เปรียบเทียบการต้านทานการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนในพันธุ์พ่อ–แม่ และลูกผสมชั่วที่ 1 จากคู่ผสมระหว่าง ถั่วฝักยาวและถั่วพุ่ม

Main Article Content

สรพงค์ เบญจศรี
ราตรี ชูพันธ์
จรัสศรี นวลศรี

บทคัดย่อ

ทำการผสมข้ามระหว่างถั่วฝักยาวพันธุ์ Selected–PSU กับถั่วพุ่ม 4 สายพันธุ์ได้แก่ IT82E–16, SR00–863, Khao–hinson และ Suranaree 1 หลังจากนั้นปลูกเมล็ดพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 ทั้ง 4 คู่ผสม ร่วมกับพันธุ์พ่อ–แม่ โดยปลูกในกระถางพลาสติกภายใต้เรือนตาข่าย ณ ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ (ภาคใต้) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2550 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design) จำนวน 3 ซ้ำ ซ้ำละ 2 ตัวอย่างย่อย 5 สัปดาห์หลังปลูกปล่อยเพลี้ยอ่อนจำนวน 5 ตัวต่อต้น บันทึกจำนวนเพลี้ยอ่อนที่เพิ่มขึ้น ประเมินการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนบนต้นถั่ว ผลผลิต และองค์ประกอบของผลผลิต ผลการทดลองพบว่า ช่วง 3 และ 4  สัปดาห์หลังปล่อยเพลี้ยอ่อน จำนวนเพลี้ยอ่อน และการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนพบมากที่สุดในถั่วฝักยาวพันธุ์ Selected–PSU ในขณะที่ถั่วพุ่มพันธุ์ IT82E–16, และลูกผสมชั่วที่ 1 ของคู่ผสม Selected–PSU x IT82E–16  มีจำนวนเพลี้ยอ่อน และการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนน้อยที่สุด ลูกผสมชั่วที่ 1 จากทุกคู่ผสมยกเว้นคู่ผสม Selected–PSU x Suranaree 1 ให้จำนวนฝักต่อต้น และผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พ่อ–แม่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกอร วุฒิวงศ์ สุรไกร เพิ่มคำ อรัญ งามผ่องใส และ จรัสศรี นวลศรี. 2550. ความสามารถในการเพิ่มปริมาณและพฤติกรรมของเพลี้ยอ่อนถั่วบนถั่วฝักยาวและถั่วพุ่มบางสายพันธุ์. หน้า 32–46. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 8 วันที่ 20–22 พฤศจิกายน 2550 ณ โรงแรมอมรินทร์ลากูน อ. เมือง จ.พิษณุโลก.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2550. เอกสารรายงานสถิติการผลิตการเกษตรตามชนิดพืชเลือกตามกลุ่มพืชผักปีเพาะปลูก 2548/2549 ทั้งประเทศ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

กองบรรณาธิการฐานเกษตรกรรม. 2541. รวมเรื่องผัก. สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม, กรุงเทพฯ. 143 หน้า.

เกรียงไกร จำเริญมา. 2544. บริโภคพืชผัก และผลไม้อย่างไรให้ปลอดจากสารเคมี. วารสารกีฏและสัตววิทยา 23(3): 182–184.

เกรียงไกร จำเริญมา. 2545. มาตรฐานการทดสอบสารฆ่าแมลง. วารสารกีฏและสัตววิทยา 24(1): 48–54.

จารุวรรณ ศุภเสถียร. 2529. อิทธิพลของขนาดเพลี้ยอ่อนถั่วที่มีผลต่อขนาดระยะเวลาการพัฒนาอัตราส่วนทางเพศของตัวเบียนและจำนวนตัวเบียนที่เกิดจากเพลี้ยอ่อน. วารสารวิชาการเกษตร 4(2): 138–142.

ชาญณรงค์ ดวงสอาด. 2549. การจัดการแมลงศัตรูพืช. หจก. ดีพริ้นท์, เชียงใหม่. 231 หน้า.

สรพงค์ เบญจศรี จรัสศรี นวลศรี ขวัญจิตร สันติประชา และ อรัญ งามผ่องใส. 2548. การประเมินลักษณะการต้านทานเพลี้ยอ่อนและผลผลิตในถั่วพุ่มและถั่วฝักยาว. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 36(5 – 6): 207–210.

สุภาพร รัตนพิทักษ์. 2535. การแปรปรวนทางพันธุกรรมของการเจริญเติบโตและลักษณะฝักในการผสมระหว่างถั่วฝักยาวกับถั่วพุ่ม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 60 หน้า.

