ผลของอุณหภูมิและระยะเวลาการเก็บรักษา ต่อคุณภาพดอกของว่านสี่ทิศพันธุ์ซูซาน

Main Article Content

วรายุทธ วงค์อิ่น
โสระยา ร่วมรังษี

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของอุณหภูมิและระยะเวลาการเก็บรักษาต่อคุณภาพดอกของว่านสี่ทิศพันธุ์ซูซานดำเนินการ   โดยคัดเลือกหัวพันธุ์ที่มี ขนาดเส้นรอบวง 20 - 24 เซนติเมตร นำมาเก็บรักษาในห้องเย็นอุณหภูมิ 10 และ 15 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1, 3 และ 5 เดือน จากนั้นนำมาปลูกในวัสดุปลูกที่ประกอบด้วย ดิน : ทราย : ขุยมะพร้าว : ถ่านแกลบ : เปลือกข้าว อัตราส่วน 4 : 1 : 1 : 1 : 1 ผลการทดลองพบว่า  การเก็บรักษาหัวพันธุ์ที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส ทำให้ว่านสี่ทิศพันธุ์ซูซานมีเส้นรอบวงก้านดอกยาวที่สุด และการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส มีผลให้ขนาด ดอกใหญ่ที่สุด ส่วนการเก็บรักษาหัวพันธุ์ 1 เดือน ทำให้ว่านสี่ทิศ มีเส้นรอบวงก้านดอก ความยาวก้านดอก และขนาด  ดอกใหญ่ที่สุด การเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 เดือน ให้เส้นรอบวงก้านดอก ความยาวก้านดอก และขนาดดอกใหญ่ที่สุด แต่ไม่มีความแตกต่างกับการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 เดือน และการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 เดือน  การเก็บรักษาหัวพันธุ์ที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส นาน  1 - 3 เดือน เป็นกรรมวิธีที่เหมาะสมในการชะลอการผลิตว่านสี่ทิศกระถางพันธุ์ซูซานออกไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประภัสสร อารยะกิจเจริญชัย. 2543. การขยายพันธุ์ว่านสี่ทิศ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 111 หน้า.

โสระยา ร่วมรังษี. 2547. สรีรวิทยาไม้ดอกไม้ประดับ. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 127 หน้า.

Boyle, T. H. and D. P. Stimart. 1987. Influence of irrigation interruptions on flowering of Hippeastrum x hybridum ‘Red Lion’. HortScience 22(6): 1290-1292.

Dole, J. M. and H. F. Wilkins. 1999. Floriculture: Principles and Species. Prentice-Hall, Inc., New Jersey. 613 pp.

Koike, Y., A. Ohbiki, G. Mori and H. Imanishi. 1994. Effects of bulb storage temperatures and duration on the flowering of Narcissus tazetta var. chinensis. J. Jpan. Soc. Hort. Sci. 63(3): 639-644.

Okubo, H. 1993. Hippeastrum (Amaryllis). pp. 321-334. In: A. A. DeHertogh and M. LeNard (eds.). The Physiology of Flower Bulbs. Elsevier Science Publishers, Amsterdam.

Rees, A. R. 1985. Hippeastrum. pp. 294-296. In: A. H. Halevy (ed.). Handbook of Flowering. CRC Press, Boca Raton.

Ruamrungsri, S., N. Ohtake, K. Sueyoshi, C. Suwanthada, P. Apavatjrut and T. Ohyama. 2003. Changes in nitrogenous compounds, carbohydrates and abscisic acid in Curcuma alismatifolia Gagnep. during dormancy. J. Horticultural Science and Biotechnology 76(1): 48-51.

Srikum, C. 1997. Studies on Growth and Flowering of Gladiolus. Ph.D. Thesis, University of London, London. 294 pp.