การแยกและเพาะเลี้ยงโปรโตพลาสต์กล้วยไม้ช้างแดง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการแยกโปรโตพลาสต์จากใบกล้วยไม้ช้างแดง (Rhynchostylis gigantea var. rubrum Sagarik) ในหลอดทดลอง โดยใช้เอนไซม์ต่างชนิดและต่างความเข้มข้น รวมถึง osmoticum ที่ความเข้มข้นต่างกัน พบว่า เอนไซม์ Cellulase Onozuka R-10 เข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ (มวลต่อปริมาตร) เอนไซม์ Macerozyme R-10 เข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์ (มวลต่อปริมาตร) และเอนไซม์ Driselase เข้มข้น0.5 เปอร์เซ็นต์ (มวลต่อปริมาตร) และปรับ osmoticum โดยใช้ Mannitol เข้มข้น 0.75 โมลาร์ โดยใช้ระยะเวลาในการแยก 6 ชั่วโมง ในที่มืดให้จำนวนโปรโตพลาสต์สูงสุด (1.28x106 ต่อกรัมน้ำหนักสด) และความมีชีวิตสูงสุด (92-95 เปอร์เซ็นต์) เมื่อเพาะเลี้ยงโด้วยความหนาแน่น 5 x 105 โปรโตพลาสต์ต่อมิลลิลิตร ในอาหารเหลว สูตร MS ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต ชนิดต่าง ๆ พบว่า 2, 4-D 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ KN 1 มิลลิกรัมต่อลิตร เติมน้ำตาล ซูโครส 3 เปอร์เซ็นต์ Mannitol 0.75 โมลาร์ ทำให้โปรโตพลาสต์มีอัตรารอดชีวิตสูงที่สุด โปรโตพลาสต์ที่มีแอนโธไซยานินเท่านั้นที่แบ่งเซลล์และพัฒนาได้ อย่างไรก็ตามโปรโตพลาสต์ยังไม่สามารถพัฒนาเป็นแคลลัสและพืชต้นใหม่ได้ จำเป็นต้องทำการศึกษาหาปัจจัยที่เหมาะสมต่อไป
Article Details
References
จิตเกษม เที่ยงจิตต์ และ สุเม อรัญนารถ. 2547. การชักนำแคลลัสจากโปรโตพลาสต์ของบัวหลวง พันธุ์บุณฑริก. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 35: 19-23.
พัฐวดี ทองสีดำ. 2536. การแยกและเลี้ยงโปรโตพลาสต์อะแรนด้า. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
บุญยืน กิจวิจารณ์. 2540. เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 207 หน้า.
สกุลรัตน์ แสนปุตะวงษ์. 2549. เทคนิคการแยกและการเพาะเลี้ยงโปรโตพลาสต์จากใบกล้วยไม้ เหลืองจันทบูร (Dendrobium friedericksianum Rchb.f.) ในหลอดทดลอง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 72 หน้า.
สมปอง เตชะโต. 2539. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจ หลักการและพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ. ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 135 หน้า.
อุทัย จารณศรี. 2548. กล้วยไม้ตัดดอก และกล้วยไม้กระถาง. ข่าวสารสมาคมพืชสวน. สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.
Evans, D. A. and J. E. Bravo. 1983. Protoplast isolation and culture. pp. 124-176. In: D.A. Evans, W.R. Sharp, P.V. Ammirato and Y. Yamada (eds.). Handbook of Plant Cell Culture. Vol. 1. Macmillan Publishing Company, New York.
Hu, W. -W., S. -M. Wong, C.-S. Loh and C.-J. Goh. 1998. Synergism in replication of Cymbidium mosaicpotexvirus (CymMV) and odontoglossum ringspot tobamovirus (ORSV) RNA in orchid protoplasts. Archives of Virology 143: 1265-1275.
Kunasakdakul, K. and P. Smitamana. 2003. Dendrobium Prathum Red protoplast culture. Thai J. Agric. Sci. 36: 1-8.
Loh, C.-S. and A.N. Rao. 1985. Isolation and culture of mesophyll protoplasts of Aranda Noorah Alsagoff. Malayan Orchid Review 19: 34-37.
Sajise, J.U. and Y. Sagawa. 1991. Regeneration of plantlets from callus and protoplasts of Phalaenopsis sp. Malayan Orchid Bull. 5: 23-28.
Te-chato, S. A. Hilae and L. Moosikapala, 2005. Microcolony formation from embryogenic callus-derived protoplasts of oil palm. Songklanakarin J. Sci. Technol. 27: 685-691.
Teo, C.K.H. and K.H. Neumann. 1978. The culture of protoplasts isolated from Renantanda Rosalind Cheok. The Orchid Review 86: 156-158.
Theodoropoulos, P. A. and K. A. Roubelakis-Angelakis. 1990. Progress in leaf protoplast isolation and culture from virus-free axenic shoot culture of Vitis vinifera L. Plant Cell, Tissue and Organ Culture 20: 15-23.
Wallin, A. and T. Eriksson. 1973. Protoplast cultures from suspension of Daucus carota. Physiol. Plant. 28: 33-39.