ผลของการให้ธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตของ กล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสลูกผสม

Main Article Content

พชร สมานิตย์
โสระยา ร่วมรังษี

บทคัดย่อ

ปลูกกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสลูกผสมอายุ 5 เดือนลงในกระถางเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 5 นิ้ว  โดยใช้สแฟกนัมมอสเป็นวัสดุปลูก หลังจากนั้น 1 เดือน นำมาศึกษาการให้ธาตุอาหารโดยแบ่งออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ศึกษาผลของไนโตรเจน 3 ระดับ (100, 150 และ 200 มิลลิกรัมต่อลิตร) ร่วมกับฟอสฟอรัส 2 ระดับ (50  และ 100 มิลลิกรัมต่อลิตร) ต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิส  ผลการทดลองพบว่า การให้ไนโตรเจนที่ระดับ 150 และ 200 มิลลิกรัมต่อลิตร  ทำให้ฟาแลนนอปซิสมีค่าเฉลี่ยของความกว้างใบ และความยาวใบมากที่สุด ส่วนการให้ฟอสฟอรัสที่ระดับ 100  มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้ฟาแลนนอปซิสมีความสูงต้นและความกว้างใบมากที่สุด และผลรวมของไนโตรเจนที่ระดับ 150 มิลลิกรัมต่อลิตร  และฟอสฟอรัสที่ระดับ 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้ต้นมีความสูงไม่แตกต่างจากการได้รับธาตุอาหารในปริมาณที่มากกว่าด้านคุณภาพดอกพบว่าการให้ไนโตรเจนในระดับที่สูงขึ้นมีผลทำให้เปอร์เซ็นต์การออกดอกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การทดลองที่ 2  ศึกษาผลของอัตราการให้ปุ๋ยประกอบด้วย 3 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีที่ 1 ไม่ให้ปุ๋ย (ให้น้ำประปาเพียงอย่างเดียว) กรรมวิธีที่ 2 ให้สารละลายธาตุอาหาร (21N - 21P2O5 - 21K2O) ทุก 2 วัน และกรรมวิธีที่ 3 ให้สารละลายธาตุอาหาร (21N - 21P2O5 - 21K2O) ทุก 7 วัน ผลการทดลองพบว่าการให้ปุ๋ยทุก 2 วัน ทำให้กล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสมีความสูงของต้นมากที่สุด  แต่พบว่าด้านจำนวนใบ  พื้นที่ใบ  และความยาวใบไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับการให้ปุ๋ยทุก 7 วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ยงยุทธ โอสถสภา. 2546. ธาตุอาหารพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 424 หน้า.

สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2538. สรีรวิทยาของพืช. สำนักพิมพ์รั้วเขียว, กรุงเทพฯ. 213 หน้า.

Bergmann, W. 1992. Nutritional Disorders of Plants: Development, Visual and Analytical Diagnosis. Gustav Fischer, Jena. 741 pp.

Bhattacharjee, S. K. 1981. The effects of nitrogen, phosphorus, and potassium on growth and flowering of Dendrobium moschatum Wall. Gartenbauwissenschaft 46(4): 178-181.

Bik, A. R. and T. J. M. van der Berg. 1982. Stikstof – en Kalibemesting bij Mini–Cymbidium. Bedrijfsontwikkeling 13: 562–563.

Lee, N. and G. M. Lin. 1987. Controlling the flowering of Phalaenopsis. pp. 27-44. In: L. R. Chang (ed.). Proc. Symposium on Forcing Culture of Hort. Crops. Special Pub. No. 10, Taichung District Agric. Improv. Sta., Thaichung, Taiwan.

Marschner, H. 1995. Mineral Nutrition of Higher Plants. Academic Press, New York. 887 pp.

Usha Nandhini Devi, H. and N. Chezhiyan. 2002. Studies on the effect of application of inorganic nutrients and growth hormones on N, P and K content in the leaves of Dendrobium cv. Sonia-17. J.of Ornamental Hort. 30(2): 192-194.

Wang, Y.T. and L. L. Gregg. 1994. Medium and fertilizer affect the performance of Phalaenopsis orchids during two flowering cycles. HortScience 29: 269-271.