การคัดเลือกสายพันธุ์ก้าวหน้าพันธุ์ข้าวเจ้าก่ำไม่ไวต่อช่วงแสง และมีปริมาณแอนโทไซยานินในเมล็ดสูง

Main Article Content

ธรรมนูญ หัทยานันท์
ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย
ศันสนีย์ จำจด

บทคัดย่อ

ข้าวก่ำมีแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารประกอบสำคัญในการต้านอนุมูลอิสระสาเหตุของการเกิดโรคสำคัญต่าง ๆ ในปริมาณสูง โดยทั่วไปเป็นข้าวเหนียวและไวต่อช่วงแสงทำให้สามารถปลูกได้ปีละครั้งเดียว เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการของข้าวก่ำ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเจ้าก่ำ ที่มีปริมาณแอนโทไซยานินในเมล็ดสูง และไม่ไวต่อช่วงแสง โดยนำเมล็ดจากประชากรลูกผสมชั่วที่ 4 ระหว่างข้าวเหนียวก่ำดอยสะเก็ดและข้าวเจ้าปทุมธานี 1 ที่มีลักษณะเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วงมาเป็นประชากรตั้งต้น ปลูกคัดเลือกชั่วที่ 5 ในฤดูนาปี 2556 แบบต้นต่อแถว บันทึกวันออกดอก ความสูง น้ำหนักต่อต้น สีเยื่อหุ้มเมล็ด และชนิดแป้ง คัดเลือกต้นที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วง ปลูกคัดเลือกต่อในชั่วที่ 6 ในฤดูนาปรังปี พ.ศ. 2557 และคัดเลือกได้ต้นไม่ไวต่อช่วงแสง เป็นข้าวเจ้ามีเยื่อหุ้มเมล็ดลำต้นและใบสีม่วง ต้นเตี้ย และให้ผลผลิตสูงจำนวน 10 สายพันธุ์ ปลูกประเมินและคัดเลือกในชั่วที่ 7 พบว่าทั้ง 10 สายพันธุ์มีลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง มีอายุวันออกดอกอยู่ในช่วง 96-103 วัน มีต้นเตี้ยใกล้เคียงพันธุ์พ่อมีความสูงอยู่ในช่วง 79.7-83.2 เซนติเมตร และมีขนาดเมล็ดเรียวยาวใกล้เคียงกับพันธุ์พ่อ มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วง เป็นชนิดข้าวเจ้า มีปริมาณแอนโทไซยานินอยู่ในช่วงระหว่าง 31.4-58.8 มิลลิกรัม/ 100 กรัม ซึ่งสูงกว่าพันธุ์แม่ร้อยละ 25-134 ซึ่งจะได้คัดเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะเป็นข้าวเจ้าก่ำ ไม่ไวแสงและมีเมล็ดเรียว เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดำเนิน กาละดี และศันสนีย์ จำจด. 2543. พันธุศาสตร์การปรับปรุงพันธุ์และโภชนศาสตร์เกษตรของข้าวเหนียวดำ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
บุรินทร์ พิชัยรัตน์. 2556. การประเมินอิทธิพลของปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อมต่อลักษณะทางพืชไร่ของข้าวเจ้าก่ำที่พัฒนาพันธุ์จากโครงการผสมพันธุ์ข้าวก่ำ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
เบญจวรรณ พลโคต. 2553. การประเมินสายพันธุ์ก้าวหน้าในประชากรลูกผสมชั่วที่ 8 ระหว่างพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ดเพื่อคัดเลือกลักษณะข้าวเจ้าก่ำ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
พีรนันท์ มาปัน. 2557. การควบคุมทางพันธุกรรมของปริมาณแอนโทไซยานินในข้าวเหนียวก่ำ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สุภาภรณ์ ญะเมืองมอญ และชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย. 2559. ความแปรปรวนของปริมาณแอนโทไซยานินและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของข้าวเหนียวก่ำพันธุ์พื้นเมืองของไทย.วารสารเกษตร 32(2): 191-199.
Blando, F., C. Gerardi and I. Nicoletti. 2004. Sour cherry (Prunus cerasus L.) anthocyanin as ingredients for functional foods. Journal of Biomedicine and Biotechnology 2004(5): 253-258.
Chang, T.T. and E.A. Bardenas. 1965. The morphology and varietal characteristics of the rice plant. Technical Bulletin 4. International Rice Research Institute, Laguna. 40 p.
