต่อตารางเมตรของพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม มีผลทำให้มะม่วงออกดอกมากที่สุดถึง 96.16 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ การพ่นทางใบด้วยเมพิควอทคลอไรด์ 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตร คลอร์มีควอทคลอไรด์ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร และเมพิควอทคลอไรด์ 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ผสมกับคลอร์มีควอทคลอไรด์ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร มีเปอร์เซ็นต์การออกดอก 65.46-82.13 เปอร์เซ็นต์ โดยในทุกกรรมวิธีมีช่อดอกล้วนเฉลี่ย 67.11-77.54 เปอร์เซ็นต์ และช่อดอกปนใบ 22.46-32.89 เปอร์เซ็นต์ และการราดทางดินด้วยพาโคลบิวทราโซล 1 กรัมของสารออกฤทธิ์ต่อตารางเมตรของพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม การพ่นทางใบด้วยเมพิควอทคลอไรด์ 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ผสมกับคลอร์มีควอทคลอไรด์ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร และคลอร์มีควอทคลอไรด์ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร มากกว่าการพ่นทางใบด้วยเมพิควอทคลอไรด์ 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่การพ่นทางใบทุกกรรมวิธีมีผลทำให้ต้นมะม่วงมีเปอร์เซ็นต์การติดผลเฉลี่ย มากกว่าการราดทางดินด้วยพาโคลบิวทราโซล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริญญา ปัญญาแก้ว และ ดรุณี นาพรหม. 2553. ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อการออกดอกนอกฤดู และคุณภาพผลของส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง. วารสารเกษตร 26(ฉบับพิเศษ): 117-125.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์. 2553. การผลิตมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออก หน้า 3. มะม่วงนอกฤดู หน้า 65-66. ใน: งานประชาสัมพันธ์และบริการวิชาการ คณะเกษตรศาสตร์ (บก.). พัฒนามะม่วงไทยก้าวไกลสู่มะม่วงโลก. วนิดาการพิมพ์, เชียงใหม่.
ธันยวีร์ ซาวคำเขตร์. 2553. ผลของสารชะลอการเจริญเติบโตต่อสารชีวเคมีและการออกดอกของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 63 หน้า.
นริสรา ดอกสันเทียะ. 2551. ผลของพาโคลบิวทราโซลต่อการพัฒนาของตาดอกและการเปลี่ยนแปลงไอเอเอและเอทิลีนในยอดและใบของมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 56 หน้า.
ปรารถนา จันทร์ทา พัชราพรรณ คงเพชรศักดิ์ และ สุกานดา ดอกสันเทียะ. มปป. ฮอร์โมนพืช (Plant Hormone). โครงการส่งเสริมการผลิตเอกสารชุดการเรียนที่เป็นการสรุปเนื้อหาในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ, กรุงเทพฯ. 82 หน้า.
พิทยา สรวมศิริ พาวิน มะโนชัย กนกวรรณ ศรีงาม และ ติณณา เจริญกิจ. 2553. โครงการสรีรวิทยาของไม้ผลและการพัฒนาต้นแบบการผลิตผลไม้นอกฤดูบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้เงื่อนไขการปลูกระยะชิด: กรณีศึกษาลำไย ลิ้นจี่ และมะม่วง. รายงานฉบับสมบูรณ์. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 192 หน้า.
พีรเดช ทองอำไพ. 2542. งานวิจัยมะม่วงนอกฤดูในประเทศไทย. เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องฮอร์โมนพืชเพื่อการผลิตไม้ผลนอกฤดูกาล. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ คณะกรรมการประสานงานวิจัย และพัฒนาสารเคมีเกษตร, จันทบุรี. หน้า 121-141.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2556. สถิติการส่งออก (Export) มะม่วง (รวม) ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรายเดือน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/oae_report/export_import/export_result_printout.php?value=591x2554x2556 (5 พฤษภาคม 2557).
โสภา หมวกไสว. 2555. ผลของเมพิควอทคลอไรด์ คลอมิควอทคลอไรด์ และพาโคลบิวทราโซลต่อการออกดอกของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ที่ปลูกบนพื้นที่สูง. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี สาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 32 หน้า.
Chutichudet, B., P. Chutichudat, K. Boontiang and T. Chanaboon. 2006. Effect of chemical paclobutrazol fruit development, quality and fruit yield of Kaew mango (Mangifera indica L.) in northeast Thailand. Pakistan Journal of Biological Science. 9: 717-722.
Codex Alimentarius-Pesticide residues in food. 1993. Joint FAO/WHO food standards programme, second ed. F. A. O., Rome, p. 144.
Feng, S. and J. D. Wang. 2011. Determination of Chlorocholine Chloride and Mepiquat Chloride in Soil and Water Using SPE/UPLC-MS/MS Technique. Journal of Instrumental Analysis 30(4): 439-443.
Guo, X., Y. Xu, F. Zhang, S. Yu, L. Han and S. Jiang. 2010. Chlormequat residues and dissipation rates in cotton crops and soil. Ecotoxicology and Environmental Safety 73: 642-646.
Hampton, J. G. 1988. Effect of growth retardant soil residues on succeeding agricultural crops. Journal of Experimental Agriculture 16: 167-172.
Jacyna, T. and K. G. Dodds. 1995. Some effects of soil applied paclobutrazol on performance of ‘Sundrop’ apricot (Prunus armeniaca L.) trees and on residue in the soil. New Zealand Journal of Horticultural Science 23(3): 323-329.
Jacyna, T. and K. G. Dodds.1999. Effect of method of application of paclobutrazol in high density sweet cherry orchards on tree performance and apparent soil residue. Journal of Horticultural Science and Biotechnology 74 (2): 213-214.
Lalit, M. S. 2002. Plant Growth and Development Hormones and Environment. Academic Press, California. 772 p.
Olsen, W. W. and A. S. Andersen. 1995. The influence of five growth retardants on growth and postproduction qualities of Osteospermum ecklonis cv. “Calyso”. Scientia Horticulturae 62: 263-270.
Rademacher, W. 2000. Effects on gibberellin biosynthesis and other metabolic pathway. BASF Agricultural, Germany 51: 501-514.
Sharma, D. and M. D. Awasthi. 2005. Uptake of soil paclobutrazol in mango (Mangifera indica L.) and its persistence in fruit and soil. Chemosphere 60: 164-169.
Silva, C. M., M. S. Vieira and R. F. Nicolella, G. 2003. Paclobutrazol effects on soil microorganisms. Applied Soil Ecology 22(1): 79-86.
Xu, R., X. Liu, H. Cui and X. H Li. 2009. Study on the residues change of chlormequat and mepiquat chloride in the tomato plant process. (online). Available: http://en.cnki.com.cn/Article_en/CJFDTOTAL-FJFC200902007.htm (5 May 2014)
Yeshitela, T. B. 2004. Effects of various inductive periods and chemicals on flowering and vegetative growth of Tommy Atkins and Keitt mango cultivars. New Zealand Journal of Crop and Horticultural Science 32: 209-215.
Zhang, H., F. Li, X. Li, Xu. Li and W. Yao. 2012. Determination of chlormequat and mepiquat residues in tomato plants using accelerated solvent extraction-ultra-performance liquid chromatography-tandem Mass Spectrometry. Advances in Natural Science 5(2): 34-40.