การปรับปรุงพันธุ์พริกลูกผสมโดยใช้ ลักษณะเกสรเพศผู้เป็นหมัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปรับปรุงพันธุ์พริกลูกผสมโดยใช้ลักษณะเกสรเพศผู้เป็นหมันในไซโทพลาซึม ทำการทดลองโดยคัดเลือกแม่พันธุ์เพศผู้เป็นหมันที่มีพันธุกรรม S msms มาผสมกับพ่อพันธุ์รักษาเพศผู้เป็นหมัน และพ่อพันธุ์เพศผู้ปกติ เพื่อผลิตลูกผสมสามทาง พบว่า สายพันธุ์ลูกผสมทั้งหมดให้ผลผลิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสายพันธุ์ (KY 16 × PEPAC 35) × CA 1447 ให้ผลผลิตสูงที่สุดในกลุ่มสายพันธุ์ลูกผสม ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับสายพันธุ์ลูกผสมอื่น แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพ่อพันธุ์เพศผู้ปกติและพันธุ์การค้า สายพันธุ์ลูกผสมพันธุ์นี้มีความสามารถในการรวมตัวเฉพาะสูงในลักษณะผลผลิตและจำนวนผลต่อต้น นอกจากนี้ยังแสดงความดีเด่นที่เหนือกว่าพ่อพันธุ์เพศผู้ปกติพันธุ์ CA 1447 ทางบวกในลักษณะจำนวนผลต่อต้น สายพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตรองจากสายพันธุ์ (KY 16 × PEPAC 35) × CA 1447 ได้แก่ สายพันธุ์ (KY 16 × PEPAC 35) × CA 1448 ซึ่งมีความดีเด่นของลูกผสมที่เหนือกว่าพ่อพันธุ์เพศผู้ปกติพันธุ์ CA 1448 ทางบวกในลักษณะความยาวผล และความกว้างทรงพุ่ม แม่พันธุ์เพศผู้เป็นหมันที่เป็นลูกผสมเดี่ยว และพ่อพันธุ์เพศผู้ปกติที่ใช้ผลิตลูกผสมสามทางทั้งสองสายพันธุ์นี้ มีความสามารถในการรวมตัวทั่วไปสูง แสดงว่า ลักษณะผลผลิตถูกควบคุมด้วยยีนผลบวกร่วมกับการทำงานของยีนไม่เป็นผลบวก พันธุ์ PEPAC 35 จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นพันธุ์รักษาเพศผู้เป็นหมันให้กับแม่พันธุ์ KY 16 ที่พัฒนาแล้วของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และพันธุ์ CA 1447 และ CA 1448 เหมาะสำหรับนำไปสกัดพันธุ์แท้เพื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์ในการผลิตพันธุ์ลูกผสมเดี่ยว การปรับปรุงพันธุ์โดยอาศัยลักษณะเพศผู้เป็นหมันในไซโทพลาซึมร่วมกับการผลิตลูกผสมสามทาง จึงเป็นแนวทางใหม่ในการปรับปรุงพันธุ์พริกที่ให้ผลผลิตสูงได้
Article Details
References
กฤษฎา สัมพันธารักษ์. 2546. ปรับปรุงพันธุ์พืช : พื้นฐาน วิธีการ และแนวคิด. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 237 หน้า.
ดำเนิน กาละดี. 2545. เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์พืช. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์มิ่งเมือง, เชียงใหม่. 256 หน้า.
มณีฉัตร นิกรพันธุ์. 2542. การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักลูกผสม. โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, กรุงเทพฯ. 124 หน้า.
วรรณภา เสนาดี. 2550. ศักยภาพการผลิตพริกเพื่ออุตสาหกรรมการส่งออกของไทยในปัจจุบันและอนาคต. เคหการเกษตร 31(11): 145-148.
วรรณภา เสนาดี อทิพัฒน์ บุญเพิ่มราศรี และ รุจินี สันติกุล. 2550. พริก พืชผักเศรษฐกิจ ชุบชีวิตชาวสวนไทย. เคหการเกษตร 31(12): 73-80.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. 2551. ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ไทย : เร่งพัฒนาสู่ศูนย์กลางการผลิตและการกระจายเมล็ดพันธุ์สู่ภูมิภาค. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.positioningmag. com/prnews/prnews.aspx?id=42350 (30 มิถุนายน 2551).
สุชีลา เตชะวงค์เสถียร. 2549. พริก : การผลิต การจัดการ และการปรับปรุงพันธุ์. บริษัท เพรส มีเดีย จำกัด, กรุงเทพฯ. 151 หน้า.
Kempthorne, O. 1957. An Introduction to Genetic Statistics. John Wiley and Sons, Inc., New York.
Lee, J., J. B. Yoon and H. G. Park. 2008. A CAPS marker associated with the partial restoration of cytoplasmic male sterility in chili pepper (Capsicum annuum L.). Mol. Breeding 21(1): 95-104.
Meshram, L. D. and A. M. Mukewar. 1986. Heterosis studies in chilli (Capsicum annuum L.). Scientia Horticulturae 28(3): 219-225.
Pandey, S. K., J. P. Srivastava, B. Singh and S. D. Dutta. 2003. Combining ability studies for yield and component traits in chilli (Capsicum annuum L.). Society for Recent Development in Agriculture 3(1/2): 66-69.
Veni, B. K. and N. S. Rani. 2007. Combining ability studies for important physico-chemical quality characteristics in aromatic rice. J. Res. ANGRAU 35(3): 13-20.
Wang, L. H., B. X. Zhang, V. Lefebvre, S. W. Huang, A. M. Daubeze and A. Palloix. 2004. QTL analysis of fertility restoration in cytoplasmic male sterile pepper. Theor. Appl. Genet. 109: 1058-1063