Chen, P.N. W.H. Kuo, C.L. Chiang, H.L. Chiou, Y.S. Hsieh and S.C. Chu. 2006. Black rice anthocyanins inhibit cancer cells invasion via repressions of MMPs and u-PA expression. (Online). Available: http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0009279706002134 (June 12, 2016).
Giusti, M.M and R.E. Wrolstad. 2001. Characterization and measurement of anthocyanins by UV-visible spectroscopy. Current Protocols in Food Analytical Chemistry F1.2.1-F1.2.13.
Hui, C., Y. Bin, Y. Xiaoping, Y. Long, C. Chunye, M. Mantian and L. Wenhua. 2010. Anticancer activities of an anthocyanin-rich extract from black rice against breast cancer cells in vitro and in vivo. Nutrition and Cancer 62: 1128-1136.
Jeng, T.L., C.S. Wang, T.H. Tseng, M.T. Wu and J.M Sung. 2009. Nucleotide polymorphisms in the waxy gene of NaN3-induced waxy rice mutants. Journal of Cereal Science 49(1): 112-116.
Kimiko, I., H. Ozaki, K. Okada, H. Hori, Y. Takeda and T. Mitsui. 2003. Introdution of Wx transgene into wx mutants leads to both high- and low- amylose rice. Plant and Cell Physiology 44(5): 473-480.
Punyatong, M., P. Pongpiachan, P. Pongpiachan, D. Karladee and S. Mankhetkorn. 2008. Cytotoxicity of crude proanthocyanidin extract from purple glutinous rice bran (Oryza sativa L.) (Kum Doi Saket) compared with cyanidin 3-glucoside on X63 myeloma cancer cell lines. Kasetsart Journal: Natural Science 42(4): 676-681.
Rahman, M.M., K.E. Lee, E.S. Lee, M.N. Matin, D.S. Lee, J.S. Yun, J.B. Kim and S.G. Kang. 2013. The genetic constitutions of complementary genes Pp and Pb determine the purple color variation in pericarps with cyanidin-3-O-glucoside depositions in black rice. Journal of Plant Biology 56: 24-31.
Wrolstad, R.E. 2001. The possible health benefits of anthocyanin pigments and polyphenolics. (Online). Available: Http://lpi.oregonstate. edu/ss01/anthocyanin.html (June 12, 2016).
Xia, M., W.H. Ling, J. Ma, D.D. Kitts and J. Zawistowski. 2003. Supplementation of diets with the black rice pigment fraction attenuates atherosclerotic plaque formation in apolipoprotein E deficient mice. Journal of Nutrition 133: 744-751.
Xu, Z., N. Hua and J.S. Godber. 2001. Antioxidant activity of tocopherols, tocotrienols, and gamma-oryzanol components from rice bran against cholesterol oxidation accelerated by 2,2’-azobis(2-methylpropionamidine) dihydrochloride. Journal of Agricultural and Food Chemistry 49: 2077-2081.
Yamanaka, S., I. Nakamura, K.N. Watanabe and Y. Sato. 2004. Identification of SNPs in the waxy gene among glutinous rice cultivars and their evolutionary significance during the domestication process of rice. Theoretical and Applied Genetics 108: 1200-1204.
Yanagisawa, T., C. Kiribuch-Otobe, H. Hirano, Y. Suzuki and M. Fujita. 2003. Detection of single nucleotide polymorphism (SNP) controlling the waxy character in wheat by using a derived cleaved amplified polymorphic sequence (dCAPS) marker. Theoretical and Applied Genetics 107: 84-88.