ผลของความยาววันและกรดจิบเบอเรลลิกต่อปริมาณ ธาตุอาหารและการออกดอกนอกฤดูของกล้วยไม้ช้างกระ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของสภาพความยาววันและกรดจิบเบอเรลลิกต่อปริมาณธาตุอาหารและการออกดอกนอกฤดูของกล้วยไม้ช้างกระ [Rhynchostylis gigantean (Lindl.) Ridl.] โดยกล้วยไม้ช้างกระที่มีอายุ 2.5 ปี ได้รับสภาพความยาววันปกติและสภาพวันสั้น ร่วมกับการให้กรดจิบเบอเรลลิกความเข้มข้น 0 และ 3,000 ppm ในเดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน พบว่า สภาพวันสั้นเพียงอย่างเดียว กรดจิบเบอเรลลิกความเข้มข้น 3,000 ppm เพียงอย่างเดียวและสภาพวันสั้นร่วมกับกรดจิบเบอเรลลิกเข้มข้น 3,000 ppm ทำให้กล้วยไม้ออกดอกนอกฤดูได้เร็วกว่ากรรมวิธีควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในกรรมวิธีที่ได้รับกรดจิบเบอเรลลิกเข้มข้น 3,000 ppm ส่งผลต่อปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัส มีปริมาณน้อยที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากกรรมวิธีที่ไม่ได้รับกรดจิบเบอเรลลิกเข้มข้น 3,000 ppm ในเดือนกุมภาพันธ์และกรรมวิธีที่ได้รับสภาพวันสั้น ปริมาณโพแทสเซียมมีปริมาณน้อยที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากกรรมวิธีที่ได้รับสภาพความยาววันปกติในเดือนกันยายน
Article Details
References
ณัฐดนัย ต๊ะลี. 2551. ความยาววันและกรดจิบเบอเรลลิก (GA3) ต่อการออกดอกนอกฤดูของกล้วยไม้ ช้างกระวิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 105 หน้า.
ดนัย บุณยเกียรติ. 2544. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 230 หน้า.
ทิราภรณ์ เขื่อนแก้ว และ โสระยา ร่วมรังษี. 2549. ผลของกรดจิบเบอเรลลิกต่อการเจริญเติบโตของปทุมมา. วารสารเกษตร 22(3): 195-203.
นภดล จรัสสัมฤทธิ์. 2537. ฮอร์โมนพืชและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์รั้วเขียว, กรุงเทพฯ. 124 หน้า.
พูนพิภพ เกษมทรัพย์. 2551. ชีววิทยา 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. จัดพิมพ์โดย มูลนิธิ สอวน., กรุงเทพฯ. 440 หน้า.
ยงยุทธ โอสถสภา. 2546. ธาตุอาหารพืช. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 424 หน้า.
วิทยา ทีโสดา. 2547. ผลของความยาววันและอุณหภูมิกลางคืนที่มีผลต่อการเกิดดอกของกล้วยไม้ช้าง. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี: ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่. 27 หน้า.
วัชราภรณ์ ชนะเคน. 2550. ลักษณะการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ดินบางชนิด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 178 หน้า.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2551. ปริมาณและมูลค่าสินค้าเกษตรกรรมส่งออก พ.ศ. 2549-2550. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: http://www. oae.go.th/oae/index2.php (21 สิงหาคม 2551)
อบฉันท์ ไทยทอง. 2543. กล้วยไม้ไทย. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 425 หน้า.
อภิชาต ชิดบุรี ฉันทนา สุวรรณธาดา วีณัน บัณฑิตย์ ทากูจิ โอยามา และโสระยา ร่วมรังษี. 2551. ผลของความยาววันต่อการเติบโต การสังเคราะห์แสงและการสะสมอาหารในปทุมมา. วารสารเกษตร 23(2): 105-113.
Mizukoshi, K., T. Nishiwaki, N. Ohtake, R. Minagawa, K. Kobayashi, T. Ikarashi and T. Ohyama. 1994. Determination of tungstate concentration in plant materials by HNO3-HClO4 digestion and colorimetric method using thiocyanate. Bull. Fac. Agri., Niigata Univ. 46: 51-56.
Ohyama, T., T. Ikarashi and A. Baba. 1985. Nitrogen accumulation in the roots of tulip plants (Tulipa gesneriana). Soil. Sci. Plant Nutr. 31: 581-588.
Ohyama, T., M. Ito, K.Kobayachi, S. Araki, S. Yasuyoshi, O. Sasaki, T. Yamazaki, K. Sayoma, R. Tamemura, Y. Izuno and T. Ikarashi. 1991. Analytical procedures of N, P, K content in plant and manure materials using H2SO4-H2O2 Kjeldahl digestion method. Bull. Facul. Agric. Niigata Univ. 43: 111-120.
Shanmugam, A. and S. Muthuswamy. 1974. Influence of photoperiod and growth regulators on the nutrient status of chrysanthemum. Indian J. Hort. 31(2): 186-193.