การควบคุมไร <I>Suidasia pontifica </I> ด้วยความร้อนและฟอร์มาลดีไฮด์ ร่วมกับกรดโพรพิโอนิกในอาหารสุกร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของความร้อนจากระบบการผลิตอาหารสุกรในการยับยั้งไร Suidasia pontifica เป็นไรที่พบในอาหารสัตว์ ตัวอย่างอาหารสุกรที่สุ่มจาก 5 ขั้นตอนการผลิตหลัก ได้แก่ mixer, conditioner (ความร้อน 79 °C ประมาณ 30 วินาที), pelleting (มีความร้อน 83 °C เป็นเวลาต่ำกว่า 1 วินาที), cooler และ warehouse นำมาเก็บรักษาในห้องปฏิบัติการที่อุณหภูมิ 29.74 ± 2.25 °C และความชื้นสัมพัทธ์ 64 ± 11.38% จากนั้นสุ่มตัวอย่างอาหารสัตว์และตรวจนับจำนวนไรทุก 4 วัน พบว่า อาหารที่ตำแหน่ง mixer เริ่มพบไรในวันที่ 52 ในขณะที่ตำแหน่ง conditioner และ pelleting เริ่มพบไรในวันที่ 56 และ 64 ตามลำดับ ซึ่งอาหารที่ผ่านความร้อนในตำแหน่ง conditioner และ pelleting พบการปนเปื้อนไรช้ากว่าตำแหน่งที่ไม่มีการใช้ความร้อน (mixer) 4 และ 12 วัน ตามลำดับ ส่วนอาหารในตำแหน่ง cooler และ warehouse ซึ่งอาหารกลับมาผ่านอุณหภูมิสภาพบรรยากาศประมาณ 30-40 °C เริ่มพบไรเช่นเดียวกับตำแหน่ง conditioner และ pelleting ในการทดลองที่ 2 ได้นำฟอร์มาลดีไฮด์ร่วมกับกรดโพรพิโอนิก อัตรา 3 กิโลกรัมต่อตัน มาใช้ผสมกับอาหารสุกรระหว่างการผลิต สุ่มตัวอย่างมาเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 27.25 ± 2.55 °C และความชื้นสัมพัทธ์ 65.03 ± 9.18% ตรวจนับจำนวนไรทุก 4 วัน พบว่า ในวันที่ 32 เริ่มพบไรในตำแหน่ง mixer, warehouse และชุดควบคุม (ไม่ใช้ฟอร์มาลดีไฮด์ร่วมกับกรดโพรพิโอนิก) ส่วนอาหารในตำแหน่ง conditioner และ pelleting เริ่มพบไรในวันที่ 52 และ 48 วัน ตามลำดับ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการใช้ฟอร์มาลดีไฮด์ร่วมกับกรดโพรพิโอนิกในการผลิตอาหารสุกร มีผลทำให้วันที่เริ่มพบไรในตำแหน่ง conditioner และ pelleting ช้ากว่าในตำแหน่ง mixer, warehouse และชุดควบคุม 20 และ 16 วันตามลำดับ
Article Details
References
พลอยชมพู กรวิภาสเรือง มานิตา คงชื่นสิน และเทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์. 2551. อนุกรมวิธานไรศัตรู โรงเก็บของประเทศไทย. หน้า 1559-1564. ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2551 เล่มที่ 3. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
พลอยชมพู กรวิภาสเรือง วัฒนา จารณศรี มานิตา คงชื่น-สิน เทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์ พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์ และวิมลวรรณ โชติวงศ์. 2559. ไรศัตรูพืช และการป้องกันกำจัด. เอกสารประกอบการบรรยายในการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ไรศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด ครั้งที่ 3” กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 185 หน้า.
วัฒนา จารณศรี มานิตา คงชื่นสิน และเทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์. 2546. อนุกรมวิธานของไรบนผลผลิตทางการเกษตร. หน้า 792-801. ใน: รายงานผลงานวิจัยเรื่องเต็มปี 2546 เล่มที่ 2. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
Boese, J.L. 1985. Mite. pp. 63-82. In: J.R. Gorman (ed.). Principles of Food Analysis for Filth, Decomposition and Foreign Matter. FDA Technical Bulletin NO.1. Food and Drug Administration, Washington, D.C.
Hubert, J., S. Pekar, R. Aulicky, M. Nesvorna and S. Vaclav. 2013. The effect of stored barley cultivars, temperature and humidity on population increase of Acarus siro, Lepidoglyphus destructor and Tyrophagus putrescentiae. Experimental and Applied Acarology 60(2): 241-252.
Nayak, M.K. and R.N. Emery. 2007. Pest of stored grain. pp. 40-62. In: P. Bailey (ed.). Pests of Field Crops and Pastures: Identification and Control. CSIRO Publishing, Collingwood, VIC.
Trematerra, P. and F. Fiorilli. 1999. Occurrence of arthropods in a central Italy feed-mill. Journal of Pest Science 72(6): 158-163.
Wilkin, D.R. and B.B. Thind. 1984. Stored product mites detection and loss assessment in animal feed. Proceedings of the Third International Working Conference on Stored Product Entomology. Kansas State University, Manhattan, Kansas, USA.