ความเสี่ยงเชิงชีวภาพในระบบการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และการจัดการความเสี่ยงของเกษตรกรในจังหวัดพะเยา

Main Article Content

จงรักษ์ พันธ์ไชยศรี
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ
พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ
รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์

บทคัดย่อ

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใน จ.พะเยา เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเป็นอันดับสองรองจากข้าว มีการปลูกทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง มีศัตรูพืช ซึ่งหมายรวมถึง สัตว์ศัตรูพืช โรคพืช แมลงศัตรูพืช และวัชพืช เป็นปัญหาหลักในระบบการผลิต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงเชิงชีวภาพในระบบการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูฝนของ จ.พะเยา พร้อมทั้งระบุแนวทางจัดการความเสี่ยงเชิงชีวภาพของเกษตรกร วิธีการศึกษาประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ การสำรวจ และสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวนทั้งสิ้น 226 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 23 ตำบล ใน 7 อำเภอ ของ จ.พะเยา โดยอิงข้อมูลเชิงพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินจากระบบกลาง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงชีวภาพทางเกษตร ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ มิถุนายน ถึง ตุลาคม 2549 ผลการศึกษาพบว่า ศัตรูพืชที่สร้างความเสียหายให้แก่ระบบการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มี 4 กลุ่ม กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด ได้แก่ สัตว์ศัตรูพืช มีค่าดัชนีความรุนแรงร้อยละ 12.34 รองลงมาคือ วัชพืช แมลงศัตรูพืช และ โรคพืช มีค่า 6.00, 3.53 และ 1.36 ตามลำดับ เกษตรกรได้สร้างความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการใช้วิธีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน เพื่อลดต้นทุนการผลิต และลดการใช้สารเคมีเกษตร ประกอบด้วย การใช้พันธุ์พืชต้านทาน การใช้วิธีเขตกรรม การใช้วิธีกล และการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2550. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.doae. go.th/ plant/corn1.htm (20 สิงหาคม 2550).

ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์ เมธี เอกะสิงห์ เฉลิมพล สำราญพงษ์ วรวีรุกรณ์ วีระจิตติ์ และ สมจินต์ วานิชเสถียร. 2550. ระบบสนับสนุนการวางแผนจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรและบริการ ระยะที่ 2 ภาคเหนือตอนบน: ความเสี่ยงทางกายภาพในระบบการผลิตพืช. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 75 หน้า.

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์ และ จงรักษ์ พันธ์ไชยศรี. 2550. ระบบสนับสนุนการวางแผนการจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรและบริการ ระยะที่ 2 ภาคเหนือตอนบน: ความเสี่ยงและการลดความเสี่ยงเชิงชีวภาพทางเกษตร. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 238 หน้า.

สมชาย ชคตระการ. 2548. ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี. ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, ปทุมธานี. 343 หน้า.

สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา. 2550. สถิติการปลูกพืชจังหวัดพะเยา. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://phayao.doae.go.th/data48-49.htm#ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์%20ฤดูฝน (9 กรกฎาคม 2550).

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพะเยา. 2550. ข้อมูลการตลาด. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.nunet.co.th/phayao/market-info/ market-data_2547-1.doc?PHPSESSID=8b 5e968e7adfaa1fb68e06d5ba5ac5ec (6 กรกฎาคม 2550).

United States Department of Agriculture (USDA). 2006. Production, Supply and Distribution Online. (Online). Available: http://www.fas. usda.gov/psdonline/psdquery.aspx (November 30, 2006).