ประสิทธิภาพของน้ำหมักใบครามต่อการเติบโต ผลผลิต และการควบคุมแมลงศัตรูในมะเขือเปราะ

Main Article Content

อังคณา เทียนกล่ำ

บทคัดย่อ

การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักใบคราม (Indigofera tinctoria L.) ต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และการควบคุมแมลงศัตรูในมะเขือเปราะ (Solanum xanthocarpum Schrad. & Wendl.) ได้วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ประกอบด้วย 4 สิ่งทดลอง คือ น้ำหมักใบครามสีชา น้ำหมักใบครามสีคราม น้ำหมักใบความสีชาผสมกับน้ำหมักใบครามสีคราม และสิ่งทดลองควบคุม (น้ำประปา) พบว่าน้ำหมักใบครามสีคราม และน้ำหมักใบครามสีชาผสมกับน้ำหมักใบครามสีคราม ทำให้มะเขือเปราะมีความสูงเฉลี่ย 97.96, 95.57 และ 94.67 เซนติเมตร ตามลำดับ น้ำหมักใบครามสีชา น้ำหมักใบครามสีชาผสมน้ำหมักใบครามสีคราม และน้ำหมักใบครามสีครามให้ผลผลิตมะเขือเปราะเท่ากับ 4,885.33, 3,445.33 และ 3,418.67 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ  น้ำหมักครามสีชาและน้ำหมักครามสีครามสามารถควบคุมหนอนเจาะมะเขือเปราะ (Leucinodes orbonalis Guenee) และด้วงเต่ามะเขือ (Henosepilachna vigintictopunctata (F.) ได้ นอกจากนี้น้ำหมักใบครามสีชาและน้ำหมักใบครามสีครามมีผลกระทบต่อแมลงศัตรูธรรมชาติโดยไปลดจำนวนประชากรด้วงเต่าทองลายหยัก (Menochilus sexmaculatus (F.)) ในแปลงปลูกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2548ก. พิษและกลไกการออกฤทธิ์ของวัตถุมีพิษเกษตร. เอกสารวิชาการ กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 165 หน้า.
กรมวิชาการเกษตร. 2548ข. สะเดาและการใช้ประโยชน์. เอกสารวิชาการ กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 206 หน้า.
กองกีฏและสัตววิทยา. 2542. แมลงศัตรูผัก. เอกสารวิชาการ กลุ่มงานวิจัยแมลงศัตรูผักไม้ดอกและไม้ประดับ. กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 97 หน้า.
ทิพวรรณ สิทธิรังสรรค์. 2551. เกษตรธรรมชาติ. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 275 หน้า.
นิจศิริ เรืองรังษ์ และ พะยอม ตันติวัฒน์. 2534. พืชสมุนไพร. โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์, กรุงเทพฯ. 243 หน้า.
นิตยา ชะนะญาติ. 2544. การพัฒนาการสกัดอินดิโกจากครามและฮ่อมเพื่อใช้ในการย้อมสีธรรมชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 76 หน้า.
ปทุมวดี วงศ์ทอง และ สุภาณี พิมพ์สมาน. 2550. ความเป็นพิษของสารสกัดหางไหลแดง Derris elliptica Benth ต่อไรศัตรูพืช Tetranychus truncatus Ehara ว. วิทย์. กษ. 38(6) (พิเศษ): 75-78.
มุกดา สุขสวัสดิ์. 2548. ปุ๋ยอินทรีย์. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 215 หน้า.
มูลนิธิโครงการหลวง. 2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 2. อัมรินทร์พริ้นติ้ง, กรุงเทพ ฯ. 1305 หน้า.
สุภาณี พิมพ์สมาน สังวาล สมบูรณ์ สราวุฒิ บุศรากุล และ สุชีรา เตชะวงศ์เสถียร. 2540. การควบคุมเพลี้ยไฟ และไรขาวพริกโดยใช้สารเคมี. หน้า 65-71 ใน: การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 4; เทคโนโลยีอารักขาพืชในทศวรรษหน้า 27-29 ตุลาคม 2542. โรงแรม แอมบาสเดอร์ซิตี้ จอมเทียน พัทยา, ชลบุรี.
สัญญาณี ศรีคชา อัจฉรา หวังอาษา และ อุราพร หนูนารถ. 2553. ทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมีและสารสกัดจากพืชในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูที่สำคัญในมะเขือเปราะ. หน้า 1532-1540 ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2551. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
อัมพร วิโนทัย. 2547. การใช้แมลงศัตรูธรรมชาติควบคุมแมลงศัตรูผัก. กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 28 หน้า.
อังคณา เทียนกล่ำ. 2549. การศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ผลผลิตใบ และสีครามของครามฝักงอ (Indigofera tinctoria L.). คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร. 67 หน้า.
อาณัฐ ตันโช. 2551. เกษตรธรรมชาติประยุกต์: หลักการ แนวคิด เทคนิคปฏิบัติในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 371 หน้า.
Ahmed, S., M. Grainage, J. W. Hylin, W. C. Michel and J. A. Litsinger. 1984. Some promising plant species for use as pest control agents under traditional farming systems. pp. 565-580. In: Proceeding of the 2nd International Neem Conference. GTZ, Eschborn, Germany.
Garrity, D. P., R. T. Bantilan, C. C. Bantiltan, P. Tin and R. Mann, 1994. Indigofera tinctoria: farmer-proven green manure for rainfed ricelands. pp. 67-81. In: J.K. Ladha and D.P. Garrity. In Green manure Production System for Asian Ricelands. International Rice Research Institute (IRRI), Los Banos, Laguna, Philippines.
Kamal, R. and M. Mangla, 1993. In vivo and in vitro investigations on rotenoids from Indigofera tinctoria and their bioefficacy against the larvae of Anopheles stephensi and adults of Callosobruchus chinensis. Journal of Biosciences 18(1): 93-101.
Latif, M. A., M. M. Ralman, M. Z. Alam, M. M. Hassain and A. R. M. Solaiman. 2009. Threshold based spraying flubendiamide for management of brinjal shoot and fruit borer, Leucinodes orbonalis (Lep.: Pyralidae). Journal of Entomology Society of Iran 29(1): 1-10.
Nicholas, B., L. Crombie and W. M. Crombie, 1985. Rotenoids of Lonchocarpus salvadorensis: Their effectiveness in protecting seeds against bruchid predation. Phytochemistry. 24(12): 2881-2883.
Perry, A. S., I. Yamamoto, I. Ishaaya and R. Perry, 1998. Insecticides in Agriculture and Environment: Retrospects and Prospects, Narosa Publishing House, New Delhi, pp. 261.