ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร ในอำเภอหนองแฮด จังหวัดเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

บัวทอง แก้วหล้า
วรทัศน์ อินทรัคคัมพร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการยอมรับการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ ของเกษตรกรในอำเภอหนองแฮด จังหวัดเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านบุคคล เศรษฐกิจและสังคม ที่มีผลต่อการยอมรับการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในอำเภอหนองแฮด จังหวัดเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในอำเภอหนองแฮด จังหวัดเชียงขวางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในอำเภอหนองแฮด จังหวัดเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 280 ราย ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่  ค่าความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าสูงสุด  ค่าต่ำสุด  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัย พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 36 ปี  มีแรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 3 คน มีขนาดพื้นที่ถือครองทั้งหมดเฉลี่ย 11.98 ไร่ ส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนในการเลี้ยงโคเนื้อ  พันธุ์โคเนื้อที่นิยมเลี้ยง คือ ลูกผสมอเมริกันบราห์มัน 50 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรมีการเลี้ยงโคเฉลี่ยจำนวน 9 ตัว มีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคเนื้อเฉลี่ย 20 ปี เกษตรกรร้อยละ 54.3 สามารถยอมรับตามมาตรฐานการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อในระดับมาก การศึกษาปัจจัยการยอมรับการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรอำเภอหนองแฮด จังหวัดเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า  อายุ  รายได้จากการขายโคเนื้อ  จำนวนโคที่เลี้ยง  การได้รับข้อมูลข่าวสาร และการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม มีความสัมพันธ์กับระดับการยอมรับตามมาตรฐานการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 เกษตรกรมีปัญหา อุปสรรคในการยอมรับมาตรฐานการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้ออยู่ในระดับปานกลาง ประเด็นปัญหาที่สำคัญ คือ พันธุ์โคที่ดี การฉีดวัคซีนป้องกันโรค และความยุ่งยากในการจัดการทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงโค (อาหารธรรมชาติ) ข้อเสนอแนะจากเกษตรกร คือ ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับการฝึกอบรมแก่เกษตรกร ได้แก่ ด้านการถนอมอาหารสัตว์ด้วยการหมัก (หญ้าสดหรือหญ้าแห้ง) การทำอาหารเสริมและแร่ธาตุ การให้บริการผสมพันธุ์เทียมสัตว์ และวิธีการป้องกันการดูแลรักษาสุขภาพสัตว์ โดยการอบรมให้มีอาสาพัฒนาปศุสัตว์ภายในหมู่บ้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงแผนการและการลงทุน. 2553. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 5 ปี ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2554-2558) ของสปป. ลาว. นครหลวงเวียงจันทร์. 210 หน้า.
คณะกรรมการแผนการและการลงทุน. 2548. สถิติ Statistics 1975-2005 สปป. ลาว. นครหลวงเวียงจันทร์. หน้า 124.
โครงการส่งเสริมเกษตร. 2546. เอกสารประกอบการฝึกอบรม การพัฒนาชุมชน. กรมส่งเสริมเกษตรและป่าไม้. นครหลวงเวียงจันทร์. 11 หน้า.
โครงการพัฒนาวิสาหกิจกระสิกรรมขนาดเล็กในเขตภูดอย (SADU). 2553. การตลาดการเลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดเชียงขวาง. นครหลวงเวียงจันทร์. 11 หน้า.
จรัล เล็กสกุลคิลก. 2539. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงสุกรในจังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาส่งเสริมการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 75 หน้า.
มานิตา จันทร์เศรษฐี. 2551. ทัศนคติของเกษตรกรต่อการเลี้ยงกระบือในจังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต. (เกษตรศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 128 หน้า.
บุญจันทร์ มณีแสง. 2554. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสมระหว่างแม่พื้นเมืองกับพ่อพันธุ์บราห์มันแดง ของเกษตรกรในนครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว. วารสารเกษตร 27(2): 137-143.
ปฏิมา เพ็ชรประยูร. 2543. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน ของเกษตรกรรายย่อยในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต. (เกษตรศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 113 หน้า.
ไพบูลย์ สุทธสุภา. 2525. ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการยอมรับวิทยาการเกษตรแผนใหม่ของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่. รายงานผลงานวิจัย ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 86 หน้า.
เสนาะ สีแดง. 2540. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับโคขาวลำพูน ของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน. การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาส่งเสริมการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 90 หน้า.
สีตาเฮง ราชพล. 2549. บทรายงานต่อกองประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8 ของพรรค เกี่ยวกับการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและป่าไม้. นครหลวงเวียงจันทร์: กระทรวงเกษตรและป่าไม้. 31 หน้า.
สำนักงานเกษตรและป่าไม้ จังหวัดเชียงขวาง. 2555. บทสรุปการเคลื่อนไหวประจำปี 2554-2555 และทิศทางแผนการ ประจำปี พ.ศ. 2555-2556. เชียงขวาง. 32 หน้า.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2546. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. เอกสารวิชาการ. เสี่ยงเชียง. กรุงเทพมหานคร. 146 หน้า.
Rogers and Shoemaker. 1971. Communication of Innovation: a cross-cultural approach. New York: The Free Press.
Yamaen T. 1967. Elementary Sampling Theory. USA. Prentice Hall. 405 p.