อรัญ งามผ่องใส สุนทร พิพิธแสงจันทร์ และ วิภาวดี ชำนาญ. 2546. การใช้สารฆ่าแมลงและสารสกัดจากพืชบางชนิดควบคุมแมลงศัตรูถั่วฝักยาว. วารสารสงขลานครินทร์ 25(3): 307–316.

อร่าม คุ้มทรัพย์. 2543. พืช: เกษตรธรรมชาติเชิงธุรกิจ. โรงพิมพ์อักษรไทย, กรุงเทพฯ. 86 หน้า.

อรุณี วงษ์กอบรัษฎ์. 2530. การประเมินความเสียหายด้านผลผลิตและคุณภาพของยาสูบเตอร์กิชเนื่องจากเพลี้ยอ่อน. วารสารกีฏและสัตววิทยา 9(4): 187–193.

Alabi, O. Y., J. A., Odebiyi and M. Tamo. 2004. Effect of host plant resistance in some cowpea (Vigna unguiculata L. Walp.) cultivars on growth and developmental parameters of the flower bud thrips, Megalurothrips sjostedti (Trybom). Crop Protection 23(2): 83–88.

Annan, I. B., G. A. Schaefers and W. M. Tingey. 1995. Influence of duration of infestation by cowpea aphid (Aphididae) on growth and yield of resistant and susceptible cowpeas. Crop Protection 14(7): 533–538.

Atiri, G. I., and G. Thottappilly. 1985. Aphis craccivora setting behaviour and acquisition of cowpea aphid – borne mosaic virus in aphid – resistance cowpea lines. Entomologia Experimentalis et Applicata 39(3): 241–245.

Bashir, M. and R. O. Hampton. 1996. Identification of cowpea (Vigna unguiculata) cultivars and lines immune to variants of blackeye cowpea mosaic potyvirus. Plant Pathology 45(5): 984–989.

Bashir, M., Z. Ahmad and A. Ghafoor. 2002. Cowpea germplasm evaluation for virus resistance under greenhouse conditions. Asian Journal of Plant Sciences 1(5): 585–587.

Cardona, C. and J. Kornegay. 1999. Bean germplasm resources for insect resistance. pp. 85–99. In: S. L. Clement and S. S. Quisenberry (eds.). Global Plant Genetic Resources for Insect-Resistant Crops. CRC Press, Boca Raton.

Givovich, A., J. Weibull and J. Pettersson.1988. Cowpea aphid performance and behaviour on two resistant cowpea lines. Entomologia Experimentalis et Applicata 49(3): 259–264.

Gunasinghe, U. B., M. E. Irwin and G. E. Kampmeier. 1988. Soybean leaf pubescence affects aphid vector transmission and field spread of soybean mosaic virus. Annals of Applied Biology 112(2): 259–272.

Jayappa, B. G. and S. Lingappa. 1988. Screening of cowpea germplasm for resistance to Aphis craccivora Koch in India. Tropical Pest Management 34(1): 62–64.

Karungi, J., E. Adipala, M. W. Ogenga – Latigo, S. Kyamanywa and N. Oyobo. 2000. Pest management in cowpea. Part 1. Influence of planting time and pest density on cowpea field pests infestation in eastern Uganda. Crop Production 19(4): 231–236.

Koona, P., E. O., Osisanya, L. Jackai, M. Tamo and R. H. Markham. 2002. Resistance in Accessions of Cowpea to the Coreid Pod – Bug Clavigralla tomentosicollis (Hemiptera : Coreidae). Journal of Economic Entomology 95(6): 128-288.

Mesfin, T., G., Thottappilly and S. R. Singh. 1992. Feeding behaviour of Aphis craccivora (Koch) on cowpea cultivars with different levels of aphid resistance. Annals of Applied Biology 121(3): 493–501.

Omongo, C.A, E., Adipala, M. W., Ogenga – Latigo and S. Kyamanywa. 1998. Insecticide application to reduce pest infestation and damage on cowpea in Uganda. African Plant Protection 4(2): 91–100.

Salifu, A. B., C. J., Hodgson and S. R. Singh. 1988. Mechanism of resistance in cowpea (Vigna unguiculata L. Walp.) genotype, TVx3236, to the bean flower thrips, Megalurothrips sjostedti (Trybom) (Thysanoptera: Thripidae). 1. Ovipositional nonpreference. Tropical Pest Management 34(2): 180–184.