สมบัติและผลของการต้านเชื้อราของฟิล์มไคโตซานผสม น้ำมันหอมระเหยจากส้มต่ออายุการเก็บรักษาเค้กเนยกลิ่นส้ม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาสมบัติของฟิล์มไคโตซานผสมน้ำมันหอมระเหยจากส้ม 2 ระดับความเข้มข้น คือ 0.7 และ 1.4 เปอร์เซ็นต์ (v/v) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับฟิล์มไคโตซานที่ไม่ได้ผสมน้ำมันหอมระเหยจากส้ม พบว่าฟิล์มไคโตซานผสมน้ำมันหอมระเหยจากส้ม 1.4 เปอร์เซ็นต์ มีความยืดหยุ่นมากขึ้นแต่ความแข็งแรงและอัตราการซึมผ่านของน้ำลดลงเป้าหมายของการศึกษานี้คือการใช้ น้ำมันหอมระเหยจากส้มเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาเค้กเนยรสส้มโดยศึกษาผลของการยับยั้งการเกิดเชื้อราบนเค้กเมื่อเปรียบเทียบการห่อเค้กเนยรสส้มด้วยฟิล์มไคโตซานที่ไม่ได้ผสมน้ำมันหอมระเหยจากส้มกับฟิล์มไคโตซานที่ผสมน้ำมันหอมระเหยจากส้ม 0.7 และ 1.4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเค้กทั้งหมดถูกเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 10 วัน พบว่าเค้กที่ห่อด้วยฟิล์มผสมน้ำมันหอมระเหยจากส้ม 1.4 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อสัมผัสดีที่สุดและมีการสูญเสียน้ำหนักน้อยที่สุด จากการสังเกตการณ์ปรากฏของเชื้อราบนผิวเค้กทุกวัน พบว่า เค้กที่ห่อด้วยฟิล์มยืด ฟิล์มไคโตซาน ฟิล์มไคโตซานผสมน้ำมันหอมระเหยจากส้มที่ระดับความเข้มข้น 0.7 และ 1.4 เปอร์เซ็นต์ มีอายุการเก็บรักษา 2, 4, 7 และมากกว่า 10 วันตามลำดับ ฟิล์มไคโตซานผสมน้ำมันหอมระเหยจากส้มที่ระดับความเข้มข้น 1.4 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้ดีที่สุด สรุปได้ว่าน้ำมันหอมระเหยจากส้มทำให้ฟิล์มมีคุณสมบัติที่ดีขึ้นสามารถยืดอายุการเก็บรักษาเค้กส้มได้ยาวนานขึ้น และให้ผลทางประสาทสัมผัสเป็นที่ยอมรับ
Article Details
References
Callegarin, F., J. A. Quezada-Gallo, F. Debeaufort and A. Voilley. 1997. Lipids and biopackaging. Journal of the American Oil Chemists’ Society 74: 1183-1192.
Gutiérrez, L., C. Sánchez, R. Batlle and C. Nerín. 2009. New antimicrobial active package for bakery products. Trends in Food Science and Technology 20(2): 92-99.
Han, J. H. 2000. Antimicrobial food packaging. Food Technology 54(3): 56-65.
Lee, D. S., Y. I. Hwang and S. H. Cho. 1998. Developing antimicrobial packaging film for curled lettuce and soybean sprouts. Food Science and Biotechnology 7: 117-121.
Papadokostaki, K. G., S. G. Amarantos and J. H. Petropoulos. 1997. Kinetics of release of particulate solutes incorporated in cellulosic polymer matrices as a function of solute solubility and polymer swelling. I. Sparingly soluble solutes. Journal of Applied Polymer Science 67: 277-287.
Pranoto, Y., S. K. Rakshitand V. M. Salokhe. 2005. Enhancing antimicrobial activity of chitosan films by incorporating garlic oil, potassium sorbate and nisin. LWT-Food Science and Technology 38: 859-865.
Redl, A., N. Gontard and S. Guilbert. 1996. Determination of sorbic acid diffusivity in edible wheat gluten and lipid based film. Journal of Food Science 61: 116-120.
Sangsuwan, J., N. Rattanapanone and P. Rachtanapun. 2008. Effect of chitosan/methyl cellulose films on microbial and quality characteristics of fresh-cut cantaloupe and pineapple. Postharvest Biology and Technology 49: 403-410.
Sánchez-González, L., M. Cháfer, A. Chiralt and C. González-Martínez. 2010. Physical properties of edible chitosan films containing bergamot essential oil andtheir inhibitory action on Penicilliumitalicum. Carbohydrate Polymer 82: 277-283.
Suppakul, P., J. Miltz, K. Sonneveld and S. W. Bigger. 2003. Active packaging technologies with an emphasis on antimicrobial packaging and its applications. Journal of Food Science 68(2): 408-420.
Vazquez, B., J. San Roma, C. Peniche and M. E. Cohen. 1997. Polymeric hydrophilic hydrogels with flexible hydrophobic chains: control of the hydration and interactions with water molecules. Macromolecules 30: 8440-8446.
Viuda-Martos, M., Y. Ruiz-Navajas, J. Fernández-López and J. Pérez-Álvarez. 2008. Antifungal activity of lemon (Citrus lemon L.), mandarin (Citrus reticulatan L.), grapefruit (Citrus paradise L.) and orange (Citrus sinensis L.) essential oils. Food control 19(12): 1130-1138.
Zivanovic, S., S. Chi and A.F. Draughon.2005. Antimicrobial activity of chitosan films enriched with essential oils. Journal of Food Science 70(1): M45-M51