ผลของอัลตราไวโอเลตบีต่อปริมาณแคปไซซินและไดไฮโดรแคปไซซิน ของพริกขี้หนูพันธุ์เรดเดวิลและซุปเปอร์ฮอท F1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของแสงอัลตราไวโอเลตบีต่อปริมาณแคปไซซินและไดไฮโดรแคปไซซินของพริกขี้หนู ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2556 - กรกฎาคม 2557 ณ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วางแผนการทดลองแบบแฟคทอเรียล (3×2) ในการวางแผนแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 3 ซ้ำ หนึ่งหน่วยทดลองคือ 10 ต้น ประกอบด้วยปัจจัยที่ 1 คือ สภาพการปลูก 3แบบ ได้แก่ การปลูกในโรงเรือนหลังคาพลาสติกที่ไม่ป้องกันรังสี UV-B การปลูกโรงเรือนหลังคาพลาสติกที่ป้องกันรังสี UV-B และการปลูกนอกโรงเรือน (ควบคุม) ปัจจัยที่ 2 คือ พันธุ์พริกขี้หนู 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เรดเดวิล และพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท F1 ปลูกพริกขี้หนูภายใต้สภาพตามกรรมวิธีต่าง ๆ ผลการทดลองพบว่าทั้งสองปัจจัยไม่มีปฏิสัมพันธ์กันต่อน้ำหนักผลสดต่อต้น น้ำหนักผลแห้งต่อต้น และปริมาณแคปไซซิน โดยทั้งสองพันธุ์ตอบสนองไม่แตกต่างกัน การปลูกพริกขี้หนูภายใต้โรงเรือนหลังคาพลาสติกทั้งที่ป้องกัน และไม่ป้องกัน UV-B ทำให้น้ำหนักผลสด น้ำหนักผลแห้ง ปริมาณแคปไซซินมาก กว่าการปลูกนอกโรงเรือน สำหรับปริมาณไดไฮโดรแคปไซซิน พบว่าทั้งสองปัจจัยมีปฏิสัมพันธ์กัน พันธุ์เรดเดวิลที่ปลูกภายใต้โรงเรือนหลังคาพลาสติกที่ป้องกันรังสี UV-B มีปริมาณไดไฮโดรแคปไซซินมากกว่าปลูกภายใต้โรงเรือนหลังคาพลาสติกที่ไม่ป้องกันรังสี UV-B และการปลูกนอกโรงเรือน ส่วนพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท F1 การปลูกภายใต้โรงเรือนทั้งสองกรรมวิธีให้ปริมาณไดไฮโดรแคปไซซินไม่แตกต่างกัน แต่ให้ปริมาณมากกว่าการปลูกนอกโรงเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสองสายพันธุ์ที่ปลูกภายใต้โรงเรือนหลังคาพลาสติกที่ป้องกันรังสี UV-B จะมีปริมาณ ไดไฮโดรแคปไซซินไม่แตกต่างกัน แต่การปลูกภายใต้โรงเรือนหลังคาพลาสติกที่ไม่ป้องกันรังสี UV-B พันธุ์เรดเดวิลจะมีปริมาณไดไฮโดรแคปไซซินน้อย กว่าพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท F1 ในขณะที่การปลูกนอกโรงเรือนพันธุ์เรดเดวิลมีปริมาณไดไฮโดรแคปไซซินมากกว่าพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท F1
Article Details
References
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2552. ฟิล์มโพลีเทค พลาสติกสำหรับคลุมโรงเรือน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.most.go.th/main/index.php/org/1712.htl (1 พฤษภาคม 2557).บุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์. 2552. ฟิล์มคัดกรองแสงการเกษตร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.mtec.or.th. (30 มิถุนายน 2556).
ปิลันธนา ฐาปนพงษ์วรกุล และชนากานต์ รัตนศักดิ์ชัย-ชาญ. 2559. ประสิทธิภาพของน้ำสกัดชีวภาพจากเศษเหลือพริกต่อการยับยั้งเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ในสภาพห้องปฏิบัติการ. วารสารเกษตร 32(1): 61-72.
พิทยา สรวมศิริ. 2551. อุตสาหกรรมพืชเครื่องเทศ. วนิดาเพรส, เชียงใหม่. 292 หน้า.
ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน. 2556. คู่มือการปลูกพริก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.kukr.lib.ku.ac.th (23 มกราคม 2558).
อบเชย อิ่มสบาย. 2541. พริกตำรับอาหารเพื่อสุขภาพ. แสงแดด, กรุงเทพฯ. 111 หน้า.
อุทัย วิชัย เมธา รัตนากรพิทักษ์ ศิริรัตน์ จันท์จารุณี จิตต์พร เครือเนตร ธรรมรัตน์ ปัญญธรรมาภรณ์ สิริกุล วะสี และกรุง สิตะธนี. 2552. การพัฒนาการเพิ่มผลผลิตสาร capsaicin และ capsanthin ในพริกโดยใช้โรงเรือนระบบคัดกรองแสง. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 57 หน้า.
Anu, L., R. Julkunen-Tiitto, H. Reinien and P. Aphalo. 1997. Host-plant preference of an insect herbivore mediated by UV-B and CO2 in relation to plant secondary metabolites. Systematic and Ecology 26: 1-12.
AOAC. 2000. Capsaicinoids in capsicums and their extractives. AOAC Official Methods of Analysis 43: 14-16.
Gao, S., L.L. He, J.Q. Chen and Y.P. Gao. 2008. Effects of light intensity on contents of capsaicin and its metabolizing competition matters in pepper fruits. J. Henan Agricultural Sciences 4: 27.
Hoffman, P.G., M.C. Lego and W.G. Galetto.1983. Separation and quantitation of red pepper major heat principles by reverse-phase high pressure liquid chromatography. Journal of Agricultural and Food Chemistry 31: 1326-1329.
Jordan, B.R. 1996. The Effects of Ultraviolet-B Radiation on Plants. Academic Press, New York. 162 p.
Kakani, V.G., K.R. Reddy, D. Zhao and K. Sailaja. 2003. Field crop responses to ultraviolet-B radiation: a review. Agricultural and Forest Meteorology 120: 191-218.
Krizek, D.T., R.M. Mirecki and S.J. Britz. 1997. Inhibitory effects of ambient levels of solar UV-A and UV-B radiation on growth of cucumber. Physiologia Plantarum 100: 886-893.
Ramakrishna, A. and G.A. Ravishankar. 2011. Influence of abiotic stress signals on secondary metabolites in plants. Plant Signaling and Behavior 6(11): 1720-1731.
Salzer, U.J., G. Haarmann and G. Reimer. 1975. Analytical evaluation of seasoning extracts (oleoresin) and essential oils from seasoning. Flavours 6(4): 206-210.
Sunita, K., A. Jajoo and K.N. Guruprasad. 2014. Impact of increasing ultraviolet-B (UV-B) radiation on photosynthetic processes. Journal of Photochemistry and Photobiology 2(4): 1011-1344.
Tsormpatsidis, E., R.G.C. Henbest, F.J. Davis, N.H. Battey, P. Haley and A. Wagstaffe. 2008. UV irradiance as a major influence on growth, development and secondary products of commercial importance in Lollo Rosso lettuce revolution grown under polyethylene films. Environment and Experimental Botany 63: 232-239.
Wang, J.L. 2004. Effects of Light Intensity and Nitrogen Fertilizer on Capsaicin Metabolism, Quality and Yield of Hot Pepper. Northeast Agricultural University, China. 641 p.