ผลของสารเคลือบผิวต่อคุณภาพ หลังการเก็บเกี่ยวของส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง

Main Article Content

กฤติพงษ์ ไพบูลย์สมบัติ
ธนะชัย พันธ์เกษมสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของสารเคลือบผิวต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง โดยการเคลือบผิวส้มด้วย chitosan 1% ร่วมกับ carnauba 8.5%, chitosan 1% ร่วมกับ candelilla 8.5%, chitosan 1% ร่วมกับ shellac 4% และชุดควบคุม (ไม่ได้เคลือบผิว) เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้อง (27±2 องศาเซลเซียส) ผลการทดลองเมื่อเก็บรักษานาน 12 วัน พบว่า ส้มที่เคลือบผิวด้วย chitosan 1% ร่วมกับ carnauba 8.5% ให้ผลดีที่สุดคือ สูญเสียน้ำหนักน้อยกว่าชุดควบคุม มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในผลน้อย ไม่พบการเข้าทำลายของโรค มีลักษณะปรากฏภายนอกดีที่สุด และมีอายุการเก็บรักษานาน 26 วัน ขณะที่ ส้มที่เคลือบด้วย chitosan 1% ร่วมกับ shellac 4% พบว่า มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด คะแนนด้านรสชาติและกลิ่นน้อยที่สุด และมีอายุการเก็บรักษานาน 12 วัน  อย่างไรก็ตาม ชนิดของสารเคลือบผิวไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณวิตามินซี ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ และปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ และการเปลี่ยนแปลงสีผิว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริงแท้ ศิริพานิช. 2549. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. พิมพ์ครั้งที่ 6 สำนักพิมพ์มหาวิทยาเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 396 หน้า.
ดนัย บุณยเกียรติ. 2534. สรีรวิทยาวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวของผักและผลไม้. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 215 หน้า.
ดนัย บุณยเกียรติ. 2540. สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวของพืชสวน. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 224 หน้า.
ดนัย บุณยเกียรติ และนิธิยา รัตนาปนนท์. 2548. การปฏิบัติการภายหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 236 หน้า.
พิมพ์ใจ สีหะนาม. 2548. ผลของการเคลือบผิวด้วยไคโตซานต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 72. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.154 หน้า.
วงเดือน สุนทรวิภาต. 2546. ผลของสารเคลือบผิวและอุณหภูมิต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวส้มเขียวหวานพันธุ์สายน้ำผึ้ง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 122 หน้า.
วิลาวัลย์ คำปวน. 2549. ผลของการใช้สารเคลือบผิวและอุณหภูมิในการยืดอายุการเก็บรักษาผลส้มสายน้ำผึ้งสด. รายงานฉบับสมบูรณ์. สถานวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 93 หน้า.
ปรีดา จิตตารมณ์. 2536. การพัฒนาสารเคลือบผิวสำหรับผลส้มเขียวหวาน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 81 หน้า.
Alleyne, V. and R.D. Hagenmaier. 2000. Candelilla-shellac: an alternative formulation for coating apples. HortScience 35: 691-693.
Baldwin, E.A. 1994. Edible coating for fresh fruits and vegetables: past, present and future. pp. 25-64. In: J.M. Krochta, E.A. Baldwin and M.O. Nisperos-Carriedo (eds.). Edible Coatings and Films to Impove Food Quality. Technomic Publishing Co., Inc., Lancaster.
Chien, P.J., F. Sheu and H.R. Lin. 2007. Coating citrus (Murcott tangor) fruit with low molecular weight chitosan increases postharvest quality and shelf life. Food Chemistry 100: 1160-1164.
Cohen, E., Y. Shalom and I. Rosenberger. 1990. Postharvest ethanol built up and off-flavor of ‘Murcott’ tangerine fruits. Journal of the American Society for Horticultural Science 115: 775-778.
El Ghaouth, A., R. Ponnampalam, F. Castaigne and J. Arul. 1992. Chitosan coating to extend the storage life of tomatoes. Hort Science 27(9): 1016-1018.
El Ghaouth, A., J.L. Smilanick and C.L. Wilson. 2000. Enhancement of the performance of Candida saitoana by the addition of glycolchitosan for the control of postharvest decay of apple and citrus fruit. Postharvest Biology and Technology 19: 103–110.
Hagenmaier, R.D. 2000. Evaluation of a polyethylene-candelilla coating for ‘Valencia’ oranges. Postharvest Biology and Technology 19: 147-154.
Hagenmaier, R.D. and R.A. Baker. 1993. Reduction in gas exchange of citrus fruit by wax coatings. Journal of Agricultural and Food Chemistry 41: 283-287.
Hagenmaier, R.D. and R.A. Baker. 1994. Wax microemulsions and emlsions as citrus coatings. Journal of Agricultural and Food Chemistry 42: 899-902.
Hagenmaier, R.D. and R.A. Baker. 1995. Layered coatings to control weight loss and preserve gloss of citrus fruit. Proceedings of the Florida State Horticultural Society 30(2): 296-298.
Kader, A.A. 1985. Postharvest Handling Systems: Subtropical Fruit. pp. 152-156. In: A.A. Kader, R.F. Kasmire, F.G. Mitchell, M.S. Reid, N.F. Sommer and J.F. Thompson (eds.). Postharvest Technology of Horticultural Crops. University of California, Berkely.
Mota, W.F.da., L.C.C. Salamao, P.R. Cecon and F.L. Finger. 2003. Waxes and plastic film in relation to the shelf life of yellow passion fruit. Scientia Agricola 60(1): 51-57.
Porat, R., A. Daus., B. Weiss, L. Cohen, E. Fallik and S. Droby. 2000. Reduction of postharvest decay in organic citrus fruit by a short hot water brushing treatment. Postharvest Biology and Technology 18: 151-157.