ผลของโพแทสเซียมคลอเรตต่อปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลิน ในใบและยอดของกิ่งตอนลำไยพันธุ์ดอ

Main Article Content

เสาวมาลย์ วิจารณ์
ธนะชัย พันธ์เกษมสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของโพแทสเซียมคลอเรตต่อเปลี่ยนแปลงปริมาณของสารคล้ายจิบเบอเรลลินของกิ่งตอนลำไยพันธุ์ดอ อายุ 1 ปี ที่ไม่ตัดรากออก และที่ตัดรากออก วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 4 กรรมวิธี ได้แก่ กิ่งตอนแช่ในน้ำประปา (R) กิ่งตอนแช่ในโพแทสเซียมคลอเรต (R+KClO3) กิ่งตอนที่ตัดรากแช่ในน้ำประปา (DR) และ กิ่งตอนที่ตัดรากแช่ในโพแทสเซียมคลอเรต (DR+KClO3) กรรมวิธีละ 4 ซ้ำ ใช้กิ่งตอนจำนวน 10 กิ่งต่อ 1 ซ้ำ โดยการแช่ตัวอย่างกิ่งตอนลำไยในสารละลายโพแทสเซียมคลอเรต 500 สตล. หรือ น้ำประปา นาน 24 ชั่วโมง แล้วนำกิ่งตอนเหล่านั้นไปเลี้ยงต่อในน้ำประปา พบว่า สารคล้ายจิบเบอเรลลิน ในใบและยอดของทุกกรรมวิธีมีแนวโน้มไม่แตกต่างกันตลอดระยะเวลา 25 วันที่ทำการศึกษา แต่ปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลิน ในแต่ละกรรมวิธีทั้งในใบและยอดส่วนใหญ่ลดลง เมื่อระยะเวลาการศึกษาเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐวดี วังสินธ์. 2545. ผลของโพแทสเซียมคลอเรตต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลิน สารคล้ายไซโตไคนิน ไนโตรเจน และคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่โครงสร้าง ในช่วงก่อนออกดอกของยอดลำไยพันธุ์ดอ. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 109 หน้า.

ธนะชัย พันธ์เกษมสุข. 2542. ลำไยกับสารประกอบคลอเรต. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 53 หน้า.

นิรมล มูลรัตน์. 2548. ผลของโปแตสเซียมคลอเรตและรากต่อการออกดอกของลำไยพันธุ์ดอ. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 33 หน้า.

นพพร บุญปลอด. 2539. การเปลี่ยนแปลงปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลินในยอดลำไยพันธุ์ดอ ก่อนการออกดอก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 62 หน้า.

พาวิน มะโนชัย ชิติ ศรีตนทิพย์ ยุทธนา เขาพระสุเมรุ และสันติ ช่างเจรจา. 2547. เทคโนโลยีการผลิตลำไย. สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์, กรุงเทพฯ. 126 หน้า.

Chen, W.S. 1987. Endogeneous growth substance in relation to shoot growth and flower bud development of mango. J. Amer. Soc. Hort. Sci.112: 360-363.

Chen, W.S. 1990. Endogeneous growth substances in xylem and shoot tip diffusate of lychee in relation to flowering. HortScience 25: 314-315.

Chen, W.S., K.L. Huang and H.C. Yu. 1997. Cytokinins from terminal buds of Euphoria longana during different growth stages. Physiol. Plant. 99: 185-189.

Hegele, M., F. Bangerth, D. Naphrom, P. Sruamsiri and P. Manochai. 2006. Control of flower induction in tropical/subtropical fruit trees by phytohormones using the example of longan and mango. Acta Hort. 727: 217-226.

Koshita, Y., T. Takahara, T. Ogata and A. Gota. 1999. Involvement of endogenous plant hormones (IAA, ABA, GAs) in leaves and flower bud formation of Satsuma mandarin (Citrus unshiu Marc.). Scientia Hort. 79: 185-194.

Qiu, J. D., X. Z. Luo and D. Y. Wu. 2001. Regulation of flower bud differentiation in longan. Acta Hort. 558: 225-228.

Waisel, Y., A. Eshel and U. Kafkafi. 1996. Plant Roots: The Hidden Half. 2nd ed. Marcel Dekker Inc., New York. 1002 pp.