ปฏิกิริยาของข้าวลูกผสมกลับ BC4F3-4 (ขาวดอกมะลิ 105/อาบาญ่า) x ชัยนาท 1 กับเพลี้ยกระโดดหลังขาว

Main Article Content

วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ
สมชาย ธนสินชยกุล
ไสว บูรณพานิชพันธุ์
เจตน์ คชฤกษ์
คณิตา เกิดสุข

บทคัดย่อ

พืชต้านทานเป็นวิธีการควบคุมหลักที่สำคัญในกลยุทธ์ของการบริหารจัดการศัตรูพืช จึงได้ทำการศึกษาถึงปฏิกิริยาของ ข้าวสายพันธุ์ลูกผสมกลับ BC4F3-4  ((อาบาญ่า/ขาวดอกมะลิ 105) x ชัยนาท 1) จำนวน 6 สายพันธุ์ ร่วมกับ พันธุ์ข้าวมาตรฐานทดสอบ จำนวน 10 พันธุ์ โดยใช้กลุ่มประชากรเพลี้ยกระโดดหลังขาว ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด คือ สุโขทัย  พิษณุโลก  กำแพงเพชร  พิจิตร และ นครสวรรค์ ในสภาพเรือนทดลอง ปลูกสายพันธุ์ข้าวและพันธุ์ข้าวทดสอบในกระบะเพาะ ภายในกรงเลี้ยงแมลง ปล่อยตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดหลังขาววัยที่ 2-3 จำนวนเฉลี่ย 5 ตัวต่อต้น ตรวจสอบปฏิกิริยาของข้าวต่อการลงทำลายในวันที่ 14 วันหลังปล่อยเพลี้ยลงทำลาย ด้วยมาตรฐานการประเมินของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ คัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสม และทำการวิเคราะห์ลักษณะการแสดงออกของปฏิกิริยาของข้าวต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดหลังขาวกับโมเลกุลเครื่องหมายแบบ SSR พบว่า สายพันธุ์ข้าวที่มีความโดดเด่นมากที่สุดคือ A12-26-201-428 แสดงปฏิกิริยาต้านทานต่อการลงทำลายของประชากรเพลี้ยกระโดดหลังขาวครอบคลุมทั้ง 5 จังหวัด ภาคเหนือตอนล่างมากที่สุด และพบตำแหน่งของยีนที่แสดงความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาวใกล้กับโมเลกุลเครื่องหมาย 2 ตำแหน่ง คือ RM463 และ RM225 ที่มีความสัมพันธ์กับลักษณะความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาวจากจังหวัดพิจิตรและให้ชื่อ QTL เหล่านี้ว่า qRmWBPH6 และ qRmWBPH12 ซึ่ง QTL นี้วางตัวอยู่บนโครโมโซมที่ 6 และ 12 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรพงศ์ ใจรินทร์ วราภรณ์ วงศ์บุญ กิจติพงษ์ เพ็งรัตน์ สงวน เทียงดีฤทธิ์ พิกุล ลีลากุด และ กัลยา สานเสน. 2552. การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและมีคุณภาพเมล็ดเหมือนขาวดอกมะลิ 105 โดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย. หน้า 187-207. ใน: เอกสารประกอบการประชุมข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2552. กรมการข้าว, กรุงเทพฯ.

พุฒิพงษ์ เพ็งฤกษ์ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ ไสว บูรณพานิชพันธุ์ จิราพร กุลสาริน สุรเดช ปาละวิสุทธิ์ และเจตน์ คชฤกษ์. 2555. ปฏิกิริยาของข้าวลูกผสมกลับ BC4F3-4 ระหว่าง อาบาญ่า/ขาวดอกมะลิ 105) กับ ชัยนาท 1 ต่อประชากรเพลี้ยกระโดด สีน้ำตาล. วารสารเกษตร 28(2): 113-123.

วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ สมชาย ธนสินชยกุล สุรเดช ปาละวิสุทธิ์ เจตต์ คชฤกษ์ และ คณิตา เกิดสุข. 2557. ปฏิกิริยาของข้าวลูกผสมกลับ BC4F3-4 ((อาบาญ่า/ขาวดอกมะลิ 105) x ชัยนาท 1) กับแมลงบั่ว ในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารเกษตร 30(2): 151-159.

สุพร กิมขาว วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ ไสว บูรณพานิชพันธุ์ จิราพร กุลสาริน และเยาวลักษณ์ จันทร์บาง. 2556. ปฏิกิริยาของข้าวสายพันธุ์ลูกผสมกลับ BC4F3-4 (ราตูฮีเนติ/ขาวดอกมะลิ 105 x ชัยนาท 1) ต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาว ในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารเกษตร 29(1): 45-54.

สุวัฒน์ รวยอารีย์. 2544. เรียนรู้การจัดการศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสาน. เอกสารวิชาการ. กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

สำนวน ฉิมพกา และวีรเทพ พงษ์ประเสริฐ. 2548. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าวของเกษตรกร อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. วารสารเกษตรนเรศวร 8(1): 77-94.

Bosque-Perez, N. A. and I. W. Buddenhagen. 1992. The development of host-plant resistance to insect pests: outlook for the tropics. pp. 235-249. In: S. B. J. Menken, J.H. Visser and P. Harrewijin (eds.). Proceedings of 8th International Symposium on Insect-Plant Relationships. Kluwer Academic Publishers, Dordrecht.

Heinrichs, E.A. 1986. Prospectives and directions for the continued development of insect-resistant rice varieties. Agriculture, Ecosystems and Environment 18: 9-36.

IRRI. 2002. Standard Evaluation System for Rice. International Rice Research Institute, Los Baños. 54 p.

Jena, K.K. and D.J. Mackill. 2008. Molecular markers and their use in marker-assisted selection in rice. Crop Science 48: 1266-1276.

Khush, G.S. 1984. Breeding for resistance to insects. Journal of Environmental Protection and Ecology 7: 147-165

Mackill, D.J., A.M. Ismai, A.M. Pamplona, D.L. Sanchez, J.J. Carandang and E.M. Septininghih. 2010. Stress tolerant rice varieties for adaptation to a changing climate. Crop, Environment and Bioinformatics 7: 250-259.

Renganayaki, K., K.F. Allan, S. Sadasivam, S. Pammi, S.E. Harrington, S.R. McCouch, S. M. Kumar and A.S. Reddy. 2002. Mapping and progress toward map-based cloning of brown planthopper biotype-4 resistance gene introgressed from Oryza officinalis into cultivated rice, O sativa. Crop Science 42: 2112-2117.

Savary, S., F. Horgan, L. Willocquet and K.L. Heong. 2012. A review of principles for sustainable pest management in rice. Crop Protection 32: 54-63.

Tan, G.X., O.M. Weng, X. Ren, Z. Huang, L.L. Zhu and G.C. He. 2004. Two whitebacked planthopper resistance genes in rice share the same loci with those for brown planthopper resistance. Heredity 92: 212-217.

Tanaka, K., S. Endo and H. Kazano. 2000. Toxicity of insecticides to predators of rice planthopper: spiders, the mirid bug and the dryinid wasp. Applied Entomology and Zoology 35: 177-187.

Tang, J.Y., J.A. Cheng and G.A. Norton. 1994. An expert system for forecasting the risk of white-backed planthopper attack in the first crop season in China. Crop Protection 13: 463-473.