ความดีเด่นของผลผลิตและลักษณะอื่นที่เกี่ยวข้องในข้าวลูกผสมชั่วที่ 1 ระหว่างข้าวพันธุ์ดีของไทยกับข้าวสายพันธุ์เกสรเพศผู้เป็นหมันแบบไวต่ออุณหภูมิ

Main Article Content

เทพสุดา รุ่งรัตน์
สุทัศน์ จุลศรีไกวัล
ดำเนิน กาละดี
ม.ล. อโณทัย ชุมสาย

บทคัดย่อ

ได้ศึกษาความดีเด่นของผลผลิตและลักษณะอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยการผสมระหว่างข้าวพันธุ์ดีของไทย 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์สุพรรณบุรี 1 (SP1), สุพรรณบุรี 60 (SP60) และปทุมธานี 1 (PT1) กับข้าวสายพันธุ์เกสรเพศผู้เป็นหมันแบบไวต่ออุณหภูมิ 2 สายพันธุ์ คือ KDML 105 TGMS 1 และ KDML 105 TGMS 2 ได้คู่ผสมจากการผสมแบบพบกันหมดและไม่มีการผสมกลับ จำนวน 6 คู่ผสม ผลการศึกษาความดีเด่นของลูกผสมชั่วที่ 1 พบว่า ลักษณะผลผลิตของ 3 คู่ผสม ได้แก่ KDML 105 TGMS 2 / SP1, KDML 105 TGMS 2 / SP60 และ KDML 105 TGMS 2 / PT1 แสดงความดีเด่นเหนือกว่าค่าเฉลี่ยของพันธุ์พ่อหรือแม่ที่ดี ของลักษณะน้ำหนัก 1,000 เมล็ด และน้ำหนักเมล็ดดีต่อกออย่างมีนัยสำคัญ แต่คู่ผสมที่ให้ลักษณะองค์ประกอบผลผลิตเมล็ดที่ดีของ น้ำหนัก 1,000 เมล็ด และน้ำหนักเมล็ดดีต่อกอสูงสุด ได้แก่คู่ผสม KDML 105 TGMS 2/SP60 คือมีค่าเท่ากับ 1.33 % และ 49.36 % ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของพันธุ์พ่อหรือแม่ที่ดี ตามลำดับ สำหรับลักษณะอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ วันออกดอก วันสุกแก่ และความสูงลำต้น พบว่าทุกคู่ผสมแสดงความดีเด่นที่เหนือกว่าค่าเฉลี่ยของพ่อ – แม่ และเหนือกว่าค่าเฉลี่ยของพ่อหรือแม่ที่ดี ในทางลบ จากผลการศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่า การพัฒนาสายพันธุ์ลูกผสมแบบ 2 สายพันธุ์ โดยใช้ข้าวสายพันธุ์เกสรเพศผู้เป็นหมันแบบไวต่ออุณหภูมิมีความเป็นไปได้ในประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2550. ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร. ข่าวเศรษฐกิจการเกษตร 53(604): 22-24.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2551. ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร. ข่าวเศรษฐกิจการเกษตร 54(615): 19.
Lopez, M.T. and S.S. Virmani. 2000. Development of TGMS lines for developing two-line hybrids for the tropics. Euphytica 114: 211-215.
Lu, X.G., Z.G. Zhang, K. Maruyama and S.S. Virmani. 1994. Current status of two-lines method of hybrid rice breeding. pp. 37-49. In: S.S. Virmani (ed.). Hybrid Rice Technology: New Developments and Future Prospects. International Rice Research Institute, Manila.
Pham, C.V., S. Murayama, Y. Ishimine, Y. Kawamitsu, K. Motomura and E. Tsuzuki. 2004. Sterility of thermo-sensitive genic male sterile line, Heterosis for grain yield and related characters in F1 hybrid rice (Oryza sativa L.). Plant Prod. Sci. 7(1): 22-29.
Shukla, S. K. and M. P. Pandey. 2007. Combining ability and heterosis over environments for yield and yield components in two-line hybrids involving thermosensitive genic male sterile line in rice (Oryza sativa L.). Plant Breeding 127(1): 28-32.
Verma, O.P. and H.K.Srivastava. 2004. Genetic component and combining ability analyses in relation to heterosis for yield and associated traits using three diverse rice-growing ecosystems. Field Crops Research 88: 91-102.
Xin, C., W. Sorajjapinun, S. Reiwthongchum and P. Srinives. 2003. Identification of parental-lines for production of hybrid varieties. Chaing Mai Univ. J. 2(2): 97-106.