ผลของระดับไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมต่อ การเจริญเติบโตของบัวชั้น

Main Article Content

โสระยา ร่วมรังษี
วรนุช คงแก้ว
อนงค์ พยัคฆัยหพล
รำจวน กิจค้า

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของระดับไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมในสารละลายธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตของบัวชั้น ดำเนินการโดยปลูกหัวบัวชั้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.86 ซม. ในวัสดุปลูกที่ประกอบด้วยทราย:ถ่านแกลบ อัตรา 1:1 เมื่อหัวเริ่มงอกจึงให้พืชได้รับสารละลายธาตุอาหารที่มีระดับไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมที่แตกต่างกันสำหรับธาตุอาหารอื่น พืชได้รับในระดับความเข้มข้นที่เท่ากันคือ แมกนีเซียม 25 มก./ล. แคลเซียม 50 มก./ล. โบรอน 0.247 มก./ล. แมงกานีส 0.446 มก./ล. สังกะสี 0.23 มก./ล. ทองแดง 0.02 มก./ล. โมลิบดินัม 0.013 มก./ล. และเหล็ก 0.611 มก./ล. วางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD จำนวน 3 ปัจจัย (2×3×3 กรรมวิธี) ดังนี้ 1) ระดับไนโตรเจน 2 ระดับ (200 และ 300 มก./ล.) 2) ฟอสฟอรัส 3 ระดับ (50, 70 และ 100 มก./ล.) และ 3)โพแทสเซียม 3 ระดับ (100, 200 และ 300 มก./ล.) ผลการทดลองพบว่า ระดับความเข้มข้นของไนโตรเจนที่  200 มก./ล. ทำให้การเจริญเติบโต ได้แก่ ความสูงของต้น ความสูงทรงพุ่ม ความกว้างทรงพุ่ม ความยาวช่อดอก ความยาวก้านดอก ความกว้างช่อดอก จำนวนกลีบประดับสีชมพู และจำนวนกลีบประดับสีเขียวมากที่สุด ระดับฟอสฟอรัสที่ระดับ 50 มก./ล. ทำให้พืชมีความยาวก้านดอกมากที่สุด และระดับโพแทสเซียมที่ 200 มก./ล. ให้เส้นผ่าศูนย์กลางช่อดอกมากที่สุด อัตราส่วนความเข้มข้นของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในสารละลายธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญของบัวชั้นคือ ไนโตรเจน 200 ฟอสฟอรัส 50 และโพแทสเซียม 200 มก./ล.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ยงยุทธ โอสถสภา. 2543. ธาตุอาหารพืช. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 424 หน้า.

สุรวิช วรรณไกรโรจน์. 2539. ปทุมมาและกระเจียว (Curcuma): ไม้ดอกไม้ประดับ. อัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 128 หน้า.

โสภิตา ตาปัน. 2548. ผลของธาตุอาหารพืชต่อการเจริญเติบโตของปทุมมา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 193 หน้า.

อดิศร กระแสชัย. 2541. การรวบรวมพืชพื้นถิ่นเพื่อพัฒนาเป็นไม้ดอกไม้ประดับ. รายงานผลการวิจัย. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 44 หน้า.

Bahadur, M. M., A.K.M. Azad, M. A. Hakim, S. M. M. Hossain and S. P. Sikder. 2000. Effect of different spacing and potassium levels on growth and yield of turmeric var. Sinduri. Pakistan Journal of Biological Science 3(4): 593-595.

Silva, N.F.da, P.E. Sonnenberg and J.D. Borges., 2004. Growth and production of turmeric (Curcuma longa L.) as a result of mineral fertilizer and planting density. Horticultura Brasileira 22(1): 61-65.

Smith, M. A., G. C. Elliott and M. P. Bridgen. 1998. Calcium and nitrogen fertilization of Alstroemeria for cut flower production. HortScience 33(1): 55-59.

Yamgar, V. T., D. K. Kathmale, P. S. Belhekar, R. C. Patil and P.S. Patil. 2001. Effect of different levels of nitrogen, phosphorus and potassium and split application of N on growth and yield of turmeric (Curcuma longa L.). Indian Journal of Agronomy 46(2): 372-374.