ปริมาณฟักข้าวที่เหมาะสมในการทำน้ำสลัดชนิดข้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตน้ำสลัดชนิดข้นผสมฟักข้าว โดยคัดเลือกสูตรพื้นฐานของน้ำสลัดชนิดข้นจากการยอมรับของผู้บริโภค โดยพบว่าสูตรที่เหมาะสมประกอบไปด้วย พริกไทยป่น เกลือ มัสตาร์ด ไข่แดง น้ำส้มสายชู น้ำตาลทราย และน้ำมันพืชในสัดส่วน 0.12, 0.28, 0.82, 10.91, 14.89, 21.17 และ 51.81% ตามลำดับ และปริมาณฟักข้าวที่เหมาะสมในการทำน้ำสลัดชนิดข้นผสมฟักข้าว คือ ร้อยละ 3 ซึ่งให้ลักษณะใกล้เคียงน้ำสลัดสูตรควบคุมที่ผู้บริโภคให้การยอมรับมากที่สุด โดยมีค่าปริมาณของแข็งที่ละลายทั้งหมดเท่ากับ 61.52 องศาบริกซ์ ค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 3.27 กิจกรรมต้านอนุมูลอิสระเท่ากับ 0.80 กรัมต่อมิลลิลิตร ค่าความหนืดเท่ากับ 85.47 เซนติพอยส์ ค่าความสว่าง (L*) ค่าสีแดง (a*)และค่าสีเหลือง (b*) เท่ากับ 70.43, 22.71 และ 41.12 ตามลำดับ และศึกษาผลของระยะเวลาการเก็บรักษาต่อคุณภาพของน้ำสลัดชนิดข้นผสมฟักข้าว โดยการเก็บรักษาที่อุณหภูมิตู้เย็น (4 ± 2 °C) เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า ค่าความเป็นกรด-ด่าง ความหืน ความหนืด และค่าสีเหลืองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่กิจกรรมต้านอนุมูลอิสระ ค่าความสว่าง และค่าสีแดง มีแนวโน้มลดลง โดยพบปริมาณจุลินทรีย์ไม่เกินที่มาตราฐานกำหนด
Article Details
References
ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. 2552. น้ำสลัดและซอส. สำนักพิมพ์แสงแดด, กรุงเทพฯ. 160 หน้า.
ธนกิจ ถาหมี และพิไลรัก อินธิปัญญา. 2559. การพัฒนาสูตรชาชงใบหม่อนผสมผลหม่อนโดยใช้การทดลองออกแบบส่วนผสม. วารสารเกษตร 32(2): 235-245.
นิธิยา รัตนาปนนท์ และพิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์. 2553. ค่าเพอร์ออกไซด์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1615/peroxide-value- (29 กันยายน 2557).
นิธิยา รัตนาปนนท์. 2553. เคมีอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 504 หน้า.
เปรมศิริ โรจน์สัจจะกุล และรณชัย ยอดดำเนิน. 2554. การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของไลโคปีนในน้ำฟักข้าวพร้อมดื่มบรรจุขวดที่ผ่านกระบวนการให้ความร้อนและระหว่างการเก็บรักษา พร้อมการปรับปรุงกระบวนการเพื่อให้ได้มาตรฐาน GMP. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหิดล, กาญจนบุรี. 161 หน้า.
ยุทธนา บรรจง. 2553. การพัฒนาน้ำสับปะรดผสมฟักข้าวพร้อมดื่มชนิดพาสเจอไรส์. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 161 หน้า.
ยศ บริสุทธิ์ และชนินทร์ แก้วคะตา. 2558. เงื่อนไขฐานรากในการเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรม ของเกษตรกรและบุตรหลานเกษตรกร. วารสารเกษตร 31(2): 215-224.
เยาวภา ขวัญดุษฏี. 2557. ผักพื้นเมืองอาหารไทย. สำนักพิมพ์แสงแดด, กรุงเทพฯ. 286 หน้า.
สุขุมาลย์ หมั่นเจริญ. 2543. การจัดการธุรกิจสมุนไพรไทย: มิติหนึ่งของการส่งเสริมอาชีพท้องถิ่น.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 97 หน้า.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. 2547. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนน้ำสลัด. มผช.672/2547. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน, กรุงเทพฯ. 6 หน้า.
AOAC. 2000. Official Methods of Analysis of AOAC Internationa. 17th ed. AOAC International. Maryland.
Aoki, H., N.T. Kieu, N. Kuze, K. Tomisaka and N. Van Chuyen. 2002. Carotenoid pigments in gac fruit (Momordica cochinchinensis Spreng). Bioscience, Biotechnology, and Biochemistry 66(11): 2479-2482.
Dasgupta, N. and B. De. 2004. Antioxidant acivity of Piper betel L. leaf extract in vitro. Food Chemistry 88(2): 219-224.
Pearson, D. 1999. The Chemical Analysis of Food. 7th ed. Churchill Living, New York. 575 p.
Healthcare. 2557. อาหารเพื่อสุขภาพ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http:// www.Healthcarethai.com/ category/ (2 เมษายน 2557).
Tanikawa, E. 1985. Marine Product in Japan. 2nd ed. Koseisha-Koseikaku Co., Ltd. Tokyo. 533 p.