ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงบางชนิดต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย

Main Article Content

วีรยุทธ สร้อยนาค
วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ
ไสว บูรณพานิชพันธุ์
สมชาย ธนสินชยกุล

บทคัดย่อ

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens (Stål)) เป็นแมลงศัตรูข้าวที่มีความสำคัญที่สุดในเอเซีย สถานการณ์การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีการเปลี่ยนแปลงและทวีความรุนแรงทุกปี เป็นผลจากความสามารถในการต้านทานต่อสารฆ่าแมลงของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และความแปรปรวนของสภาพแวดล้อม ทำให้การประเมินประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงที่นิยมใช้ในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่มีจำหน่ายในท้องตลาดเป็นสิ่งที่ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงข้อมูลให้ทันต่อสถานการณ์ ดังนั้นจึงได้ดำเนินการศึกษาประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงที่นิยมใช้เพื่อควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยจำนวน 8 ชนิด ประกอบด้วย คลอร์ไพริฟอส คาร์โบซัลแฟน คาร์โบฟูราน ฟิโปรนิล อิทิโพรล์ อะบาเม็กติน ไซเพอร์เมทริน และบูโพรเฟซิน กับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากพื้นที่นาชลประทานในจังหวัดตาก นครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร และพิจิตรขึ้น ด้วยแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 5 ซ้ำ พบว่าประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงทั้ง 8 ชนิด มีความแตกต่างไปตามชนิดของสารฆ่าแมลง และกลุ่มประชากรของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในทุกพื้นที่ของภาคเหนือตอนล่าง และมีความปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม คือ คาร์โบซัลแฟน และบูโพรเฟซิน ขณะที่ สารฟิโปรนิล และอิทิโพรล์ มีประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากจังหวัดตาก นครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ และพิจิตร ด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มกีฏและสัตววิทยา. 2553. คำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์ศัตรูพืชปี 2553. เอกสารวิชาการ. กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 303 หน้า.

เจตน์ คชฤกษ์ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ สุรเดช ปาละวิสุทธิ์ และ ศิริพร กออินทร์ศักดิ์. 2552. การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวปรับปรุง ราตูฮีเนติก/ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ชัยนาท 1 รุ่น BC4F1 ที่มียีนต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแบบ Bph3 โดยเทคนิคการคัดเลือด้วยดีเอ็นเอเครื่องหมาย. วารสารเกษตร 25(2): 135-143.

พุฒิพงษ์ เพ็งฤกษ์ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ ไสว บูรณพานิชพันธุ์ จิราพร กุลสาริน สุรเดช ปาละวิสุทธิ์ และเจตน์ คชฤกษ์. 2555. ปฏิกิริยาของข้าวลูกผสมกลับ BC4F3-4 ระหว่าง อาบาญ่า/ขาวดอกมะลิ 105 กับชัยนาท 1 ต่อประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. วารสารเกษตร 28(2): 113-123.

พุฒิพงษ์ เพ็งฤกษ์ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ ไสว บูรณพานิชพันธุ์ จิราพร ตยุติวุฒิกุล เจตน์ คชฤกษ์ สุรเดช ปาละวิสุทธิ์ และภมร ปัตตาวะตัง. 2554. ความหลากหลายทางชีวชนิดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารเกษตร 27(1): 27-37.

ปรีชา วังศิลาบัตร. 2542. การระบาดเพิ่ม (resurgence) ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลหลังการใช้สารฆ่าแมลง. วารสารกีฏและสัตววิทยา 21(4): 266-275.

วนิช ยาคล้าย ปรีชา วังศิลาบัตร สุวัฒน์ รวยอารีย์ เฉลิม สินธุเสก และ เฉลิมวงค์ ถิระวัฒน์. 2540. การสำรวจการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูข้าว. หน้า 241-249. ใน: เอกสารวิชาการ การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน. กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

วันทนา ศรีรัตนศักดิ์ สุกัญญา อรัญมิตร และ จินตนา ไชยวงค์. 2554. สถานการณ์การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในประเทศไทย. วารสารวิชาการข้าว 5(1): 79-89.

วันทนา ศรีรัตนศักดิ์. 2553. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล: ศัตรูข้าวตัวฉกาจของการปลูกข้าวนาชลประทานและมิติใหม่ของการจัดการ. วารสารวิชาการข้าว 4(1): 72-82.

วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ วิภา หอมหวน สิริรัตน์ แสนยงค์ และ วณิชญา ฉิมนาค. 2555. การสำรวจ ติดตามและประเมินผล แมลงศัตรูธรรมชาติและศัตรูพืชในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. รายงานประจำปี. ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติภาคเหนือตอนล่าง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

สำนวน ฉิมพกา และ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ. 2548. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าวของเกษตรกร อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. วารสารเกษตรนเรศวร 8(1): 77-94.

สุวัฒน์ รวยอารีย์. 2544. การจัดการแมลงศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสาน. กองกีฏแลสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 262 หน้า.

สุวัฒน์ รวยอารีย์. 2545. ผลกระทบของสารฆ่าแมลงต่อศัตรูธรรมชาติโครงสร้างและความหลากชนิดของอาร์โทรปอตในระบบนิเวศนาข้าว. วารสารกีฏและสัตววิทยา 24(4): 229-247.

อรพิน วัฒเนสก์ ภิญญา จำรัสกุล วิภา ตั้งนิพนธ์ และวันทนา ศรีรัตนศักดิ์. 2543. ผลกระทบของการใช้สารฆ่าแมลงชนิดเม็ดต่อปลาในนาข้าว. วารสารกีฏและสัตววิทยา. 22(4): 285-298.

Gurr, G. M., S. D. Wratten and M. A. Altieri. 2004. Ecological Engineering for Pest Management: Advances in Habitat Manipulation for Arthropods. CSIRO Publishing, Collingwood, Victoria. 225 p.

Heinrichs, E. A. 1994. Development of multiple pest resistant crop cultivars. Journal of Agricultural Entomology 11: 225-253.

Heinrichs, E. A. and O. Mochida. l984. From secondary to major pest status: the case of insecticide-induced rice brown planthopper, Nilaparvata lugens, resurgence. Protection Ecology 7: 201-218.

Heinrichs, E. A. and T. A. Miller. 1991. Rice Insects: Management Strategies. Springer-Verlag, New York. 347 p.

Heinrichs, E. A., H. R. Rapusas, G. B. Aquino and F. Palis. 1986. Integration of host plant resistance and insecticides in the control of Nephotettix virescens (Homoptera: Cicadellidae), a vector of rice tungro virus. Journal of Economic Entomology 79: 437-443.

Heong, K. L., G. B. Aquino and A. T. Barrion. 1991. Arthropod community structures of rice ecosystems in the Philippines. Bulletin of Entomological Research 81: 407-416.

Hill, D. S. 1997. The Economic Importance of Insects. Chapman and Hall, London. 395 p.

Levins, R. and M. Wilson. 1980. Ecological theory and pest management. Annual Review of Entomology 25: 287-308.

Matteson, P. C. 2000. Insect pest management in tropical Asian irrigated rice. Annual Review of Entomology 45: 549-574.

Pedigo, L. P. 1999. Entomology and Pest Management. 3rd ed. Prentice Hall, Englewood Cliffs, New Jersey. 691 p.

Ware, G. W. and D. M. Whitacre. 2004. The Pesticide Book. 6th ed. Meister Media Worldwide, Willoughby. 488 p.