ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งทรัพย์สินทางปัญญา: อีกความหวังของการพัฒนาประเทศ

Main Article Content

จักรพงษ์ พวงงามชื่น

บทคัดย่อ

ปัจจุบันอาชีพเกษตรกรรมยังคงเป็นอาชีพหลักของคนไทยเหมือนเดิม ด้วยประสบการณ์อันยาวนาน ด้านการเกษตรทำให้เกิดเป็นภูมิปัญญามากมายที่เราเรียกกันว่า “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” (Local Wisdom) ซึ่งเป็นความรู้ของชาวบ้านโดยเรียนรู้มาจากปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง และรวมถึงความเฉลียวฉลาดของแต่ละคนหรือผู้มีความรู้ในหมู่บ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ และนำมาปรับใช้รวมกับความรู้และประสบการณ์ของตนเองให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในท้องถิ่น (คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกรียติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2544) ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้านนั้นมีหลายด้าน เช่น ภูมิปัญญาด้านการทำมา  หากิน การรักษาโรค ศิลปกรรม ภาษา และวรรณกรรม ศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี   การจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการอยู่ร่วมกันในสังคม  สิ่งเหล่านี้เป็นของมีค่าและ มีคุณประโยชน์ จนอาจกล่าวได้ว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็น “ทรัพย์สินทางปัญญา” ของชาติเลยก็ว่าได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. ไม่ระบุปี. ความรู้เบื้องต้นด้านทรัพย์สินทางปัญญา. กรมทรัพย์สินทางปัญญา, นนทบุรี.

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. 2550. การแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรหญ้าใต้ใบเพื่อใช้เป็นยารักษาโรคเอดส์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http:// semantic.nectec.or.th (13 มิถุนายน 2552).

คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกรียติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. 2544.วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดชลบุรี. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, กรุงเทพฯ.

คมชัดลึก. 2549 ก. การละเมิดภูมิปัญญาไทย: แนวทางในการป้องกันคุ้มครองภูมิปัญญาในสถานการณ์ปัจจุบัน. (ระบบออนไลน์).แหล่งข้อมูล: http://www.komchadluek.net (3 มีนาคม 2552).

คมชัดลึก. 2549 ข. กวาวเครือขาว สมุนไพรไทยสารสกัด ชั้นยอดครีมบำรุงผิว. (ระบบออนไลน์).แหล่งข้อมูล: http://www.komchadluek.net (3 มีนาคม 2552).

จักรพงษ์ พวงงามชื่น. 2552. การบริหารจัดการป่าชุมชนและส่งเสริมกิจกรรมชุมชน: กรณีศึกษาบ้านป่าสักงาม ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ไทยรัฐ. 2551. จดสิทธิบัตร 6 สมุนไพรชะลอแก่-หน้าขาว. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://women. thaiza.com (13 มิถุนายน 2552).

ปราโมทย์ ธรรมรัตน์. 2551. เสนอทางออกใหม่ในการปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานวางรากฐานพัฒนาเยาวชน สร้างคนดี คนเก่ง เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://rescom.trf.or.th (22 มกราคม 2552).

พหล ศักดิ์คะทัศน์ และคณะ. 2551. การใช้ประโยชน์ การสูญเสียและแนวทางการป้องกันการสูญเสียในที่ดินที่ได้รับการจัดสรรจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก. 4-01). ประชุมวิชาการ ครั้งที่ 5. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน.

ไพรัช ไหม่ชมพู. 2544. การพัฒนาหลักสูตรเพื่อท้องถิ่นระดับโรงเรียนในพื้นที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

มติชน. 2551. คนไทยเจ๋งผลิตอุปกรณ์รถใช้น้ำแทนน้ำมัน. (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล: http://www. cmm11.com (3 มีนาคม 2552).

ลัดดา ไหวดี. 2544. การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนโรงเรียนบ้านจองคำ จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. 2551. สิทธิทางปัญญา ตัวชี้ให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองและความมั่งคั่งในประเทศ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.eduzones. com (22 มกราคม 2552).

วิรัช พรมสุพรรณ. 2551. การสืบสานวัฒนธรรมในวรรณกรรมสรภัญญะ ภูมิปัญญาชุมชนสู่สถานศึกษา: กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านขัวไม้แก่น ตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี. 2551. สิทธิบัตร “ฟีล์มยืดอายุ” หนุนส่งออกไทย รับวิกฤตอาหารโลก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.ryt9.com (22 ตุลาคม 2552)

สมชาย ปรีชาศิลปะกุล. 2552. ทรัพย์สินทางปัญญามิใช่ศีลธรรม ตอน 1-2. (ระบบออนไลน์).แหล่งข้อมูล: www.artgazine.com (22 มกราคม 2552).

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร. 2552. ผลการศึกษาความเป็นพิษของพืช 13 ต้นที่เป็นพืชอยู่ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www. medplant.mahidol.ac.th (28 ตุลาคม 2552).