ผลของอุณหภูมิอากาศและสภาพดินต่อวงจรชีวิตกล้วยไม้ดินนางกราย (<I>Habenaria lindleyana</I> Steud.)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของอุณหภูมิอากาศและสภาพดินต่อวงจรชีวิตของกล้วยไม้ดินนางกราย (Habenaria lindleyana Steud.) ที่พบในป่าเต็งรัง บริเวณศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 พบว่า อุณหภูมิดินและอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยในฤดูร้อนอยู่ที่ 34.0 ±3.3 และ 34.1 ±3.2 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกับอุณหภูมิดินและอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยในฤดูฝนที่ 29.4 ±2.2 และ 29.5 ±2.2 องศาเซลเซียส และฤดูหนาว 30.0 ±3.5 และ 30.4 ±2.9 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ส่วนค่าความชื้นในดินเฉลี่ยในฤดูร้อนฤดูฝน และฤดูหนาวเป็น 58.5 ±14.1, 77.4 ±8.8 และ 52.7 ±13.4 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่ค่าความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในดิน และความเข้มข้นของฟอสฟอรัสที่สามารถเป็นประโยชน์ได้ของดินในแต่ละฤดูกาลมีค่าที่ใกล้เคียงกัน ยกเว้นความเข้มข้นของโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ในดินในฤดูร้อนอยู่ที่ 544.11 ±125.12 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งมีค่าสูงกว่าในฤดูฝน 201.11 ±124.13 และฤดูหนาว 165.78 ±470.39 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ การศึกษาวงจรชีวิตของกล้วยไม้ดินนางกรายในช่วงเวลา 1 ปี พบว่า กล้วยไม้ดินชนิดนี้มีการพักตัวในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคมหลังจากผ่านการพักตัวแล้วจึงเริ่มมีการเจริญเติบโตโดยแทงส่วนของใบออกมาในช่วงปลายเดือนมีนาคม จากนั้นช่วงเดือนมิถุนายนมีการสร้างหัวใหม่ เริ่มแทงช่อดอกในเดือนกรกฎาคมและดอกบานในเดือนกันยายน ส่วนที่อยู่เหนือดินเริ่มแห้งและเข้าสู่ระยะพักตัวในเดือนตุลาคม
Article Details
References
ครรชิต ธรรมศิริ. 2550. เทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 283 หน้า.
จักรพงศ์ จันทวงศ์ ณัฐา โพธาภรณ์ และ อรวรรณ ฉัตรสีรุ้ง. 2553. ผลของฤดูกาลต่อความหลากหลายของราเอนโดไฟท์ในรากกล้วยไม้สกุลว่านจูงนาง.วารสารเกษตร 26(1): 35-42.
จารุวรรณ สุขเกษม. 2550. การศึกษาลักษณะและการเจริญเติบโตของกล้วยไม้เอื้องน้ำต้น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 89 หน้า.
ฉันทนา สุวรรณธาดา รณรงค์ อินทุภูติ และ สันติ สายสุวรรณ์. 2553. หัวของกล้วยไม้ดิน. วารสารสมาคม ส่งเสริมการวิจัย 1(1): 48-54.
ณัฐา ควรประเสริฐ. 2548. กล้วยไม้วิทยา I. เอกสารคำสอนวิชา 359405. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 53 หน้า.
เนาวรัตน์ ศิวศิลป. 2547. คู่มือการปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน พืช และปุ๋ย. ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 136 หน้า.
วัชราภรณ์ ชนะเดช. 2550. ลักษณะและการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ดินบางชนิด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 178 หน้า.
ศลิษา รุจิวาณิชย์กุล. 2549. การศึกษาลักษณะของกล้วยไม้ว่านจูงนางที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 119 หน้า.
สลิล สิทธิสัจจธรรม. 2550. กล้วยไม้ป่าเมืองไทย. สำนักพิมพ์บ้านและสวน, กรุงเทพฯ. 491 หน้า.
อบฉันท์ ไทยทอง. 2549. กล้วยไม้เมืองไทย. สำนักพิมพ์บ้านและสวน, กรุงเทพฯ. 461 หน้า.
อังคณา อินตา. 2546. ความหลากหลายของพรรณพืชบริเวณพื้นที่ศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในจังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 317 หน้า.
Helmke, P. A. and L. Sparks. 1996. Lithium, sodium, potassium, rubidium and cesium, pp. 551-574. In: D. L. Sparks, A. L. Page, P. A. Helmke, R. H. Loeppert, P. N. Soltanpour, M. A. Tabatabai, C. T. Johnston and M. E. Summer. SSSA. Book Series: 5 Method of Soil Analysis Part 3 Chemical Method. SSSA. U.S.A.
Houba, V. J. G., J. J. Van Der Lee, I. Novozamsky and J. Wallinga. 1988. Determination of Phosphorus. Department of Soil Science and Plant Nutrition, Wageningen Agricultural University. Wageningen. pp. 1-10.
Nelson, D. W. and L. E. Sommers. 1996. Total carbon, organic carbon and organic matter, pp. 961-1010. In: D. L. Sparks, A.L. Page, P. A. Helmke, R. H. Loeppert, P. N. Soltanpour, M. A. Tabatabai, C. T. Johnston and M. E. Summer.SSSA. Book Series: 5 Method of Soil Analysis Part 3 Chemical Method. SSSA. U.S.A.
Novozamsky, I., V. J. G. Houba, R. Van Eck and W. Van Verk. 1983. A novel digestion technique for multi-element plant analysis. Communications in Soil Science and Plant Analysis 14: 239-248.