ประสิทธิภาพของเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์จากพืชวงศ์ลำไยในการควบคุมโรคผลเน่าของลำไย

Main Article Content

ชัยพร ขัดสงคราม
เกวลิน คุณาศักดากุล

บทคัดย่อ

จากการแยกเชื้อแอกติโนมัยซีสต์เอนโดไฟต์จากพืชวงศ์ลำไย (sapindaceae) บนอาหาร Inhibitory Mold Agar 2 (IMA-2) สามารถแยกได้ทั้งหมด 45 ไอโซเลท จากนั้นนำมาทดสอบประสิทธิภาพในการเป็นปฏิปักษ์กับเชื้อรา Pestalotiopsis sp. และ Lasiodiplodia sp. สาเหตุโรคผลเน่าของลำไย ด้วยวิธี dual culture เพื่อคัดเลือกเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคผลเน่าของลำไย พบว่า สามารถคัดเลือกเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคทั้งสองชนิดได้ทั้งหมด 9 ไอโซเลท คือ LEP1, LEP2, LEP3, LITc4, LITc9, SCH1 และ SCH2 สามารถยับยั้งเชื้อรา Pestalotiopsis sp. ได้ที่ 88.19-91.94 เปอร์เซ็นต์ และ LEP1, LEP2, LEP3, LITc7, SCH1, SCH2 และ SCH3 สามารถยับยั้งเชื้อรา Lasiodiplodia sp. ได้ที่ 88.19-91.94 เปอร์เซ็นต์ เมื่อทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์ในการควบคุมโรคผลเน่าของลำไย โดยการพ่นสปอร์แขวนลอยของเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์ที่คัดเลือกได้บนผลลำไย พบว่า เชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์สามารถควบคุมการเกิดโรคผลเน่าของลำไยได้เมื่อเทียบกับชุดควบคุม และจากการตรวจสอบปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่เปลือกผลลำไย พบว่าผลลำไยที่พ่นเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์ทุกไอโซเลทมีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่เปลือกผลน้อยกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกวลิน คุณาศักดากุล และ ชัยพร ขัดสงคราม. 2555. การคัดเลือกเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าของลำไย. วารสารเกษตร 28(3): 285-294.
ฉัตรสุดา เผือกใจแผ้ว และเกวลิน คุณาศักดากุล. 2555. การคัดเลือกเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์จากพืชสมุนไพรในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคใบจุดของพืชตระกูลกะหล่ำ. หน้า 149 ใน: การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 10. 22-24 กุมภาพันธ์ 2555. โรงแรมคุ้มภูคำ เรสซิเด้นซ์, จังหวัดเชียงใหม่.
นิตยา บุญทิม และ สายสมร ลำยอง. 2543. การศึกษาและคัดแยกแบคทีเรียเอนโดไฟท์ที่สามารถสร้างสารปฏิชีวนะที่ใช้ยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. 54 หน้า.
รัมม์พัน โกศลานันท์ อารีรัตน์ การุณสถิตย์ชัย และ วีรภรณ์ เดชนำบัญชาชัย. 2551. การแช่กรดทางเลือกใหม่ที่ทดแทนการรมด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในลำไย. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 39(3) พิเศษ: 39-42.
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร. 2553. ห้องรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) กับผลลำไยสดด้วยระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.it.mju.ac. th/dbresearch/rae/index.php (16 ตุลาคม 2554).
Chris, F. 2002. The Role of Actinomycetes in Plant Growth and Development. (Online). Available: http://www.bio.flinders.edu.au/ biotech/staff/cmmf_res.htm. (September 15, 2011).
Jonete, M., A. C. Silva and J. L. Azevedo. 2000. Isolation of endophytic actinomycetes from roots and leaves of maize (Zea mays L.). Arquivos de Biologia E Tecnologia 28(6): 303-310.
Kortemaa, H., H. Rita, K. Haahtela, and A. Smolander. 1994. Root-colonization ability of antagonistic Streptomyces griseoviridis. Plant and Soil 163: 77-83.
Rukuyadi, Y., A. Suwannto, B. Tjahjono and R. Harling. 1995. Survival and epiphytic fitness of a nonpathogenic mutant of Xanthomonas campestris pv. glycines. Applied and Environmental Microbiology 66: 1183-1189.
Sardi, P., M. Saraeehi, S. Quaroni, B. Peterolini, G. E. Borgonovi and S. Merli. 1992. Isolation of endophytic Streptomyces strains from surface - steriled roots. Applied and Environmental Microbiology 58(8): 2691-2693.
Shimizu, M., Y. Nakagawa, Y. Sato, T. Furumai,Y. Igarashi, H. Onaka, R. Yoshida and H. Kunoh. 2000. Studies on endophytic actinomycetes (I) Streptomyces sp. isolated from Rhododendron and its antifungal activity. Journal of General Plant Pathology 66: 360-366.
Suwanakood, P., V. Sardsud, S. Sangchote and U. Sardsud. 2007. Microscopic observation and pathogenicity determination of common molds on postharvest longan fruit cv. Daw. Asian Journal of Biology Education 3: 47-53.
Taechowisan, T., C. Lu, Y. Shen and S. Lumyong. 2005. Secondary metabolites from endophytic Streptomyces aureofaciens CMUAc130 and their antifungal activity. Microbiology 151: 1691-1695.